ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นในการตัดสินใจเคลื่อนย้ายแรงงานจากนิคมอุตสาหกรรม ภาคเหนือ จังหวัดลำพูน เข้าสู่สาธารณรัฐเกาหลี
หัวข้อ (ENG): Factors Affecting the Perception of Decision Making on Labor Mobility from Northern Region Industrial Estate to Republic of Korea
ผู้แต่ง : ณัฐกานต์ พรมอนันต์
ประเภท : Articles
Issue Date: 24-Nov-2020
บทคัดย่อ (THAI): บทความนี้มุ่งศึกษาความคิดเห็นในการตัดสินใจย้ายไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีของแรงงานจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน และวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยผลักดัน ปัจจัยดึงดูด ที่มีผลต่อความคิดเห็นในการตัดสินใจย้ายไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีของแรงงานจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน เก็บข้อมูลจากแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีสำหรับแรงงานกลุ่มที่คิดเห็นว่าจะไปแน่นอนเทียบกับกลุ่มที่ไม่แน่ใจ พบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ แรงงานที่มีสถานภาพโสดและแรงงานที่ทำงานอยู่ในตำแหน่งฝ่ายผลิต มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับการตัดสินใจ ในขณะที่หนี้สิน มีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับการตัดสินใจ ส่วนปัจจัยผลักดัน พบว่าการตะหนักถึงภาวะการว่างงานในประเทศและการมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจ ส่วนปัจจัยดึงดูด พบว่า การทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีทำให้มีโอกาสพัฒนาทักษะ ประสบการณ์และความสามารถเฉพาะทางมากกว่าการทำงานในประเทศไทย การมีญาติ/เพื่อนอาศัยอยู่สาธารณรัฐเกาหลี มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับการตัดสินใจ ส่วนการทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีมีโอกาสความก้าวหน้า มีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับการตัดสินใจ ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีสำหรับแรงงานกลุ่มที่คิดเห็นว่าจะไม่ไปแน่นอนเทียบกับกลุ่มที่ไม่แน่ใจ พบว่า อายุ มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับการตัดสินใจ ส่วนการทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีทำให้มีโอกาสพัฒนาทักษะ ประสบการณ์และความสามารถเฉพาะทางมากกว่าการทำงานในประเทศไทย นั้นมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับการตัดสินใจ คำสำคัญ: นิคมอุตสาหกรรม การเคลื่อนย้ายแรงงาน แรงงาน สาธารณรัฐเกาหลี
Abstract: This paper aims to examine the workers’ perception of decision Making on moving the work into the Republic of Korea form Northern Region Industrial Estate in Lamphun; and to analyse factors affecting the decision on moving to work in the Republic of Korea of workers from Northern Region Industrial Estate in Lamphun. The primary data was gathered from 400 samples of workers in Northern Region Industrial Estate in Lamphun by using questionnaires. This study uses Multinomial Logistics Regression to identify the factors influencing the workers’ perception of decision making on moving to work in the Republic of Korea. Considering the factors influencing decision making on labor mobility comparing between the workers who were definitely sure to move for working in Republic of Korea and those who unsure, the results shown that personal factors, which include single-status workers and workers who working in manufacturing positions positively related to workers’ decision making. Regrading the driving factors, the study found that domestic unemployment and income are not sufficient for spending are the important factors positively related to decision making of the workers. According to the attraction factors, working in the Republic of Korea gives move opportunity to develop skills, experiences and talents than workings in Thailand positively affects the workers’ decision making. The presence of relatives or friends living in the Republic of Korea is positively related to the decision of workers. While throwing away the opportunity to advance jobs in Thailand has a negative impact on decision making of the workers. Moreover, comparing between the workers who were certainly sure to settle in Thailand and those who unsure, the factors positively affecting their decision making on labor mobility to Republic of Korea are age and working in the Republic of Korea, give more chance to them more to develop skills, experience and talents compared to working in Thailand. Keywords: Industrial Estate, labor mobility, Labor, Republic of Korea
บทความ :