ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการเงินกับการเลือกรูปแบบการออม : กรณีศึกษา ลูกค้าของธนาคารกรุงไทย สาขาเซ็นทรัลแอร์พอร์ตเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): The Relationship Between Financial Literacy Competencies and Saving Type Selection : A Case Study of Customers of Krungthai Bank , Central Airport Chiangmai Branch
ผู้แต่ง : อนุสรา สุภา
ประเภท : Articles
Issue Date: 02-Sep-2019
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับทักษะทางการเงินของลูกค้าธนาคาร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับทักษะทางการเงินของลูกค้าธนาคาร รวมถึงวิเคราะห์ผลของระดับทักษะทางการเงินและปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการเลือกรูปแบบการออมของลูกค้าธนาคาร เพื่อให้สามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารให้แก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดการตัดสินใจทางการเงินที่ดีและช่วยส่งผลให้ลูกค้าของธนาคารมีสุขภาพทางการเงินที่ดี ทั้งนี้ได้มีการใช้แบบสอบถามในการสำรวจทักษะทางการเงินปี 2559 ซึ่งสอดคล้องกับชุดคำถามมาตรฐานเกี่ยวกับความรู้ทางการเงินที่ใช้ในการเก็บสำรวจกลุ่มลูกค้าจะอ้างอิงต้นแบบจาก OECD (2011) และธนาคารแห่งประเทศไทย (2559) ที่มีการปรับปรุงคำถามและวิธีการคำนวณจากฉบับปี 2553 แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แบบจำลองการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ( Multiple Linear Regression ) และแบบจำลองการถดถอยโลจิสติก( Logistic Regression ) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกออมเงินในบัญชีเงินฝากและมีระดับคะแนนทักษะทางการเงินในระดับสูง โดยมีระดับคะแนนด้านพฤติกรรมทางการเงินและด้านทัศนคติทางการเงินอยู่ในระดับสูง ในขณะที่คะแนนด้านความรู้ทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนทักษะทางการเงินของลูกค้าธนาคาร คือ อาชีพ คะแนนทักษะทางการเงินที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการออม ได้แก่ คะแนนด้านความรู้ทางการเงิน และคะแนนด้านพฤติกรรมทางการเงิน และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการออม ได้แก่ อายุ อาชีพเจ้าของกิจการและระดับรายได้ต่อเดือน คำสำคัญ : การออม รูปแบบการออม ทักษะทางการเงิน ลูกค้า ธนาคาร
Abstract: The purposes of this independent study are to assess the financial literacy competencies of bank customers, to study the relationship between individual factors and financial literacy competencies, to analyze the results of the levels of financial literacy competencies and individual factors affecting saving type selection. Therefore the study can provide more suggestions relates to the financial products of the bank to customers, Also, to create better financial decision-making and financial health to customers . This research is conducted the financial literacy competency survey in 2016. The questionnaires are conformed with the standard set of financial knowledge questionnaires for the survey of customers. The questionnaire’s design is based on OECD (2011) and the Bank of Thailand (2016), in which the questions and calculation are adjusted from 2010. Then, the data are analyzed in order to assess the overall financial literacy competencies by using statistic program. The relationship between individual factors and financial literacy competencies are analyzed by using the multiple linear regression model. The results of the levels of financial literacy competencies and individual factors affecting saving type selection are analyzed by using logistic regression model. The findings revealed that most customers choose to save in the savings account. The level of their financial literacy competencies is high. Their financial behaviors and attitudes are high. Their financial knowledge is moderate. According to the analysis, the individual factor relating to the scores of financial literacy competence is the occupation. The scores of financial literacy competencies affecting to the saving selections are financial knowledge score and financial behavior score. The individual factors affecting to the saving selections are age, occupation as an entrepreneur, and monthly income. Keywords: Saving, Saving Type, Financial Literacy , Customer, Bank
บทความ :