ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาล ในการสร้างแอปพลิเคชั่นการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Behavior Study and Demand for Patients Service of Hospitals That Affecting the Create of Application Medical Servicers for Hospitals in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : อริสา ศิริวัฒนศร
ประเภท : Articles
Issue Date: 29-Jan-2021
บทคัดย่อ (THAI): การค้นคว้าแบบอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้บริการของโรงพยาบาลภาครัฐ และโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษารูปแบบแอปพลิเคชั่น หรือเครื่องมือที่เหมาะสมในมุมมองของผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการของโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการในโรงพยาบาล 10 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ตัวอย่าง และทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐ จำนวน 200 ตัวอย่าง และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 200 ตัวอย่าง นอกจากนี้ในการศึกษายังใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารโรงพยาบาลในการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะความต้องการใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการให้บริการทางการแพทย์ ผลการศึกษาโดยภาพรวมด้านพฤติกรรมของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลภาครัฐและโรงพยาบาลเอกชนมีความต้องการด้านความสะดวกสบายในการเข้าพบแพทย์มากที่สุด ซึ่งได้แก่ การได้รับบริการ ที่รวดเร็วในการรอคิวเพื่อตรวจรักษา เพื่อรอรับยา รองลงมาคือ สามารถนัดพบแพทย์ในการรักษาโรคเฉพาะทาง ซึ่งมีความเชี่ยวชาญโดยตรง และควรเพิ่มระบบการชำระเงินค่ารักษาพยาบาลให้สามารถเลือกชำระได้หลากหลายช่องทาง และสามารถรับบริการผ่านช่องทางเว็บไซต์ของโรงพยาบาลได้ ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์โดยภาพรวม พบว่า โรงพยาบาลประสบปัญหาด้านการให้บริการทางการแพทย์ ผู้ใช้บริการจำนวนมารอรับบริการ แพทย์ พยาบาล บุคลากร และอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ มีความล่าช้าในการให้บริการมาก ซึ่งมีความคิดเห็นรวมกันคือ ควรมีการพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาล โดยการพัฒนาแอปพลิเคชั่นของโรงพยาบาลเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารการจัดการผู้ใช้บริการ เพื่อเพิ่มความสบายในการลงทะเบียนผู้ป่วย การจองคิว เพื่อนัดพบแพทย์ มีระบบการชำระเงินและบริการรับยาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ควรมีการป้องกันความปลอดภัยของแอปพลิเคชั่นโดยมีระบบการป้องกันโดยใช้รหัสผ่าน หากมีการนำไปใช้และพัฒนาจริงจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ และโรงพยาบาลซึ่งเป็นผู้ให้บริการในการพัฒนานวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คำสำคัญ : 1) ผู้ใช้บริการโรงพยาบาล 2) ผู้ให้บริการโรงพยาบาล 3) บริการทางการแพทย์ 4) พฤติกรรมการใช้บริการ 5) แอปพลิเคชั่น
Abstract: This Independent Study was conducted to find out patient behaviors (users) amongst private and government hospitals in Chiang Mai Province. Also, appropriate medical service applications, or tools, could be designed by using information from this study, regarding to user’s perspectives and service provider (private and government hospitals). Primary data were collected by choosing the participants from 10 hospitals (samples), within Chiang Mai Province; using 400 questionnaires as a research tool. Samples were divided into 2 sections; government hospital sample and private hospital sample, 200 samples each. In addition to that, descriptive statistics analysis was applied, having an in-depth interview with hospital executives; sharing comments and suggestions for designing an appropriate medical service application to offer effective medical services for users. The study revealed that patients require 1) convenience for accessing / to have a medical checkup as first priority, followed by 2) medical specialist/professionals, 3) speed of service time; queuing, checking up, receiving medicine, and different alternatives for payment system, and 4) there should be online medical services (through hospital website). In terms of in-depth interview, service and operation issues were found; a great number of patients more than service carrying capacity. This obviously has caused by insufficient number of doctors, nurses, personnel and medical tools/aids/devices. Eventually, patients could not receive early responses from hospitals. All statements showed that medical service applications should be developed, to facilitate and meet user’s requirements; convenience (registration, reservation for medical checkup, payment system, and effective service for dispensing system. Furthermore, there should be more safety system provided, such as using password. These statements are crucial 3 for designing future applications and technology innovation development; useful and more effective for users and hospitals. Keywords : 1) Hospital patients 2) Hospital provider 3) medical service 4) patient behaviors 5) applications
บทความ :