ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์แบบจำลองอุปสงค์จากการส่งออกข้าวของประเทศไทย
หัวข้อ (ENG): An Analysis of Demand Model from Rice Exporting of Thailand
ผู้แต่ง : ทนิกา พุทธปวน
ประเภท : Articles
Issue Date: 26-Feb-2018
บทคัดย่อ (THAI): การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์แบบจำลองอุปสงค์จากการส่งออกข้าวของประเทศไทย ของประเทศ คู่ค้าที่สำคัญ จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ 1) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) ประเทศสหรัฐอเมริกา 3) ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 4) ประเทศมาเลเซีย และ 5) ประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์จากการส่งออกข้าวของประเทศไทยและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์จากการส่งออกข้าวของประเทศไทยของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ในระยะสั้นและระยะยาว อันได้แก่ 1) ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศของประเทศคู่ค้า 2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินเฉลี่ยรายปีของสกุลเงินบาทต่อสกุลเงินของประเทศคู่ค้า 3) จำนวนประชากรของประเทศคู่ค้า 4) ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศคู่ค้า 5) ราคาส่งออกข้าวของประเทศไทยเทียบกับราคาส่งออกข้าวของประเทศเวียดนาม และ 6) นโยบายรับจำนำข้าวทุกเม็ด จากการประมาณค่าแบบจำลองอุปสงค์ โดยวิธี Pooled Mean Group Estimator พบว่า ตัวแปร ทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศไทยในดุลยภาพระยะยาว ได้แก่ 1) ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศของประเทศคู่ค้า มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศ 2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินเฉลี่ยรายปีของสกุลเงินบาทต่อสกุลเงินของประเทศคู่ค้า มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศไทย 3) จำนวนประชากรของประเทศคู่ค้า มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศไทย 4) ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ คู่ค้า มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศไทย 5) ราคาส่งออกข้าวของประเทศไทยเทียบกับราคาส่งออกข้าวของประเทศเวียดนาม มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม กับมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศไทย และ 6) นโยบายรับจำนำข้าวทุกเม็ด มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศไทย คำสำคัญ: การส่งออก ตัวแปรทางเศรษฐกิจ ราคาส่งออก วิธีพาแนลเออาร์ดีแอล อัตราแลกเปลี่ยน
Abstract: The study of An Analysis of Demand Model from Rice Exporting of Thailand. The five major trade partners are: 1) The People’s Republic of China 2) The United States of America 3) The Republic of South Africa 4) Malaysia and 5) Japan. The purpose is to study economic variables Influencing of Thailand’s rice export demand and analysis of the relationship of economic variables influencing of Thailand’s rice export demand in short and long term. This includes 1) Gross Domestic Product of the trading partner 2) The average annual exchange rate of the Thailand currency against the currencies of the trading partner 3) The number of population of the trading partner 4) The Consumer Price Index of the trading partner 5) Free on board price of Thailand’s rice compared with Free on board price of Vietnam’s rice and 6) Policy on rice pledging. Estimated demand model by Pooled Mean Group Estimator found that economic variables affecting the value of Thailand’s rice exports in long-run equilibrium are 1) Gross Domestic Product of the trading partner has changed in the same direction with the export value of rice from Thailand. 2) The average annual exchange rate of the Thailand currency against the currencies of the trading partner has changed in the opposite direction with the export value of rice from Thailand. 3) The number of population of the trading partner has changed in the same direction with the export value of rice from Thailand. 4) The Consumer Price Index of the trading partner has changed in the opposite direction with the export value of rice from Thailand. 5) Free on board price of Thailand’s rice compared with Free on board price of Vietnam’s rice has changed in the opposite direction with the export value of rice from Thailand. 6) Policy on rice pledging has changed in the opposite direction with the export value of rice from Thailand. Key word: Export, Economic Variables, Free On Board, Panel ARDL, Exchange rate
บทความ :