ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมการใช้จ่ายของนักวิ่ง และปัจจัยที่ทำให้นักวิ่งกลับมาวิ่งซ้ำ ใน "ลำปาง ฮาร์ฟมาราธอน"
หัวข้อ (ENG): Behavior on Runner’s Spending, and Factors Making Runner Return to Run Repeatedly in the Future, Case Study “Lampang Half Marathon”
ผู้แต่ง : ตะวันฉาย พิภพพรพงศ์
ประเภท : Articles
Issue Date: 13-Dec-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักวิ่ง และปัจจัยที่ทำให้นักวิ่งกลับมาวิ่งซ้ำ ใน “ลำปาง ฮาร์ฟมาราธอน” และวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน จุดอ่อน โอกาส และปัญหาอุปสรรคในการจัดงาน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดงานวิ่งครั้งต่อไป งานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้จัดงาน ผู้ให้การสนับสนุน และหน่วยงานราชการ เป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ด้านงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่าง แบบจำลองที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) และแบบจำลอง Logit Model เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้นักวิ่งจะกลับมาวิ่งซ้ำในปีถัดไป ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการใช้จ่ายของนักวิ่ง ใน “ลำปาง ฮาร์ฟมาราธอน 2018” เมื่อนักวิ่งเดินทางในระยะที่ไกลขึ้น 1 กิโลเมตร จะส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 4.97 บาท ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 โดยนักวิ่งที่มีอาชีพทำงานบริษัทเอกชนจะมีการใช้จ่ายมากกว่าอาชีพอื่นๆ 654.62 บาท ที่ระดับนัยสำคัญ 0.1 เมื่อนักวิ่งมีประสบการณ์การแข่งขันมากขึ้น 1 ครั้ง จะมีการใช้จ่ายมากขึ้น 44.17 บาท ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อนักวิ่งมีผู้ร่วมเดินทางมากขึ้น 1 คน จะมีการใช้จ่ายมากขึ้น 220.08 บาท ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 เมื่อนักวิ่งพักในจังหวัดลำปางมากขึ้น 1 คืน จะมีการใช้จ่ายมากขึ้น 1,061.224 บาท ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 นักวิ่งที่เดินทางโดยเครื่องบินจะมีการใช้จ่ายมากกว่าการเดินทางวิธีอื่นๆ 2,126.44 บาท ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ปัจจัยที่ทำให้นักวิ่งกลับมาวิ่งซ้ำ ใน “ลำปาง ฮาร์ฟมาราธอน” ในปีถัดไป โดยการบริการนํ้าดื่มระหว่างการวิ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.31 คะแนน ระบบสมัครงานวิ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.48 คะแนน การจัดการในวันรับ BIB (เลขเสื้อ) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.58 คะแนน ความพอใจของการจัดงานในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.42 คะแนน ทั้งนี้ มีคะแนนเฉลี่ยทุกตัวแปรรวมเท่ากับ 8.44 ซึ่งตรงกับ ตัวแปรสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยความน่าจะเป็นในการตัดสินใจกลับมาวิ่งซ้ำเท่ากับ 0.9614 หรือร้อยละ 96.14 โดยมีนักวิ่งจะกลับมาวิ่งซ้ำ จำนวน 366 คน ไม่กลับมาวิ่งซ้ำจำนวน 34 คน ผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน จุดอ่อนโอกาส และปัญหาอุปสรรค์ในการจัดงานวิ่งมาราธอน “ลำปาง ฮาร์ฟมาราธอน 2018” เพื่อเป็นแนวทางในการจัดงานครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น โดยจุดแข็ง ได้แก่ การให้ความร่วมมือจาก ผู้จัดงาน ผู้สนับสนุน หน่วยงานราชการ รวมไปถึง สถานที่จัดการแข่งขัน รูปแบบการจัดการแข่งขัน จุดอ่อน ได้แก่ ที่จอดรถยนต์มีจำกัด ส่งผลให้นักวิ่งจอดรถริมถนนจึงทำให้การจราจรในช่วงการจัดงานค่อนข้างติดขัด โอกาส ได้แก่ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดลำปาง ส่งผลให้นักวิ่งและผู้ติดตามมาท่องเที่ยว ได้พักผ่อน และใช้จ่ายเงินในการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ในจังหวัดลำปางมากขึ้น และอุปสรรค ได้แก่ การจัดงานครั้งนี้เป็นการจัดในช่วงเวลาของปลายฤดูร้อน ต้นฤดูฝน จึงทำให้อากาศในวันลงทะเบียนรับเสื้อค่อนข้างร้อน
Abstract: This study aimed to investigate spending behavior of runners at marathon races and factors influencing their repetition: a case study of runners at “Lampang Half Marathon” race. In so doing, this study conducted an analysis of the strengths, weaknesses, opportunities and threats (SWOT Analysis) in organizing the event. The findings were used as a guideline to improve the forthcoming events. This study applied a qualitative research which emphasized data collection from the in-depth interviews with the event’s organizer, sponsors, and government. This study also applied quantitative research design which employed a survey of 400 samples. The study carried out a Regression Analysis and Logit Model to assess the factors influencing the repetition of the runners at the marathon events in the forthcoming years. The study results showed some evidence that the 1-kilometer increase in the distance of trip to the event caused the 4.97 Baht increase in the spending, statistically significant at the 0.01 level. The runners worked in private companies spent 654.62 Baht more than those with other careers, statistically significant at the 0.10 level. An increase in one-time experience in the half marathon race was correspond to 44.17 Baht increase in spending, statistically significant at the 0.05 level. Runners accompanied with more than one peer were more likely to spend 220.08 Baht more, statistically significant at the 0.01 level. An increase in one more night in Lampang was correspond to 1,061.224 Baht increase in spending, statistically significant at the 0.01 level. Runners travelled by plane spent 2.126.44 Baht more than those travelled by other mode of transportations, statistically significant at the 0.05 level. Factors influencing the repetition of the runners at the “Lampang Half Marathon” race in the forthcoming years included the provision of drinking water (average score 8.31), registration process (average score 8.48), distribution process of BIB number and T-shirts (average score 8.85), overall satisfaction with the event (average score 8.42). The overall average score of all criteria equaled to 8.44, aligned with the hypothesis of this study. The probability of the repetition of a runner at the “Lampang Half Marathon” race next year equaled to 0.9614 or 96.14 percent, meaning that there would be 366 repeated runners and 34 runners would not repeat their running at the event next year. The results of SWOT Analysis in organizing the “Lampang Half Marathon 2018” race could be used as a guideline to improve the forthcoming events. The strengths of this event included the collaboration among the event’s organizer, sponsors, and government; the venue of the event; and the attributes of the events. The weaknesses included the limitation of parking space in which the runners had to use the on-street parking, causing a congestion during the event. The opportunities included the promotion of sports tourism in Lampang in which the runners and the accompanying persons could travel around Lampang city, inducing the increase in spending for goods and services. The threats included the seasonality in which the event took place. The event this year was held in late summer and early wet season, making it quite hot during the registration day.
บทความ :