ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ ของผู้บริโภคชาวไทย
หัวข้อ (ENG): A Study of Food Consumption Behavior and Understanding About Nutrition of Thai Consumers
ผู้แต่ง : ธัญมน สุวรรณชัญ
ประเภท : Articles
Issue Date: 08-Feb-2017
บทคัดย่อ (THAI): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้บริโภคชาวไทย โดยพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร และศึกษาความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับข้อมูลโภชนาการและไขมันทรานส์ โดยจะสุ่มศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค เพศชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 20 - 40 ปี อาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวน 400 ราย ทำการสรุปผลจากข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการแจกแบบสอบถามที่แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (2) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร (4) อิทธิพลของสื่อต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ (5) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของข้อมูลโภชนาการและไขมันทรานส์ โดยทำการวิเคราะห์จากการให้คะแนนความสำคัญในแต่ละปัจจัย ใช้วิธีหาค่าสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินค่าระดับความสำคัญตามมาตรวัดแบบประเมินค่าของลิเคิร์ท รวมไปถึงการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับนโยบายโภชนาการของไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างไร มีความคิดเห็นหรือความต้องการในเรื่องโภชนาการใดเพิ่มเติมบ้าง ผลจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเพศชาย 200 รายและเพศหญิง 200 รายพบว่า ร้อยละ 70 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 20 - 30 ปี เพศชายมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วน และผู้หญิงอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติเป็นส่วนใหญ่ หากคิดตามจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 400 คน ร้อยละ 53.00 มีการทานอาหารครบ 3 มื้อในแต่ละวัน แต่พบว่ามีเพียงร้อยละ 10.75 เท่านั้นที่มีการคำนึงถึงการบริโภคอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ในทุกมื้ออาหาร ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างให้คำตอบว่ารสชาติอาหารคือปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารมากที่สุด และช่องทางสื่อสารผ่าน Social Media เช่น Facebook ก็มีผลต่อการตัดสินใจของพวกเขามากที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้ ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจข้อมูลโภชนาการและไขมันทรานส์ จากคำถามทั้ง 10 ข้อ มีเพียงร้อยละ 8.25 ที่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้องในระดับที่มีความเข้าใจดีมาก สะท้อนให้เห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโภชนาการเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของไขมันทรานส์ ที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบคำถามผิด ดังนั้น กลุ่มตัวอย่างจึงมีความคิดเห็นว่า หากพวกเขามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโภชนาการและไขมันทรานส์มากขึ้น พฤติกรรมการบริโภคอาหารของพวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไป คำสำคัญ : พฤติกรรม, การบริโภคอาหาร, โภชนาการ, ไขมันทรานส์, ผู้บริโภคชาวไทย
Abstract: This study aims to observe and study about consumption behavior of Thai consumers, factors that influent consumers’ decision on food consumption, and a study about understanding of nutrition and trans-fat in food products. In distribution of the questionnaire, 400 random sampling of Thai consumers, age between 20 - 40 years old and currently live inside Thailand, were collected. This primary data was composed of 5 different parts of questions; those were (1) general information of the answerer (2) food consumption behavior (3) factors that influent consumers’ decision (4) influence of each media sources and (5) understanding in food nutrition and trans-fatty acid. The data was analyzed in descriptive static approach and evaluated each factors’ importance on the Scale of Likert (1932). Furthermore, this study also query about consumers’ opinion about nutrition policy in Thailand’s food market, their perception about products’ harmful ingredients, and willingness to improve on their consumption behavior. The findings of 200 males and 200 females reveal that 70 percent of the group is aged between 20 - 30 years old; majority of males have their Body Mass Index in Overweight category, and Normal category for females. On a scale of the 400 surveys, 53.00 percent consume 3 meals daily, but only 10.75 percent of the sampling group concern about eating the five food groups complementarily in every of their meals. They also revealed that the most important factor that influents them to buy food products is flavor, and the most efficient way to advertise or communicate with them is through Social Media Source (i.e. Facebook). Moreover, for the study about consumers’ level of understanding about nutrition, only 8.25 percent have their perception in a very good level, the rest are in average and below average levels at 38.25 and 50.25 percent, respectively. These findings reflect that majority of the samplings have lack of knowledge and misunderstanding about food nutrition, especially trans-fatty acid. The group, therefore, suggested that they would like to be more intellectual about this nutrition matter – since it will help them improve their food consumption behavior. Key Words: Food Consumption, Behavior, Nutrition, Trans-Fat, Thai Consumers
บทความ :