ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): เส้นทางการเดินทางของผู้บริโภคในการใช้บริการธนาคารออนไลน์: กรณีศึกษากลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): The Customer Journey of E-Banking Service: A Case Study Senior Customer in Mueang District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : สุพัตรา รื่นใจชน
ประเภท : Articles
Issue Date: 24-Nov-2020
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินทางของผู้สูงอายุในการใช้บริการธนาคารออนไลน์ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อเส้นทางการเดินทางของผู้สูงอายุในการใช้บริการธนาคารออนไลน์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 400 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการพัฒนาแบบจำลองโลจิตแบบสองทางเลือก (Binary Choice Model) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่ใช้บริการธนาคารออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 50 – 55 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปัจจุบันเกษียณ และมีรายได้รวมต่อเดือน 30,001-40,000 บาท การพัฒนาแบบจำลองพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อเส้นทางการเดินทางของผู้สูงอายุในการใช้บริการธนาคารออนไลน์ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีความถนัดในการใช้งานระบบธนาคารออนไลน์ มีการเข้าใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ และมีความชื่นชอบการให้บริการธนาคารออนไลน์ มีโอกาสที่จะบอกต่อแนะนำบุคคลอื่นมาใช้บริการธนาคารออนไลน์เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผู้สูงอายุที่เกษียณอายุการทำงานแล้ว มีอายุมากกว่า 60 ปี มีการศีกษาในระดับปริญญาตรี มีโอกาสที่จะบอกต่อแนะนำบุคคลอื่นมาใช้บริการธนาคารออนไลน์น้อยลง เนื่องจากผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เป็นช่วงวัยเกษียณและประสบปัญหาด้านสมรรถภาพทางด้านร่างกาย จึงส่งผลให้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ได้ไม่ค่อยดีมากนัก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สถาบันการเงินที่มีการให้บริการธนาคารออนไลน์ ควรมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะความง่ายของการใช้บริการ และมีระบบความปลอดภัยในการให้บริการที่สร้างความมั่นใจในบริการแก่ผู้สูงอายุ เป็นต้น คำสำคัญ: เส้นทางการเดินทางของผู้บริโภค, ธนาคารออนไลน์, ผู้สูงอายุ
Abstract: This research was conducted to figure out elderly customer’s behaviors and analyze influential factors on using online-banking, in Chiang Mai District, Chiang Mai Province. Data were collected, using research tools to review 400 participants (over 50 years old: elderly). Frequency distribution, percentage, average and binary choice model were applied for statistical analysis. The key findings pointed out that main users are female, ranging between 50 – 55 years of age, married, graduated (bachelor degree), retired, salary ranging between 30,001-40,000 baht. Forecast Model Development revealed that influential factors on customer’s behaviors using online-banking were user’s skill; they would usually continue use if they know how to use/ and pleased to use. Also, they would tell more others to use online-banking. In Contrast, elderly who were retired (ranging over 60 years of age), graduated (at least bachelor degree), would likely not tell others to use online-banking. Due to their physical fitness were not supporting; less abilities, there could be less users on online-banking. Thus, this is important to develop appropriate tools to meet their wants, especially; convenience, safety system for ensuring elderly users, etc. Key word: Financial Literacy, Savings, Retirement, Mueang Chiang Mai City, Chiang Mai Province
บทความ :