ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการขนาดกลางและ ขนาดเล็ก ในจังหวัดลำปาง
หัวข้อ (ENG): Factor Analysis of Ability to Pay Debt of Small and Medium Enterprise In Lampang Province
ผู้แต่ง : วาณิชชา ยศตื้อ
ประเภท : Articles
Issue Date: 11-Oct-2019
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ในจังหวัดลำปางซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ใช้บริการสินเชื่อในปี พ.ศ.2559 กับสถาบันการเงินของรัฐแห่งหนึ่ง ในจังหวัดลำปาง จำนวน 128 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าคามถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐานด้วยแบบจำลอง Binary Logistic ด้วยวิธี Maximum likelihood และวิเคราะห์ค่าผลกระทบส่วนเพิ่ม ด้วยวิธีMarginal effect และกำหนดระดับนัยสำคัญที่ α= 0.10, α= 0.05 และ α= 0.01 ผลการศึกษาที่ได้จากการวิเคราะห์แบบจำลอง Binary Logistic Model ด้วยวิธี Maximum likelihood และคำนวณค่าผลกระทบส่วนเพิ่มด้วยวิธีMarginal effect พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ในจังหวัดลำปาง คือ ปัจจัยภายในธุรกิจ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน , ธุรกิจประสบปัญหา (สินค้าขายไม่ได้, ได้รับงานน้อยลง, เก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้), วัตถุประสงค์การใช้เงินกู้ภาระหนี้ และประสบการณ์ในการทำธุรกิจ และจากการคำนวณค่าผลกระทบส่วนเพิ่ม (Marginal effect) ตัวแปรดังกล่าว พบว่า เมื่อปัจจัยภายในมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น (ลดลง) โอกาสที่ผู้ประกอบจะค้างชำระหนี้เพิ่มขึ้น (ลดลง) เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 12.00 และปัจจัยภายนอกธุรกิจ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงิน และมาตรการผ่อนปรนและการประนีประนอมการชำระหนี้คืน, การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และจำนวนคู่แข่งขันในธุรกิจ และจากการคำนวณค่าผลกระทบส่วนเพิ่ม (Marginal effect) ตัวแปรดังกล่าว พบว่า โอกาสที่ผู้ประกอบจะค้างชำระหนี้เพิ่มขึ้น (ลดลง) เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7.30 คำสำคัญ: การวิเคราะห์ ความสามารถในการชำระหนี้ ผู้ประกอบการ สินเชื่อ ค้างชำระ
Abstract: The study aimed to explore the factor analysis of ability to pay debt of Small and Medium Enterprise in Lampang Province, who has used the credit services in 2016 with a government financial institution In Lampang Province. The data was collected by questionnaires completed by 128 Small and Medium Enterprise. And analyze data using statistical software program to find frequency, percentage, mean and hypotheses were tested using Binary Logistic Model by Maximum Likelihood Method and Marginal Effect Method. The research finding was compiled by Binary Logistic Model by Maximum Likelihood Method and Marginal Effect Method found that factor analysis of ability to pay debt of Small and Medium Enterprise in Lampang Province is an internal business factors including operating expenses, businesses encounter problems (Unsold able products, less work received, unable to collect money from debtors), the purpose of the loan, objectives of loan, debt and the business. According to the method of Marginal Effect when the internal business factors change to be in arrears, increased (decreased) on average less than 12.00%. And external business factors such as loan interest rates of financial institutions, the relief measures and reconciliation of repayment, the political change and the number of competitors in the business. According to the method of Marginal Effect when the external business factors change to be in arrears, increased (decreased) on average less than 7.30%. Keywords: Analysis, Ability to pay debts, Entrepreneur, Credit, Overdue
บทความ :