ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนจากการศึกษาตามสาขาวิชา ของลูกจ้างในประเทศไทย ปี 2552 – 2561
หัวข้อ (ENG): Changes in the Returns to Education by Field of Study of Employees in Thailand from 2009 to 2018
ผู้แต่ง : วิลาสินี บุญแปลง
ประเภท : Articles
Issue Date: 12-Oct-2020
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมตลาดแรงงาน ปัจจัยที่มีผลต่อระดับค่าจ้าง และเปรียบเทียบความแตกต่างผลตอบแทนจากการศึกษาตามสาขาวิชา ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลระดับย่อยรายบุคคลและเป็นข้อมูลรวมภาคตัดขวาง จากโครงการสำรวจภาวะการทำงาน (Labor Force Survey) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวน 10 ปี ตั้งแต่ปี 2552 - 2561 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 3,225,178 คน เป็นวัยแรงงานอายุ 15 - 60 ปี และประมาณสมการโดยใช้ Heckman’s two-step จากการศึกษา พบว่าปัจจัยที่ทำให้เข้าร่วมตลาดแรงงานมากขึ้น ได้แก่ สถานภาพสมรส เพศชาย อายุ และระดับการศึกษา ปัจจัยที่ลดโอกาสในการเข้าร่วมตลาดแรงงาน ได้แก่ จำนวนเด็กเล็กและรายได้ครอบครัว ผลการศึกษาปัจจัยที่ทำให้ค่าจ้างของแรงงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สถานภาพสมรส เพศชาย ระดับการศึกษาและสาขาวิชา และประสบการณ์การทำงานซึ่งผลของการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ผลการศึกษาความแตกต่างผลตอบแทนจากการศึกษา พบว่า ในช่วงเวลา 2552 – 2561 ผลตอบแทนจากการศึกษาในชั้นประถมศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าระดับประถมศึกษามีขนาดลดลง แต่ผลตอบแทนจากการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เมื่อเปรียบเทียบกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลายคงที่ และผลตอบแทนจากการศึกษาในระดับอุดมศึกษายังคงสูงต่อเนื่อง เมื่อพิจารณารายสาขาวิชา พบว่า เกือบทุกสาขาวิชามีผลตอบแทนจากการศึกษาที่เพิ่มขึ้นจากการศึกษาระดับอุดมศึกษาสูงกว่าระดับอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ยกเว้น บางสาขาวิชาที่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีความแตกต่าง ผลตอบแทนจากการศึกษาสูงสุดในช่วงแรกแต่ช่วงหลังกลับมีแนวโน้มลดลง ได้แก่ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์และการฝึกหัดครู สาขาวิชาแพทยศาสตร์ และวิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ นอกจากนี้ สาขาวิชานิติศาสตร์มีความแตกต่างผลตอบแทนจากการศึกษาสูงสุดและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ: ผลตอบแทนจากการศึกษา สาขาวิชา ค่าจ้าง การเข้าร่วมตลาดแรงงาน ลูกจ้าง
Abstract: The objectives of this study are to analyze factors affecting labor force participation and monthly wage of employees, as well as compare changes in the returns to education by field of study of employees in Thailand from 2009 to 2018. Data used in this study is pooled cross-sectional data in the labor force survey from the National Statistical Office (NSO) from 2009 to 2018, 10 years in total. The sample was 15 - 60 years old employees with the sample size of 3,225,178 persons. The data is estimated using Heckman’s two-step method. The results of study show that characteristics associated with a higher labor force participation include being a married male with higher age and education degrees. In contrast, employees with a higher number of children and family income had a lower rate of labor force participation. For the factors affecting monthly income, a married male with higher education, field and experience working but increasing in work experience at decreasing rate.For the returns to education, the returns of primary school when compared with no primary school was reduced in the period 2009 - 2018. The returns of vocational and higher vocational certificate when compared with high school was constant and the returns of higher degrees remained high. When considering each field of study, the results show that, the return to higher education had steadily increased in almost all fields of study. The exceptions are the vocational certificate in the field of education and teacher training and the field of medicine and health that had the highest return difference in the first period but trends to decline, and the field of law had the highest return difference and trends to increase continuously. Keywords: Returns to Education, Field of Study, Wage, Labor Force Participation, Employee
บทความ :