ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การศึกษาผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคต่ออัตราผลตอบแทนหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยวิธีการถดถอยแบบควอนไทล์
หัวข้อ (ENG): The Effects of Macroeconomic Factors on Rate of Return on the Construction Index in Thailand Stock Exchange by Using Quantile Regression
ผู้แต่ง : ณัฐธิณี แสงศรีจันทร์
ประเภท : Articles
Issue Date: 05-Sep-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคต่ออัตราผลตอบแทนหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตัวแปรหรือปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่ศึกษาประกอบไปด้วย อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเจริญเติบโตของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อัตราการเจริญเติบโตของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง และอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นที่ทำการศึกษามี 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ไพลอน จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีอาร์ซีคอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิราคาปิด รายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 จำนวนข้อมูลทั้งหมด 119 ข้อมูล โดยทำการประมาณค่าด้วยวิธีการถดถอยแบบควอนไทล์รวมทั้งทำการเปรียบเทียบระหว่างการถดถอยแบบควอนไทล์กับการถดถอยแบบกำลังสองน้อยที่สุด ผลการทดสอบความนิ่ง (Unit Root) พบว่าข้อมูลปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค และอัตราผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ทำการศึกษามีลักษณะ “ นิ่ง ” ที่ระดับ Level หรือ I (0) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยวิธีการถดถอยแบบควอนไทล์ พบว่าอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ (SET) มีผลต่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ทั้ง 4 ในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีผลกระทบต่อหลักทรัพย์ TRC และ PLE ลดลง เมื่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ทั้ง 2 เพิ่มขึ้น แต่อัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์จะมีผลกระทบต่อหลักทรัพย์ STEC มากขึ้น เมื่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ STEC เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ มีผลกระทบต่อหลักทรัพย์ PYLON มาก ในช่วงอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ PYLON กลางๆ หรือ ระดับควอนไทล์ 0.5 รองลงมา คือ ที่ระดับควอนไทล์ 0.75 และ 0.25 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราเงินเฟ้อ (INF) มีผลในทิศทางตรงข้ามกับอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ TRC, STEC และ PLE โดยจะมีผลกระทบมากขึ้น เมื่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ TRC และ STEC เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีผลต่อหลักทรัพย์ PLE แค่ที่อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ PLE ต่ำๆ (ควอนไทล์ 0.25) เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดพบว่าอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ (SET) มีผลต่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ทั้ง 4 อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอัตรา ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ PYLON อยู่ในช่วงอัตราผลตอบแทนสูง อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ TRC และ STEC อยู่ในช่วงอัตราผลตอบแทนกลางและสูง ส่วนอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ PLE อยู่ในช่วงอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ต่ำ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ (INF) ก็มีผลต่อหลักทรัพย์ทั้ง 4 โดยที่อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ PYLON และ STEC อยู่ในช่วงอัตราผลตอบแทนสูงแต่อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ TRC และ PLE อยู่ในช่วงอัตราผลตอบแทนต่ำ
Abstract: This research studied the effect of macroeconomic factors and rate of return of construction index in Thailand stock exchange. For macroeconomic factors was consisting of : Inflation The United Stated dollar exchange Construction Materials index and Thailand stock exchange index as well as for four securities in construction sector are consisting of : Pylon Public Company Limited TRC Public Company Limited Sino Thai Engineering and Construction Public Company Limited and Power Line Engineering Public Company Limited. Analyzed data was secondary data between January 2005 and December 2015 on the monthly closing prices in total 119 sets and then regression with quantile also compare between quantile regression and ordinary least square regression. Unit root test founds that growth of macroeconomic factors data and rate of return the construction index in Thailand stock exchange with the results that showed “stationary” at level or I (0). Furthermore, the data was analyzed the relationship using quantile regression. The studied found that return rate of SET index have a positive effects on return rate of all four securities. Also it effects on TRC and PLE are decreasing when rate of return they are increasing but it effects on STEC is increasing when return rate of STEC is increasing. While return rate of SET more effects on PYLON when return rate of PYLON is quantile 0.50. Second is 0.75 0.25 sequentially. Moreover, found that inflation rate (INF) have a negative effects on TRC, STEC and PLE as well as more effects when return rate of TRC and STEC are increasing. Although inflation rate effects on PLE just return rate of PLE is a low (Quantile 0.25) return rate only. When compares the analysis with ordinary least square found that return rate of SET effects on four of return rate with significant. Also return rate of PYLON is high range of return rate. And return rate of TRC and STEC is between middle and high range of rate of return. Return rate of PLE is low rate of return. While inflation rate effects on four securities as return rate of PYLON and STEC is high range of rate of return but return rate of TRC and PLE is low range of rate of return
บทความ :