ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การใช้บริการพร้อมเพย์ของผู้บริโภคภายหลังการประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงิน ของธนาคารพาณิชย์ ในจังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): An Analysis of Consumers Use of Prompt Pay Service After the Cancellation of Transfer Fee by Commercial Banks in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : ยลดา ปันดวง
ประเภท : Articles
Issue Date: 03-Oct-2019
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการใช้บริการทางการเงินแบบพร้อมเพย์ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการทางการเงินแบบพร้อมเพย์ ภายหลังการประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินของธนาคารพาณิชย์ จากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ทำธุรกรรมผ่านช่องทางการใช้บริการทางการเงินแบบพร้อมเพย์ โดยการใช้บริการ Mobile Banking หรือ Internet Banking และการใช้บริการพร้อมเพย์มากกว่า 1 ปี ภายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 400 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการใช้ค่าสถิติทดสอบไคสแควร์ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ตอบแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุโดยเฉลี่ย 35 ปี และประกอบอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ส่วนตัวต่อเดือนเฉลี่ย 25,000 บาท พฤติกรรมการลงทะเบียนผูกบัญชีพร้อมเพย์นั้น มีการลงทะเบียนด้วยหมายเลขประจำตัวประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งสองหมายเลข ธุรกรรมทางการเงินแบบพร้อมเพย์ที่ทำธุรกรรมมากที่สุดคือ การโอนเงินให้บุคคลอื่น โดยมีความถี่ที่ทำธุรกรรมคือ 2 - 3 ครั้งต่อเดือน และมูลค่าในการทำธุรกรรมไม่เกิน 5,000 บาทต่อครั้ง หลังจากธนาคารพาณิชย์ได้ประกาศยกเลิกการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม การทำธุรกรรมแบบพร้อมเพย์ไม่น้อยกว่าเดิม เนื่องจากการใช้บริการพร้อมเพย์เกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำธุรกรรม โดยใช้หมายเลขประจำตัวประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนหมายเลขบัญชีธนาคาร ด้านการรับเงินคืนภาษีมีความสะดวกสบายและลดระยะเวลาในการรอรับเงินคืน อีกทั้งยังลดต้นทุนในส่วนของค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมทางการเงิน ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านต้นทุน ในเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงินแบบพร้อมเพย์มีความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคารพาณิชย์เป็นอันดับหนึ่ง และรองลงมาคือ ปัจจัยด้านความสะดวก ในเรื่องการใช้บริการพร้อมเพย์สามารถใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคารพาณิชย์ได้ และปัจจัยด้านคุณค่าที่ผู้บริการจะได้รับ ในเรื่องระบบพร้อมเพย์มีความพร้อมในการใช้งานมีความสะดวกสบายและรวดเร็ว ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้บริการทางการเงินแบบพร้อมเพย์ หลังจากธนาคารพาณิชย์ประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียม พบว่า เพศชาย และกลุ่มอาชีพอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ เลือกใช้บริการผ่านระบบพร้อมเพย์ในด้านรับเงินคืนภาษี กลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าหรือเทียบเท่าปริญญาตรี เลือกใช้บริการด้านการรับเงินโอนจากบุคคลอื่น โดยมีมูลค่าในการทำธุรกรรมไม่เกิน 5,000 บาทต่อครั้ง คำสำคัญ : พร้อมเพย์/ยกเลิกค่าธรรมเนียมโอนเงิน/การโอนเงิน/ธนาคารพาณิชย์/จังหวัดเชียงใหม่
Abstract: The study aims to investigate consumer behaviors towards the use of financial services, particularly in the form of “Promtpay” and to find out factors affecting the use of Promtpay service after an announcement on the removal of money transfer fees. The data were collected from the sample group conducting PromptPay transaction through Mobile Banking or Internet Banking services. The sample consisted of 400 individuals who have been involved with using PromptPay financial services for over 1 year within the area of Chiang Mai Province. The data were also analyzed with descriptive statistics and the Chi-square test statistics in order to examine hypotheses about relationships of the initial data from the respondents. The results of the study indicated that general information of the sample group is mostly female individuals, with an average age of 35 years. Most are civil servants or state enterprise officers who hold a bachelor's degree and have average monthly income of 25,000 baht. As for their behavior toward PromptPay registration, it showed that most of the respondents chose to register with both their citizen ID number and mobile phone number. The financial transaction which was mostly conducted through the Promptpay service is transferring money to other people, with an average frequency of 2 - 3 times per month and a maximum value of 5,000 baht each transaction. After the commercial bank had announced to remove fund transfer fees, it was found that the frequency of using PromptPay service had a tendency to increase further, as Promptpay service by using citizen ID card or mobile phone number is a quick and convenient financial transaction. Moreover, it is also convenient and saves time to receive tax refund as well as reduces the cost of fee collection for any kind of financial transactions. The study results of marketing mix factors found that majority of respondents gave importance to cost factors. The financial transaction in the form of PromptPay service is worthwhile in comparison to travel expenses while travelling directly to conduct transactions at a commercial bank. Another is the convenience factor. Regarding the use of the service, PromptPay can be easily accessed and used via the application of various commercial banks. Referring to the value factor on service provider side in terms of the system proficiency, Promptpay is promptly ready to use, convenient and fast. Through the Chi Square statistics, the testing of relationships among behaviors towards the use of financial services via Promtpay after the announcement on removal of transfer fees revealed that gender-related and occupation factors have had an influence on using PromptPay service for the purpose of tax refunds, with a transaction value of less than 5,000 baht each time. In addition, the education factor had also relationship with types of transaction that uses the Promptpay service to receive money transferred from another person, with a transaction value of less than 5,000 baht each time. Keywords: Prompt Pay Service/ Cancellation of Transfer Fee/ Transfer/ Commercial/ Chiang Mai Province
บทความ :