ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์ศักยภาพของการผลิตไก่ประดู่หางดำ
หัวข้อ (ENG): Potential Analysis of Pradu Hang Dam Chicken Production
ผู้แต่ง : ลำพล ศรีดอนชัย
ประเภท : Articles
Issue Date: 28-Sep-2018
บทคัดย่อ (THAI): การวิเคราะห์ศักยภาพของการผลิตไก่ประดู่หางดำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงศักยภาพการผลิต การตลาด และผลตอบแทนของการผลิตไก่ประดู่หางดำ ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และเพชรบุรี การศึกษาเป็นการเปรียบเทียบการเลี้ยง 2 รูปแบบ คือ รูปแบบเลี้ยงปล่อยธรรมชาติ และรูปแบบเลี้ยงขุนเชิงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2558-2559 โดยได้ข้อมูลจากเกษตรกรรูปแบบเลี้ยงปล่อยธรรมชาติ จำนวน 118 ราย และรูปแบบเลี้ยงขุนเชิงพาณิชย์ จำนวน 23 ราย รูปแบบเลี้ยงปล่อยธรรมชาติ ด้านการผลิต เกษตรกรมีการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จากกรมปศุสัตว์ และฟาร์มเครือข่าย โดยซื้อพ่อพันธุ์เฉลี่ย 3 ตัว และแม่พันธุ์เฉลี่ย 23 ตัว สามารถผลิตลูกไก่ได้เฉลี่ย 368 ตัวต่อรุ่นต่อราย โรงเรือนมีพื้นที่เฉลี่ย 55.70 ตารางเมตร มีพื้นที่เลี้ยงปล่อยเฉลี่ย 685.10 ตารางเมตร มีการใช้แรงงานครัวเรือนในการดูแลเฉลี่ย 1 คน สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ ประกอบด้วย อาหารสำเร็จรูป ผสมกับพืชอาหารหยาบที่หาได้ในท้องถิ่น มีการให้วัคซีนป้องกันโรคตามระยะเวลาที่กรมปศุสัตว์กำหนด เกษตรกรสามารถผลิตไก่ขุนโดยเฉลี่ย 321 ตัวต่อรุ่น ใช้เวลาในการเลี้ยงเฉลี่ย 106 วันต่อรุ่น ในหนึ่งปีจะมีการเลี้ยง 3 รุ่น ประมาณการไก่ขุน 963 ตัวต่อปี มีต้นทุนการผลิตรวม 18,422 บาทต่อรุ่น หรือต้นทุนเฉลี่ย 57.39 บาทต่อตัว ด้านการตลาด เกษตรกรจะนำไปจำหน่ายได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ (1) จำหน่ายเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 7.48 (2) จำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางในรูปแบบไก่มีชีวิต คิดเป็นร้อยละ 40.81 (3) แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่าย ได้แก่ ไก่ชำแหละ และทำเป็นไส้กรอก คิดเป็นร้อยละ 51.71 มีรายรับที่ได้จากการจำหน่ายไก่ขุนทั้งหมด 56,544 บาทต่อรุ่น หรือรายรับเฉลี่ย 176.15 บาทต่อตัว ทำให้เกิดกำไรสุทธิ 38,121 บาทต่อรุ่น หรือกำไรเฉลี่ย 118.76 บาทต่อตัว มีผลตอบแทน B/C ratio เท่ากับ 3.07 รูปแบบเลี้ยงขุนเชิงพาณิชย์ ด้านการผลิต เกษตรกรมีการซื้อลูกไก่ทั้งหมดมาจากฟาร์มเครือข่าย เพื่อมาผลิตเป็นไก่ขุนเฉลี่ย 1,156 ตัวต่อรุ่น มีพื้นที่โรงเรือนเฉลี่ย 124.28 ตารางเมตร พื้นที่ปล่อยเฉลี่ย 217.50 ตารางเมตร มีการใช้แรงงานครัวเรือนในการดูแลเฉลี่ย 2 คน อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ ประกอบด้วย อาหารสำเร็จรูป และมีการใช้หญ้าเนเปียร์ เพื่อลดพฤติกรรมที่ก้าวร้าว การจิกตีกัน มีการให้วัคซีนป้องกันโรคตามระยะเวลาที่กรมปศุสัตว์กำหนด เกษตรกรสามารถผลิตไก่ขุนโดยเฉลี่ย 1,101 ตัวต่อรุ่น ใช้เวลาในการเลี้ยงเฉลี่ย 87 วันต่อรุ่น ในหนึ่งปีจะมีการเลี้ยง 3 รุ่น ประมาณการไก่ขุน 3,303 ตัวต่อปี มีต้นทุนการผลิตรวม 95,463 บาทต่อรุ่น หรือต้นทุนเฉลี่ย 86.71 บาทต่อตัว ด้านการตลาด เกษตรกรจะนำไปจำหน่าย โดยมีการตลาด 2 ช่องทาง ได้แก่ (1) จำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางในรูปแบบไก่มีชีวิต คิดเป็นร้อยละ 84.10 (2) แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่าย ได้แก่ ไก่ชำแหละ และทำเป็นไส้กรอก คิดเป็นร้อยละ 15.90 มีรายรับจากการจำหน่ายไก่ขุนทั้งหมด 161,149 บาทต่อรุ่น หรือมีรายรับเฉลี่ย 146.37 บาทต่อตัว ทำให้เกิดกำไรสุทธิ 65,685.56 บาทต่อรุ่น หรือมีกำไรเฉลี่ย 59.66 บาทต่อตัว มีผลตอบแทน B/C ratio เท่ากับ 1.69 จากการเปรียบเทียบการเลี้ยงทั้ง 2 รูปแบบ พบว่า การเลี้ยงรูปแบบปล่อยธรรมชาติมีผลกำไรมากกว่ารูปแบบเลี้ยงขุนเชิงพาณิชย์ เนื่องจาก มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และมีรายรับจากการจำหน่ายสูงกว่า ดังนั้นภาครัฐควรสนับสนุนให้เกษตรกรมีการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำในรูปแบบเลี้ยงปล่อยธรรมชาติ โดยนำองค์ความรู้ในด้านการผลิต และการตลาดเข้าไปส่งเสริมให้แก่เกษตรกร เพื่อพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำให้เกิดความยั่งยืนต่อไป คำสำคัญ : ไก่ประดู่หางดำ, การผลิต, ศักยภาพการตลาด ต้นทุนและผลตอบแทน
