ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ปัจจัยสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอและเสื้อผ้าในจังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Key Success Factors of the Weaving and Clothing of Community Enterprise Group in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : มัทนา จุมปาทอง
ประเภท : Articles
Issue Date: 15-Feb-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอและเสื้อผ้าในจังหวัดเชียงใหม่รวมไปถึงการประเมินศักยภาพของกลุ่มดังกล่าว ข้อมูลกลุ่มที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลของกลุ่มที่ผ่านการประเมินจากกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี พ.ศ. 2560 ซึ่งแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มดี โดยเลือก 2 แห่งคือ กลุ่มทอผ้าบ้านหนองอาบช้างและกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านต้นโจ๊ก (คำซาว) 2.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปานกลาง โดยเลือก 2 แห่งคือ กลุ่มตัดเย็บผ้าหม้อฮ่อมบ้านสันป่าสักและกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปบ้านอารามใหม่ และ 3.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มต้องปรับปรุง โดยเลือก 2 แห่งคือ กลุ่มทอ ผ้าจกลายโบราณวัดบ้านไร่และกลุ่มทอผ้าตีนจกส่งออกบ้านไร่ วิธีการศึกษาใช้การเก็บข้อมูลกลุ่มจากการสัมภาษณ์คณะกรรมการและสมาชิกของกลุ่ม การประเมินศักยภาพได้ใช้แบบประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของกรมส่งเสริมการเกษตรมาทำการปรับปรุง ซึ่งประเมิน 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการเงินและบัญชี ด้านการมีส่วนร่วม ผลการศึกษาการบริหารจัดการ พบว่า ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มระดับดีคือ ผ้าทอลายมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ ผ้าทอแปรรูปเป็นชุดสวมใส่ของผู้ชายและผู้หญิง กระเป๋าและของใช้ในชีวิตประจำวัน มีการจำหน่ายสินค้าส่วนมากโดยการออกร้านจำหน่ายสินค้าของหน่วยงานภาครัฐ การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าภายในประเทศและต่างประเทศ ผลกำไรจากการประกอบการต่อปีของกลุ่มเฉลี่ยประมาณ 262,035 บาท ส่วนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มระดับปานกลางคือ ชุดสวมใส่ของผู้ชายและผู้หญิง ผ้าซิ่นตีนจกและของใช้ในชีวิตประจำวัน มีการจำหน่ายสินค้าส่วนมากโดยการออกร้านจำหน่ายสินค้าของหน่วยงานภาครัฐและการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าภายในประเทศ ผลกำไรจากการประกอบการต่อปีของกลุ่มเฉลี่ยประมาณ 9,140 บาท ขณะที่ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มระดับต้องปรับปรุงคือ ผ้าซิ่นตีนจกและทางกลุ่มได้จำหน่ายสินค้าให้ร้านค้าในชุมชนเท่านั้น กลุ่มเป็นเพียงผู้รับฝากสินค้าจากสมาชิกเพื่อไปขายจึงไม่มีผลกำไรจากการประกอบการ ประเมินศักยภาพ พบว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มระดับต้องปรับปรุงได้เปลี่ยนเป็นกลุ่มระดับปานกลาง จำนวน 1 แห่งคือ กลุ่มทอผ้าจกลายโบราณวัดบ้านไร่เพราะกลุ่มมีการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น มีผู้นำกลุ่มที่มีความสามารถและได้มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าของหน่วยงานภาครัฐ เมื่อเปรียบเทียบศักยภาพระหว่าง 3 กลุ่ม พบว่า ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จ คือ ต้องมีการบริหารจัดการกลุ่มในระดับดี มีผู้นำที่มีความรู้ความสามารถที่ได้รับการยอมรับจากสังคม มีการจัดอบรมให้แก่สมาชิก การผลิตสินค้าของกลุ่มจะต้องเป็นสินค้าให้มีเอกลักษณ์ ได้แก่ ลวดลายของผ้าทอ ใช้สีจากวัสดุธรรมชาติ ด้านการตลาดจะต้องมีช่องทางการขายหลายช่องทางมีการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์และการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ ด้านการเงินและบัญชีจะต้องมีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อให้ทราบต้นทุนที่แท้จริง รายได้ รายจ่ายและผลกำไร และด้านการมีส่วนร่วมสมาชิกกลุ่มจะต้องมีการให้ความร่วมมือในกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างดี คำสำคัญ: ปัจจัยสู่ความสำเร็จ วิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์ผ้าทอและเสื้อผ้า
Abstract: This study is objective on researching about the performance of the weaving and clothing of community enterprise group in Chiang Mai province including summarization on their capability and potential assessment. The analyzed information delicately collaborated and collected from the groups that were selected by Department of Cultural Extension (DOAE) of year 2017. The selected groups are divided into 3 categories; 1. Excellent Community Enterprise Group which is studied and selected from Textile and Cloth Weaving Community of Nhong Arb Chang and Career Promotion Group of Baan Ton Jok or Kham Sao 2. Moderate Community Enterprise Group which is studied Baan San Pa Sak Mauhom Tailor Group, and Ready to Wear Garments Group of Baan Aram Mai. 3. Improvement Required Community Enterprise Group which is selected Ancient Cotton Woven Cloth of Baan Raii Temple Group, and Export Woven Cloth of Baan Raii Community. The major method of collecting information is interviewing with the committees and members of each group. The evaluation is conducted from the adaptation of the assessment form of Department of Cultural Extension (DOAE). The assessment is assessed on 5 parts; production, administration, marketing, financial accounting, and member participation. The result shows that the product of Excellent Group are the Ikat Thai handmade cotton, ready to wear which is popular worn among both gentlemen and ladies available, hand bag and daily life product. The exhibition booths and promotion fairs are arranged and supported by the government departments. Customers’ orders come from both domestic and international. The mentioned group’s profit of yearly turnover is approximately 262,035 Baht. The popular products of the Moderate Group are lady and gentlemen wearing garments, Teen Jok hand woven cloth, and everyday use products. The products distribution is joining promotion fairs with government departments and distributed domestically. The yearly profit for this group is 9,140 Baht on average. Meanwhile, the product like Teen Jok hand woven cloth of the Improvement