ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การศึกษาเชิงประจักษ์ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้ แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ที่มิใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดเชียงใหม
หัวข้อ (ENG): An Empirical Study of Technology Acceptance Model On Users' Satisfaction of E-Wallet Application for Non-bank in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : ชนิกานต์ ใจคำปัน
ประเภท : Articles
Issue Date: 17-Dec-2021
บทคัดย่อ (THAI): การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีส่งผลต่อความพึงพอ ของผู้ใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ที่มิใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษา ปัจจัยด้านพฤติกรรมส่งผลต่อความพึงพอของผู้ใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ที่มิใช่ สถาบันการเงิน ในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอของผู้ใช้ แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ที่มิใช่สถาบันการเงินที่แตกต่างกัน ในจังหวัดเชียงใหม่ โดย เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ที่มิใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัด เชียงใหม่ จำนวน 400 คน ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และIndependent- Sample T-Test ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ ด้านการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งาน และ ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ส่งผลต่อความพึงพอของผู้ใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ที่มิใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 นอกจากนี้ ปัจจัยด้านเจตนาเชิงพฤติกรรมในการใช้ ได้แก่ ด้านความปลอดภัยของข้อมูล ด้านโปรโมชั่นส่งเสริมการตลาด ด้านความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ และด้านการใช้งานมีความสะดวกและรวดเร็ว ส่งผลต่อความพึงพอใจของ ผู้ใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ที่มิใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดเชียงใหม่ มีระดับ นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และ รายได้ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อ ความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ที่มิใช่สถาบันการเงิน ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นผู้ให้บริการแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ต้องให้ความสำคัญกับการรับรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งานแอปพลิเคชันมากที่สุด จากความสะดวก รวดเร็วในการใช้ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ต้องมีการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ใช้บริการที่มากขึ้น และระบบต้องความความปลอดภัย โดยมีการเช็คสอบตัวตนลูกค้าอย่างเสมอ ทำให้ส่งผลในด้านความน่าเชื่อถือ อีกทั้งควรมีส่วนลดหรือสิทธิ์ในการซื้อสินค้าในราคาพิเศษภายในแอปพลิเคชัน เพื่อดึงดูดผู้ที่มีความสนใจในการชำระเงินผ่านแอพพลิเคชันได้มากอีกด้วย คำสำคัญ : ความพึงพอใจ, แอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์, ผู้ให้บริการที่มิใช่สถาบันการเงิน,แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี
Abstract: The purpose of this study aimed to 1) study the influence of the technology acceptance factor on the satisfaction of E-Wallet Application users for Non-bank in Chiang Mai Province,2) investigate the behavioral intention on the satisfaction of E-Wallet Application users for Non-bank in Chiang Mai Province, and 3) to compare the demographic factors with the satisfaction using E-Wallet Application users for Non-bank in Chiang Mai Province. Four hundred users of E-Wallet Application for Non-bank in Chiang Mai Province were selected by convenience sampling. Data were collected using a questionnaire and then were analyzed using statistical analysis, including frequency, percentage, average, standard deviation, Multiple Regression, One-way ANOVA, and Independent-Sample T-Test. The study results revealed that perceived usefulness and ease of use significantly influenced the users' satisfaction of E-Wallet Application users for Non-bank in Chiang Mai Province (p<0.05). Also, the four behavioral intentions factors, namely, database security and perceived risk, promotion benefits, perceived trust, and performance expectancy, significantly influenced the satisfaction of E-Wallet Application users for Non-bank in Chiang Mai Province (p<0.05). Meanwhile, three demographic factors, namely, gender, age, and average monthly income, significantly differed in the satisfaction of using E-Wallet Application for Non-bank in Chiang Mai Province (p<0.05). Therefore, E-Wallet Application providers must focus on the perceived usefulness of using the application as much as possible from the convenience and speed of daily use with more financial transactions. The system has to be developed to support users' use and provides a tight customer identity guard system to enhance perceived 3 trust. In addition, there should also be a discount or right to purchase products at a special price within the application and make it attract a lot of people interested in making payments through the application. Keyword: Satisfaction, E-Wallet Application, Non-bank providers, The Technology Acceptance Model – TAM
บทความ :