ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายรายได้ของประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 และ 11
หัวข้อ (ENG): Income Disparity and Factors Affecting the Income Distribution in Thailand During the Use of 10th and 11th National Economic and Social Development Plan
ผู้แต่ง : ธมกร ขันธศิริกุล
ประเภท : Articles
Issue Date: 31-Jan-2019
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2554) และฉบับที่ 11(พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2559) ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิปี พ.ศ.2550 พ.ศ.2554 และ พ.ศ. 2558 แยกเป็นรายจังหวัด จำนวน 228 ข้อมูล โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าการกระจายรายได้ในประเทศไทยโดยรวมทั้งประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 และ 11 มีความเท่าเทียมกันเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์จีนีในปี พ.ศ. 2554 และปีพ.ศ.2558 มีค่าลดลงจากปี พ.ศ.2550 สำหรับการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ พบว่าตัวแปรที่มีผลกระทบต่อการกระจายรายได้ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ สัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของครัวเรือน จำนวนผู้มีงานทำ โดยหากมีสัดส่วนมากขึ้นมีผลทำให้ค่าสัมประสิทธิ์จีนีมีค่าต่ำซึ่งหมายความว่าการกระจายรายได้ดีขึ้น ในทางตรงข้าม จำนวนหนี้สินต่อครัวเรือน สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในภาคเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดทั้งหมด และจำนวนผู้อยู่นอกกำลังแรงงานโดยหากมีสัดส่วนมากขึ้นมีผลทำให้ค่าสัมประสิทธิ์จีนีมีค่าสูง ซึ่งหมายความว่าการกระจายรายได้แย่ลง ตัวแปรหุ่นที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบการกระจายรายได้ระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พบว่ามีการกระจายรายที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และยิ่งดีขึ้นในฉบับที่ 11 แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภูมิภาค 6 ภูมิภาคพบว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามีการกระจายรายได้ที่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลที่ใช้ในการแก้ปัญหาการกระจายรายได้ของประเทศไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะแม้ว่าค่าสัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ของประเทศโดยรวมจะลดลง แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภูมิภาคแล้วยังมีความเหลื่อมล้ำด้านการกระจายรายได้อย่างมีนัยสำคัญ คำสำคัญ: การกระจายรายได้ ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ สัมประสิทธิ์จีนี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Abstract: The major objective of this study is to study the factors affecting income distribution in Thailand during the 10th and 11st national social and economic development plan by using secondary data collected in 2007, 2011 and 2015 separately in province, totally 228 observations. Data analyzed by descriptive analysis and multiple regressions. According to the study, income distribution in Thailand during the 10th and 11st National Social and Economic Development Plan had more equity considering from Gini coefficient that decreased from 2007.The results of multiple regression found that the expenditure per income and numbers of employed had negative effects on Gini coefficient at the level of statistical significance 0.05 implying more equality in the society. In contrast, debt per household, percentage of gross provincial product in agricultural sector per all and percentage of economically and person not in labor force had positive effect on Gini coefficient at the level of statistical significance 0.05 leading more inequality in the society. Dummy variable employed to test compare for income distribution between 10th and 11st National Social and Economic development plan had significant effect on Gini coefficient implying more equality. But when compare between 6 regions of Thailand, Northern region and Northeast region have more inequality. Although, all government’s policy was success to improve income distribution in Thailand during the 10th and 11st national social and economic development plan but unsuccessful when compare between regions. Therefore, Policy makers should be focus on raising the income of rural households and reduce income disparities in agricultural section. The policies are to promote the knowledge of technology, increase the value of agricultural products and also include the succession of sustainable agriculture. Keywords: Income Distribution, Income Disparity, Gini coefficient, National Economic and Social Development Plan
บทความ :