Required Group is only available in small local community shop. The group does only bring the members’ products to retail in the shop, therefore they do not gain the production profit or any turnover. The assessment finds that there is a group from the Improvement Required one that developed to be the Moderate, the Ancient Cotton Woven Cloth of Baan Raii Temple Group. The factors improving the group’s potential are; their brand new products production, talented leader, and joining with production fairs under government department control. The potential comparison among the 3 categories reveals that there are essential factors supporting the group’s success. The administration of the group should be standardized, organized together with well managed. The leader of the group must have wide vision with organization skills as well as is accepted by their group members and community. The seminar of educating updated knowledge should always be conducted. The products should be unique, such as their styles of pattern, organic material color. The marketing channels should be wide and various, and products can be delivered both online and export international. The financial accounting should be more accurate. And the members of each group should be more cooperate in group activities participation. Key word: Key success factors, Community enterprise, Woven fabrics and clothes
บทความ :
หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารกับ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทย
หัวข้อ (ENG): An Analysis of Relationship Between Communication Technology and Thailand’s Economic Growth
ผู้แต่ง : สุชัญญา เววา
ประเภท : Articles
Issue Date: 06-Jun-2018
บทคัดย่อ (THAI): การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยศึกษา ตลอดจนศึกษาถึงผลกระทบของตัวแปรทางเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่มีต่อเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลารายปี ประกอบด้วย ผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวม จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ จำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ปริมาณการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และจำนวนแรงงาน โดยแปลงค่าตัวแปรดังกล่าวให้อยู่ในรูปของอัตราการเจริญเติบโต ซึ่งมีขั้นตอนวิธีการศึกษาดังนี้ 1) การทดสอบความนิ่งของข้อมูล 2) การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยแบบจำลอง Vector Autoregression (VAR) 3) การวิเคราะห์ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความแปรปรวน และ 4) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแยกส่วน จากผลการทดสอบความนิ่งของข้อมูล โดยวิธี Augmented Dickey-Fuller Test (ADF) เมื่อพิจารณาแบบจำลองที่มีทั้งแนวโน้มเวลาและค่าคงที่ พบว่า ตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการศึกษามีลักษณะนิ่งอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ I(0) และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า แบบจำลอง VAR.lag2 คือ แบบจำลองที่เหมาะที่สุด โดยให้ผลความสัมพันธ์ว่า ผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวม ณ เวลา t ไม่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับตัวแปรทางเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร สำหรับของทดสอบอิทธิพลของตัวแปร พบว่า จำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ มีอิทธิพลให้ผลิตภาพปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นในระยะสั้น ในขณะที่ปริมาณการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและจำนวนแรงงาน มีอิทธิพลทำให้ผลิตภาพปัจจัยการผลิตปรับตัวลดลงในระยะยาว ทั้งนี้ตัวแปรทางเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารดังกล่าว จะทำให้เศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 5 ปี คำสำคัญ: เศรษฐกิจไทยและการติดต่อสื่อสาร ผลิตภาพการผลิตโดยรวม เวคเตอร์ออโตรีเกรชชัน
Abstract: The study of an analysis of Relationship between communication technology and Thailand’s economic growth aims to analyze relationship between variables of communication technology and Thailand’s economic growth as well as to examine impacts of those variables to the Thailand’s economic growth. In this study, data used are secondary data based on annual time. These data include the total factor productivity, the number of broadband internet users, the number of mobile cellular subscription, the quantity of Information Communication Technology (ICT) investment and the number of labor force. These data were then converted into variables as the growth rate. Hereafter the process study consist of: 1) unit root test, 2) variable correlation test in the frame of Vector Autoregression (VAR) model 3) impulse response function analysis, and 4) variance decomposition analysis. According to the unit root test approach by using Augmented Dickey-Fuller Test (ADF) in concentration with trend and intercept, the findings show that the stationary of all variables found at I(0) level of statistical significance. In addition, according to the correlation analysis, the results reveal that VAR.lag2 was the most appropriate model as it demonstrate that the relationships of the total factor productivity in the certain period did not correlate with communication technology. Regarding the test on the impact of communication technology variables to the economic growth, the findings assert that the number of mobile cellular subscription and the number of broadband Internet users brought along the short-term increase of the total factor productivity; in the meanwhile, ICT investment and the number of labor force brought along the long-term decrease of the total factor productivity. However, the results of this study pointed out that with the variables of communication technologies, the economy shall be improved to meet with equilibrium in the next 5 years. Key word: Thailand Economy and Communication, Total Factor Productivity, Vector Autoregression model
บทความ :