ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): บทเรียนจากความร่วมมือภาครัฐและเอกชนในกิจการคมนาคมระบบราง และนัยต่อการลงทุนและขับเคลื่อนโครงการในอนาคต
หัวข้อ (ENG): Lesson from Public Private Partnerships in Rail Transportation and Investment Implication and Future Project Driving
ผู้แต่ง : กฤษณะ ยินดี
ประเภท : Articles
Issue Date: 24-Oct-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงาน กรณีการดำเนินงานในลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของบริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด และเพื่อประเมินมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่รถไฟฟ้าเฉพาะพื้นที่ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีลมและสายสุขุมวิท ภายในการศึกษาได้ประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทาง ด้วยวิธีการ Data Envelopment Analysis (DEA) โดยกำหนดตัวแปรผลผลิต คือ รายได้จากการดำเนินงาน และตัวแปรนำเข้า ประกอบด้วย ค่าบำรุงรักษา ค่าจัดหาขบวน ค่าจัดการค่าโดยสาร ปริมาณผู้ใช้บริการ จำนวนเที่ยวรถไฟฟ้าและอัตราค่าบริการส่วนต่อขยาย และประเมินมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจผ่านการประเมินมูลค่าที่ดินในเขตพื้นที่ที่มีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจมากที่สุดจาก 5 เขตพื้นที่ ได้แก่ เขตพื้นที่คลองสาน ธนบุรี ภาษีเจริญ พระโขนงและบางนา โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง Auto Regressive Integrated Moving Average (ARIMA) เพื่อพยากรณ์มูลค่าที่ดินในอนาคตตามแนวคิดของ Neutze (1987) จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของสถานีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเส้นทางสายสีลมและสายสุขุมวิท มีค่าคะแนนประสิทธิภาพทางเทคนิคทั้งในกรณี Constant Return to Scale (CRS), Variable Return to Scale (VRS) และค่าคะแนน Scale Efficiency (SE) เท่ากับ 1 แสดงให้เห็นว่าโครงการส่วนต่อขยายทั้ง 2 เส้นทางมีการบริหารจัดการในด้านปริมาณผู้ใช้บริการ จำนวนเที่ยวรถไฟฟ้าสำหรับการให้บริการ การจัดสรรค่าใช้จ่ายค่าบำรุงรักษา การจัดสรรค่าใช้จ่ายในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า มีการจัดสรรค่าจัดการค่าโดยสาร และมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ขณะที่ผลการศึกษาการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจ พบว่า “เขตภาษีเจริญ” มีการเคลื่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุด โดยในปี 2559 มีจำนวนประชากรในพื้นที่จำนวน 127,582 คน มีจำนวนที่พักอาศัยที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างในพื้นที่จำนวน 376 แห่ง มีจำนวนอาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างในพื้นที่จำนวน 75 แห่ง และจำนวนรายได้ภาษีโรงเรือนและที่ดินในพื้นที่หลังจากที่มีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้า (ปี 2556 – 2559) เปลี่ยนแปลงจากเดิม (ปี 2553 - 2555) สูงถึงร้อยละ 18.86 สำหรับการพยากรณ์มูลค่าที่ดินในอนาคต พบว่า ราคาที่ดินเขตพื้นที่ภาษีเจริญมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย โดยสาเหตุน่าจะเกิดจาก “การคาดการณ์” ของเจ้าของที่ดิน เมื่อมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย เจ้าของที่ดินจะสามารถได้รับกำไรจากใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มสูงขึ้น เช่น การพัฒนาพื้นที่รอบข้างจากที่ดินว่างเปล่า เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือการสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ เป็นต้น การคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวส่งผลให้ราคาที่ดินในอนาคตมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีการเสนอขายที่ดินในราคาที่สูงขึ้นทันทีที่ได้รับรู้ข่าวสารว่าจะมีการพัฒนาที่ดิน คำสำคัญ: การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การประเมินประสิทธิภาพ รถไฟฟ้า มูลค่าทางเศรษฐกิจ ราคาที่ดิน
Abstract: The purposes of this study were to measure the operational efficiency of Public Private Partnership (PPP) project of Bangkok Mass Transit System Public Company Limited (BTSC) and to evaluate economic value in the extension station area both Silom and Sukhumvit line. The evaluation of operational efficiency of the extension station both routes by using Data Envelopment Analysis (DEA) was set the output variable as the Operating revenue and the input variables comprised of Maintenance cost, Train procurement cost, Fare management cost, Quantity of Passengers, Quantity of trains for services and BTS extension station service fee. The economic valuation through appraising land valuation in the area having most economic movements from 5 areas comprising Khlong-San district, Thonburi district, Pasi-Charoen district, Phra-Khanong district and Bang-Na district was evaluated by adapting Auto Regressive Integrated Moving Average (ARIMA) model to forecast land value based on concept of land valuation of Neutze (1987) The results showed that the operation of BTS extension stations both Silom and Sukhumvit line have technical efficiency in cases of Constant Return to Scale (CRS), Variable Return to Scale (VRS) and Scale Efficiency (SE) equal to 1 this imply that the operation of BTS extensions were efficient because both of these projects was operated appropriately on the quantity of passengers, the quantity of train for services, Maintenance cost, Train procurement cost, Fare management cost and BTS extension station service fee. The results of economic valuation showed that “Phasi-Charoen district" has the most economic movement. In 2016, there are 127,582 populations living in the area, 376 shelters allowed to be built in the area, 75 commercial buildings permitted to be built in the area and the land and property tax revenue after starting of BTS extension service (2013 – 2016) has been increased to 18.86 % from period without project (2010 – 2012). The forecasting of land valuation in the future showed that land price tended to increase continuously after the construction of the extension stations because of “expectation” of land owners. When the construction of the extension stations start, land owners will be able to make profit form increasing of land use such as; development from vacant land to residential or commercial building, etc. The expected use of land, resulting in future land prices increase. Therefore, the land is sold at a higher price as soon as the land owners receiving information that land will be developed. Keywords: Public Private Partnership, Efficiency evaluation, BTS Sky train, Economic value, Land price
บทความ :