Abstract: The objective of this study entitle potential analysis of pradu hang dam chicken production was to study the potential of production, marketing and the return from the production of Pradu Hang Dam chicken. The data used in this study was from the research project of Management system of creating an occupation from the rearing of pradu hang dam chicken for small-scale farmers, which has Assoc. Prof. Dr. Siriporn Kiratikrankuls from the Faculty of Economics, Maejo University as the head of the project. The data were obtained from the use of questionnaire and interview from farmers in 8 provinces, which includes, Chiang Mai, Chiang Rai, Lamphun, Lampang, Phrae, Nan, Mae Hong Son and Phetchaburi. The study compares 2 groups of farmers; free range group and commercial group during the year 2015-2016. The data were collected from 118 farmers of free ranges and 23 farmers of commercial group. The production aspect of free ranges group shows that farmers buy their breeders from Department of Livestock and other Network farms with an average of 3 male breeders and 23 female breeders, which can in all produce an average of 368 chickens per lot. The average chicken house was 55.70 square meters, and average rearing areas of 685.10 square meters. There was an average of 1 person per household in terms of labors used in rearing the chickens. Feeding were included both local and readymade feed. Vaccines were given according to the time determined by the Department of Livestock Development. The farmers were able to produce 321 chickens per lot. The average time for rearing was 106 days per lot which 963 chickens were reared per year. The total production cost of 18,422.55 baht per lot or average cost of 57.39 baht per one chicken. In term of marketing, the farmers sold their chickens in three channels which were (1) as breeders 7.48 percent (2) sold to middlemen in the form of live chicken 40.81 percent, and (3) process and sell as a finished product such as; butchered the chickens and use it in the production process of sausage 51.71 percent. A total revenue from the selling of the chicken was 56,544 baht per lot or an average of 176.1 baht per one chicken. Resulting in net profit of 38,121 per lot or an average profit of 118.76 baht per one chicken with a B/C ratio of 3.07. The production aspect of commercial group showed that the farmers bought all their chicken breeds from both farm and other networks, in order to produce 1, 156 chickens per lot. The average chicken house was 124.28 square meters, and average rearing areas 217.50 square meters. There was an average of 2 people per household in terms of labors used in rearing the chickens. Feeding were included ready-made feed and the use of Napier grass in order to help reduce aggressive behavior of fighting each other. Vaccines were given according to the time determined by the Department of Livestock Development. The farmers were able to produce 1,101 chickens per lot. The average time for rearing was 87 days per lot which 3,303 chickens were reared per year. The total production cost of 95,463.44 baht per lot or average cost of 86.71 baht per chicken. In term of marketing, the farmers sold their chickens in two channels which were none (1) sell to middlemen in the form of live chicken at 84.10 percent, and (2) process and sell as a finished product such as; butchered the chickens and use it in the production process of sausage at 15.90 percent. The total revenue was 161,149 baht per lot or an average of 146.37 baht per one chicken. Resulting in net profit of 65,685 baht per lot or an average profit of 59 baht per one chicken with a B/C ratio of 1.69. The comparison of both rearing methods showed that, free range rearing method was more profitable than the commercial rearing method, because of lower production costs and higher sales revenue. Therefore, government sectors should encourage farmers to raise Pradu Hang Dam chicken in by giving them production and marketing based knowledge in order to develop the potential farming of Pradu Hang Dam chicken to be sustainable. Key word : Pradu Hang Dam Chicken, Production, Potential Marketing, cost and return from the production
บทความ :