ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารดิจิตอลของวัยกลางคน ในจังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Factors Affecting the Use of Financial Transactions through Digital Banking System Among Middle-Aged People in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : วรรณภา กำแพงแก้ว
ประเภท : Articles
Issue Date: 17-Sep-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารดิจิตอลของคนวัยกลางคน และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารดิจิตอลของคนวัยกลางคน ในจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างประชากรวัยกลางคน ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการศึกษาพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารดิจิตอล พบว่า กลุ่มตัววัยกลางคนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 55 - 60 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000 – 50,000 บาท รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ไม่เกิน 10,000 บาท ใช้บริการระบบธนาคารดิจิตอลผ่านมือถือ จากธนาคารไทยพาณิชย์ ทั้งนี้ใช้บริการมาเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป เฉลี่ยใช้บริการ 3-4 ครั้งต่อเดือน โดยใช้บริการในเวลา 06.01-12.00 น. บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการมากที่สุด คือ พนักงานธนาคาร และเหตุผลที่ใช้บริการเพราะใช้งานง่าย และประเภทบริการที่ใช้บริการมากที่สุดคือโอนเงิน และผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของแบบจำลองสมการโครงสร้างพบว่า แบบจำลองมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารดิจิตอลของคนวัยกลางคน ได้ร้อยละ 66.0 โดยปัจจัยที่มีความสำคัญที่สถาบันการเงินควรมีการปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ 3 ลำดับ ได้แก่ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด รองลงมาคือ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาย และด้านบุคลากร คำสำคัญ: การทำธุรกรรม การเงิน ธนาคารดิจิตอล วัยกลางคน จังหวัดเชียงใหม่
Abstract: This independent study aimed to investigate behaviors of middle-aged people in using financial transactions through digital banking system and explore factors affecting the use of financial transactions through digital banking system among the middle-aged people in Chiang Mai province. Questionnaires, as the research tool, were distributed to 400 research population who were the middle-aged people in Chiang Mai province. Data analysis were conducted by statistic packages; while the statistics being used to analyze data obtained included frequency distribution, percentage, mean, and Structural Equation Modeling: SEM. Results of the study were concluded as follows. Result of the study on behaviors of the middle-aged people in using financial transactions through digital banking system indicated that the majority of research population were male in the age of 55-60 years with Bachelor’s degree. Their career was mostly found in a category of government officials/government employees/state-enterprise employees. They earned monthly income at the average amount of 20,000-50,000 Baht and averagely had monthly expenses at the amount of not over than 10,000 Baht. The study presented that they had used financial transactions through digital banking system as operated by Siam Commercial Bank for more than a year. They approximately did the financial transactions through digital banking system at the frequency of 3-4 times during 06.01-12.00 hrs. Person influencing their decision towards performing the financial transactions through digital banking system at the most was the bank officer. Reason of performing the financial transactions through digital banking system was its simple system to be used. Type of transaction that they mostly did through digital banking system was money transfers. Result of the study on the optimum of Structural Equation Modeling: SEM revealed that the model was fit with the empirical data and was able to describe factors affecting the use of financial transactions through digital banking system among the middle-aged people at 66.0%. The result suggested that three significant factors that the financial institute should improve to fit with the customer’s needs were promotion, physical evidence and presentation, and people, factors, respectively. Key word: Transactions, Financial, Digital Banking System, Middle-Aged People, Chiang Mai Province
บทความ :