ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การออมเงินเพื่อเกษียณอายุของประชากรวัยแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Savings for Retirement of Working-Age Population in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : ธีรวรรณ จันต๊ะคาด
ประเภท : Articles
Issue Date: 24-Oct-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมเงิน และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเงินเพื่อเกษียณอายุของประชากรวัยแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประชากรวัยแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุระหว่าง 20 – 55 ปี จำนวนทั้งสิ้น 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิตแบบสองทางเลือก ผลการศึกษาพฤติกรรมการออมเงินเพื่อเกษียณพบว่า กลุ่มตัวอย่างประชากรวัยแรงงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด มีบุคคลในครอบครัวที่ต้องดูแลรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายจำนวน 2 คน รายได้เฉลี่ยรวมต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 – 20,000 บาท ยังคงมีสภาวะหนี้สินคงค้าง และคาดการณ์ว่าจะเกษียณอายุงาน เมื่อได้อายุ 60 ปี ส่วนด้านการออมเงิน พบว่า ส่วนใหญ่มีรูปแบบการออมแบบเข้าร่วมกองทุนประกันสังคมมากที่สุด สัดส่วนการออมต่อเดือนอยู่ที่ร้อยละ 5 – 10 ของเงินเดือน ก่อนที่จะออมเงินได้ดำเนินการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการออมเงินด้วยตนเอง วัตถุประสงค์ในการออมเงิน เพื่อต้องการดอกเบี้ย/ผลกำไร ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการออมเงินจากที่ทำงาน โดยบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการออม คือ ตนเอง ของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อพิจารณาค่าขนาดของอิทธิพลที่ส่งผลต่อการออมเงิน พบว่ากลุ่มตัวอย่างวัยแรงงานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่จะออมเงินมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อยกว่า 35 ปี โดยได้รับคำแนะนำจากพนักงานสถาบันการเงิน/ธนาคาร และกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพโสด มีโอกาสที่จะออมเงินน้อยเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่คาดว่าจะเกษียณอายุทำงานเกิน 60 ปี คำสำคัญ: การออม เกษียณอายุ วัยแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ แบบจำลองโลจิต
Abstract: This independent study aimed to explore savings behavior of working-age population in Chiang Mai province and examine factors affecting the savings for retirement of these working-age population. Questionnaire were used as the tool to collect data from the research population, which were specified to 400 working-age people in Chiang Mai, whose ages were in between 20-55 years old. Data obtained were analyzed by the Descriptive Analysis, including frequency, percentage, and mean, as well as the Binary Choice Model. Results of the study were concluded as follows. According to the study on savings behavior of the working-age population, the findings presented that the majority of respondents were single female. Graduated in Bachelor’s degree. In their family, there were 2 financial dependents relying on them; while the average family income per month was 10,001-20,000 Baht. And owed outstanding debts and expected to get retired at the age of 60 years old. Regarding their savings behavior, most respondents did the savings through Social Security Fund, in which the proportion of monthly savings was ranged between 5-10% of their salary. Before making decision to do savings, they studied on the certain type of savings by themselves. Purpose of the savings was to earn interests/benefit from it. They received news and information on savings from their workplace. The person influencing their decision making on savings the most was the respondents themselves. In consideration of effect sizes that might affect the savings trends, hereafter were presented the results. A group of working-age population in the age of over than 35 years old had more probability to do savings of overall research samples. A group of working-age population who received advices from an officer of financial institute/bank had more probability to do savings of overall research samples. A group of working-age population who expected to get retired in the age of over than 60 years old had less probability to do savings of overall research samples. Key word: Savings, Retirement, Working-age, Chiang Mai Province, Logit Model
บทความ :