ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นไปได้ที่จะทำให้ลูกค้าธนาคารออมสินในพื้นที่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้บริการเครื่องทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเสมือนจริง
หัวข้อ (ENG): Factors Affecting the Possibility of Making Government Savings Bank Customers in Mueang District, Chiang Mai Province to use the Virtual Teller Machine
ผู้แต่ง : ชลธิชา ชัยเทพ
ประเภท : Articles
Issue Date: 17-Sep-2019
บทคัดย่อ (THAI): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นไปได้ที่จะทำให้ลูกค้าธนาคารออมสินในพื้นที่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้บริการเครื่องทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเสมือนจริง (VTM) ของธนาคารออมสิน ศูนย์บริการถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2 เพื่อศึกษาลักษณะการทำธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบัน ของ ลูกค้าธนาคารออมสินในพื้นที่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าธนาคารออมสิน ในพื้นที่ จำนวน 400 ชุด โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้แบบจำลอง Logit และ Probit จากผลการศึกษาพบว่าลูกค้าธนาคารออมสิน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ มากกว่า 34 ปี โดยมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มากที่สุด มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 - 15,000 บาท มีสถานภาพสมรส มีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการกับธนาคาร คือการใช้บริการผ่านช่องทางเครื่องถอน/ฝากเงินอัตโนมัติ มากที่สุด โดยมีจำนวนครั้งในการเลือกใช้บริการธนาคาร ในครั้งนี้ห่างจากครั้งก่อนอยู่ที่ น้อยกว่าหนึ่งเดือน ซึ่งช่วงเวลาที่เลือกใช้บริการกับธนาคาร จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน และเวลาที่ใช้คือ 14.01-16.00 น. มากที่สุด และส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความเป็นไปได้ที่จะทำให้ลูกค้าธนาคารออมสินในพื้นที่ ใช้บริการเครื่องทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเสมือนจริง (VTM) ของธนาคารออมสิน มี 3 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คือ การบริการที่สะดวกและรวดเร็ว ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ ทำเลที่ตั้งควรที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด คือ การจัดโปรโมชั่นให้ผลตอบแทนที่แตกต่างจากการเปิดบัญชีหรือทำธุรกรรมกับพนักงานธนาคารสาขา คำสำคัญ: เครื่องทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเสมือนจริง (VTM) การวิเคราะห์แบบจำลอง Logit การวิเคราะห์แบบจำลอง Probit ธนาคารออมสิน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
Abstract: The objectives of this research were 1 to examine the factors affecting the possibility of GSB customers in Muang, Chiang Mai to get transaction service with the Virtual Teller Machine (VTM) of the Government Savings Bank (GSB), Huay Kaew Road Service Center, Muang, Chiang Mai and 2 To investigate the current banking activities of GSB customers in Mueang, Chiang Mai. The data collection tools were 400-set questionnaires which responded by GSB sample group in Muang, Chiang Mai by accidental sample selection, and data analysis using Logit and Probit models. The results found that GSB customers were mostly a female, in the age of over 34 years old, with the bachelor's degree. They worked as an employee at a private company with an average monthly income of 10,001 - 15,000 baht and being in a marital status. The sample group most used the financial service via ATM (Automatic Teller Machine) and took this service less than a month from the previous time. The period of making transaction was not uncertain but the time most spent was during 14.01-16.00 hrs. Moreover, there are 3 marketing mix factors which affected the possibility of GSB customers in Muang, Chiang Mai to use transaction service with the Virtual Teller Machine (VTM) of the Government Savings Bank (GSB) as follow; 1 Product (convenient and fast services), 2 Distribution channel (location that should be available in a shopping mall) and 3 Marketing promotion (promotion that gave different benefits from opening an account or doing transactions with a bank teller. Keywords: transaction machines with Virtual Teller Machine (VTM), Logit -model analysis, Probit-model analysis, the Government Savings Bank, marketing mix factors
บทความ :