ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคในการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากลมหายใจในจังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Willingness to Pay of Consumers for Blood Glucose Meter by Breath in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : ไทยรัฐ บุญราศรี
ประเภท : Articles
Issue Date: 06-Nov-2019
บทคัดย่อ (THAI): ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคในการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากลมหายใจในจังวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินราคาหรือมูลค่าที่ผู้บริโภคเต็มใจที่จะจ่ายและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายในการเลือกซื้อเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากลมหายใจ โดยทำการเก็บแบบสอบถามจากผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 401 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประมาณความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood Estimate: MLE) ด้วยแบบจำลองโทบิท (Tobit Model) จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 40 – 59 ปี มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาต่ำกว่าอนุปริญญา/ปวส. ประกอบอาชีพอิสระ/รับจ้างทั่วไป ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,000 – 9,999 บาทต่อเดือน และใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าช่วงอายุ 12 – 59 ปี โดยมีโรคประจำตัวคือโรคเบาหวาน และความดัน ตามลำดับ และโรคประจำตัวของคนในครอบครัว คือ โรคเบาหวาน จากการประมาณ Maximum Log Likelihood Estimate ด้วยแบบจำลองโทบิท พบว่าทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างความเต็มใจจ่ายกับปัจจัยมีทิศทางสัมพันธ์กันดังนี้ ระดับรายได้ต่อเดือน, มีภาวะไขมันสูง, คนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน, และยอมรับการเสนอราคาขั้นแรก 1,200 บาท มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความเต็มใจจ่าย ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 ระดับการศึกษาปริญญาตรี และโรคความดัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความเต็มใจจ่าย ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนตัวแปรคนในครอบครัวเป็นโรคความดัน นั้นมีความสัมพันธ์เชิงลบ ต่อความเต็มใจจ่าย ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 โดยมีมูลค่าความเต็มใจจ่ายเฉลี่ยในการใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากลมหายใจในจังหวัดเชียงใหม่เท่ากับ 978.01 บาท/คน ดังนั้นการประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายที่ประเมินได้ สามารถนำไปอ้างอิงเพื่อกำหนดราคา กลุ่มผู้บริโภค และกลยุทธ์ทางการตลาดของเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากลมหายใจ คำสำคัญ: ความเต็มใจจ่าย, โรคเบาหวาน, เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้บริโภค, เชียงใหม่
Abstract: This research aims to evaluate and analyze the willingness to pay for blood glucose meter by breath. The information was collected from 401 samples of the consumer in Chiang Mai province, and the data using Maximum Likelihood Estimation (MLE) technique to analyzed with Tobit model. The study found that most of the respondents are female. The respondents’ ages are between 40 – 59 years old, and most are married. The level of education for most respondents is the lower associate degree or vocational certificate, and most are self-employed or general contractors. Most respondents receive a monthly income between 5,000 – 9,999 baht. The most respondent’s congenital disease are diabetes and hypertension. In the family congenital disease is diabetes. From the estimation of the Maximum Log-Likelihood Estimate by Tobit model It was found that the variable Monthly income levels, high cholesterol, family members with diabetes, and accepting a primary bid of 1,200 baht has a positive relationship to willingness to pay at 0.01significant level. The variables, bachelor's degree and hypertension have a positive relationship to the willingness to pay at 0.05 significant level. Variable hypertension in the family has a negative relationship to the willingness to pay at 0.01 significant level. The willingness to pay to the blood glucose meter by breath in Chiang Mai is 978.01 baht per person. Therefore, the evaluate and analyze of blood glucose meter by breath in Chiang Mai can be to assign a price decision policy, consumer group and marketing strategy. Keyword: Willingness to pay, Diabetes, blood glucose meter, consumers, Chiang Mai
บทความ :