ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
หัวข้อ (ENG): Quality of Working Life of Burmese Migrant Workers in Mae-sai District, Chiangrai
ผู้แต่ง : ปรางค์ชนก อินทะสอน
ประเภท : Articles
Issue Date: 26-Oct-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายและเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ในเขตอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย โดยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และแบบสอบถามด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีอาชีพหลักอยู่ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากที่สุด และทั้งหมดไม่ประกอบอาชีพเสริม ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยจากอาชีพหลักเดือนละ 8,400 บาท มีค่าใช้จ่ายค่าอาหารเฉลี่ยต่อเดือน 4,500บาท ส่งเงินกลับประเทศของตน เฉลี่ยเดือนละ 2,600 บาท มีเงินออมต่อเดือน เฉลี่ย 460บาท การเก็บออมเงินส่วนใหญ่เป็นลักษณะการเก็บออมด้วยตนเอง ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สิน แต่บางส่วนที่มีหนี้สิน จะเป็นหนี้สินเพื่อการอุปโภคบริโภคมากที่สุดและระดับคุณภาพชีวิต พบว่า แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากคุณภาพชีวิตทั้ง 8 ด้าน ปรากฏว่า มีด้านที่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ การสร้างกฎเกณฑ์ในหน่วยงาน และความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตความเป็นอยู่ ส่วนด้านที่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง มีจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางสังคมสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และสุขภาพค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอความมั่นคง และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และโอกาสในการพัฒนาความสามารถส่วนด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคม
Abstract: This research aims to study economic condition and social status of migrant worker, Burmese people, in Mae-sai district, Chiang Rai, and also to study their work life quality from the sampling of 300 Burmese migrants in Mae-sai district, Chiang Rai. The tools that are used in this study are the questionnaire of economic condition and social status, and the questionnaire of work life quality from samplers’ work life quality. The gathered data is, then, analyzed by descriptive statistical tools. As a result, this paper found thatmost of Burmese migrants, in Mae-sai, Chiang Rai, mainly work in construction industry and not all of them work an additional job. In average, most of them earn 8,400 Baht from the salary of their main job and spend for approximately 4,500 Baht on meals. 3,000 Baht is monthly transferred back to their country and around 1,000 Baht is saved. The most ways they save their money is to keep it with themselves. In addition, almost all of them are debt-free, only a few Burmese migrant workers who are in debt, but those debts are mostly caused by their consumption. Furthermore, in terms of work life quality, this paper found Burmese migrant workers in Mae-sai, Chiang Rai, hold intermediate level considered from their opinions. Anyway, when consider 8 factors of work life quality, 2 factors are scored highly which are regulation in organization and work life balance. On the other hand, the intermediate scores appear in the other 5 factors which are social relationship, environment, safety and health ,fair salary ,consistency and growth potential in career path ,and development opportunity.
บทความ :