ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ผลของการวางกรอบในการประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยวเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยในเขตอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์
หัวข้อ (ENG): Framing Effect in the valuation of Tourists' Willingness to Pay for Solid Waste Management in Phu Soi Dao National Park, Uttaradit Province
ผู้แต่ง : ณรงค์ศักดิ์ พฤกษ์พงศ์พันธ์
ประเภท : Articles
Issue Date: 22-Aug-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการวางกรอบที่มีต่อการประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยว และ 3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยว โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว ที่มาท่องเที่ยวยังอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มที่ 1 ไม่มีการแนะนำค่าความเต็มใจที่จะจ่ายจำนวน 200 ตัวอย่าง และ กลุ่มที่ 2 มีการแนะนำค่าความเต็มใจที่จะจ่ายจากงานวิจัยในอดีตจำนวน 200 ตัวอย่าง ประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของนักท่องเที่ยวโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบผลกระทบของการวางกรอบที่มีต่อการประเมินมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในเบื้องต้น โดยใช้สถิติทดสอบ t-test และ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อค่าความเต็มใจที่จะจ่าย ด้วยแบบจำลอง Tobit ผลการศึกษาพบว่า กรณีพิจารณาค่าความเต็มใจที่จะจ่ายโดยรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านคำถามคัดกรอง มีค่าเฉลี่ยความเต็มใจที่จะจ่ายต่อคนเท่ากับ 63.49 บาท/ครั้ง คิดเป็นมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเท่ากับ 1.58 ล้านบาทต่อปี โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีการวางกรอบมีค่าเฉลี่ยความเต็มใจที่จะจ่ายต่อคนเท่ากับ 83.15 บาท/ครั้ง ซึ่งสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีการวางกรอบมีค่าเฉลี่ยความเต็มใจที่จะจ่ายต่อคนเท่ากับ 44.96 บาท/ครั้ง ดังนั้นช่วงมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายจึงเท่ากับ 1.12 ล้านบาท – 2.08 ล้านบาทต่อปี และเมื่อพิจาณากลุ่มตัวอย่างย่อยที่ถูกเลือกจากคำถามที่คัดกรองพบว่ามีผลการศึกษาที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้จากผลการวิเคราะห์ผลของการวางกรอบโดยใช้ค่าสถิติ t และ สมการ Tobit ยืนยันว่าการวางกรอบมีผลทำให้มูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายสูงขึ้น เท่ากับ 26.01 บาท/ครั้ง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อค่าความเต็มใจที่จะจ่าย โดยปัจจัยที่ส่งผลในทิศทางบวก คือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ปัจจัยที่มีผลต่อค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในทิศทางลบ คือ สถานภาพสมรส ถิ่นที่อยู่อาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์ คำสำคัญ ( 5 คำ ) : อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว; เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม; ขยะ; ผลของการวางกรอบต่อการตัดสินใจ; ความเต็มใจที่จะจ่าย
Abstract: The objectives of this study was 1) to value tourists’ willingness to pay, 2) to study the framing effect on the valuation of tourists’ willingness to pay, and 3) to study factors affecting tourists’ willingness to pay. Data were collected from 400 tourists who visited Phu Soi Dao National Park, Uttaradit province. The sample was divided into two groups: the first group was 200 tourists without the recommendation of willingness to pay (WTP) value and the second one was 200 tourists with the recommendation of WTP value based on previous researches. WTP value was evaluated through descriptive statistics. The framing effect on the primary valuation of WTP was analyzed by t-test and factors affecting WTP was analyzed through Tobit model. The results of this study indicated as follows. When overall WTP was considered, the average WTP per person was 65.78 baht / time, accounting for WTP value of 1.64 million baht/year. The sample with framing effect had higher average WTP per person (83.90 baht/time) than the sample without framing effect (47.65 baht/time). Therefore, WTP values ranged from 1.19 million-2.90 million baht per year. When the sub-sample selected by screening items was considered, the similar results were found. The analytic results of framing effect using t-statistic and the Tobit equation assured that the framing effect influenced higher WTP value 26.01 baht / time. Besides, other factors influenced WTP. Monthly income had a positive influence on WTP, meanwhile marital status and residence in Uttaradit Province had a negative influence on WTP. Key word ( 5 คำ ) : Phu Soi Dao National Park; Behavioral Economics; Garbage; Framing Effect; Willingness to Pay
บทความ :