ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากการฝังกลบขยะ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Cost Benefit Analysis of Landfill Gas to Energy Project in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : วิชุตา กุ๋ยมาเมือง
ประเภท : Articles
Issue Date: 17-Sep-2019
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ในมิติด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ สังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพจากการฝังกลบขยะ โดยศึกษา ณ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ศึกษาแบ่งการศึกษาเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 บริษัทรับกำจัดขยะและผลิตไฟฟ้า กรณีที่ 2 บริษัทผลิตไฟฟ้า ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกๆปี ในปี 2559 มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น 373 ตันต่อวัน หรือ 6 แสนตันต่อปี ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าว สามารถเปรียบเทียบการลงทุน 2 รูปแบบ เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ภาคเอกชนมีข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตัดสินใจลงทุน ภาครัฐกำหนดนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแต่ละประเภทเชื้อเพลิงให้เหมาะสม มีความคุ้มค่าทั้งมิติด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีขอบเขตการศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพจากการฝังกลบขยะ ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ Feed-in Tariff (ไม่รวมพลังงานแสงอาทิตย์ พ.ศ. 2558 ซึ่งกำหนดอัตรารับซื้อ 5.60 บาท/หน่วย มีระยะเวลาสนับสนุน 10 ปี การวิเคราะห์ประกอบด้วย คำนวนมูลค่าผลประโยชน์สุทธิ (Net Benefits) NPV IRR B/C Ratio และ Pay Back Period นอกจากนั้น ได้นำผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ามาพิจารณา ตั้งสมมติฐานงานวิจัย คือ โครงการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากการฝังกลบขยะไม่มีความคุ้มค่า หากพิจารณามิติผลกระทบทางอ้อม ผลการวิเคราะห์พบว่า กรณีที่ 1 บริษัทรับกำจัดขยะและผลิตไฟฟ้า มีมูลค่าผลประโยชน์สุทธิ (Net Benefit) เท่ากับ 24,547,454 บาท NPV เท่ากับ 12,456,734 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) 1.01 อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 10% ระยะเวลาคืนทุน 6 ปี มีการคืนทุนก่อนครบอายุโครงการ จึงมีความคุ้มค่าด้านการเงิน ผลตอบแทนทางสังคม มีมูลค่าทั้งสิ้น 15,920,960 บาท เมื่อนำผลตอบแทนทางสังคมมาวิเคราะห์ร่วม พบกว่า กรณีที่ 1 มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เพิ่มขึ้นเป็น 2 23 ,615,998 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 1.02 อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เพิ่มขึ้นเป็น 13% ณ อัตราคิดลด 8% มีระยะเวลาคืนทุน 6 ปี มีการคืนทุนก่อนครบอายุโครงการ ด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอย จำนวน 33,625 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี ด้านผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เกิดจากกิจกรรมฝังกลบขยะ พบว่า มลพิษด้านกลิ่นมีผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะฤดูฝนจะส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง แต่ไม่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ไม่มีผลกระทบมลพิษด้านแหล่งน้ำบนดินและใต้ดิน แต่รถบรรทุกขยะทำให้ถนนผ่านชุมชนเสียหาย ดังนั้น กรณีที่ 1 มีความคุ้มค่าทั้งด้านการเงินและด้านเศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันกรณีที่ 2 บริษัทผลิตไฟฟ้า มีมูลค่าผลประโยชน์สุทธิ เท่ากับ - 42,887,654 บาท NPV เท่ากับ -35,474,780 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) เท่ากับ 0.85 อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ -4% ระยะเวลาคืนทุน เกินอายุโครงการ จึงไม่เป็นที่ยอมรับต่อการลงทุน เมื่อนำผลกระทบทางด้านสังคมมาพิจารณา พบว่า NPV เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น -34,318,268 บาท แต่ยังติดลบ B/C ratio คงเดิม 0.85 IRR คงเดิม -4% ณ อัตราคิดลด 8% มีระยะเวลาคืนทุน เกินอายุโครงการ ดังนั้น กรณีที่ 2 จึงไม่คุ้มค่าทางด้านการเงินและด้านเศรษฐศาสตร์ นั่นคือ ผลการศึกษาสนับสนุนให้จัดตั้งโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพจากการฝังกลบขยะบนพื้นที่ที่มีหลุมฝังกลบขยะหรือประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าร่วมกับกิจการกำจัดขยะ คำสำคัญ: ต้นทุนและผลประโยชน์,โครงการผลิตไฟฟ้า,ก๊าซชีวภาพจากการฝังกลบขยะ,การกำจัดขยะ
Abstract: This independent study investigates costs and benefits of the recovery and use of landfill biogas in Municipal solid waste (MSW) landfills-to-Energy Project in Chiang Mai Province. In 2016, MSW in Chiang Mai increased rapidly by approximately 373 tons/day or 600,000 tons/year, due to rapid industrialization and urbanization. The study is divided into 2 scenarios. The first scenario is energy production using Integrated Waste Disposal Facilities with a biogas power plant. The second scenario is energy production using merely biogas power plant. This study compares both direct and indirect costs and benefits in the analyses. The private sector can use the study result as a guideline for investment decisions. In additions, the public sector can also use the result for appropriate policy choice in promoting renewable energy that is financially, economically, and environmentally feasible. The scope of the study follows the Energy Regulatory Commission Regulation on Power Purchase from Very Small Power Producers – renewable energy power generation project with Feed-in Tariff (exclude solar energy) 3 5.60 Bath/kWh for 10 years. This study attempts to monetize the benefits of waste-to-energy project using NPV, IRR, B/C Ration and pay-back period as indicators, including sensitivity analysis, and at the same time assessing social and environmental impacts of such project. The hypothesis of the study is stand-alone power plant using biogas from MSW landfills project is not viable when externalities are considered. Results from the first scenario show a net benefit of 24,547,454 baht. The financial feasibility analyses result in an NPV of 12,456,734 baht with B/C ratio 1.01, IRR 10%, and pay-back period 6 years. The economic feasibility analyses result in an NPV of 23,615,998 baht with B/C ratio 1.02, an IRR 13%. Results from the second scenario show a net benefit of -42,887,654 Bath. The financial feasibility analyses result in an NPV of -35,474,780 baht with B/C ratio 0.85, IRR -4 %, and pay-back period over the project timeframe. The economic feasibility analyses result in an NPV of -34,318,268 baht with B/C ratio 0.85, IRR -4%, and pay-back period over the project timeframe. With regards to environmental and social impact assessment, both scenarios could reduce the greenhouse gas emission approximately 33,625 ton as pricing 200 bath/ton with a value of 60,525,000 Bath over the project life. That is, results of this study suggest that biogas power plant from MSW should be located near the landfill or the biogas power plant business should be operated together with the waste disposal business. Keywords: Biogas, Biogas engine, Landfill gas, Waste management, Power plant for waste
บทความ :