ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมและปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการธนาคารออมสินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
หัวข้อ (ENG): Customer Behavior and Acceptance of Innovation Factors of Mobile Banking Users in Government Saving Bank at Mae Suai District, Chiang Rai Area
ผู้แต่ง : จีรนันท์ ต๊ะมอญ
ประเภท : Articles
Issue Date: 29-Sep-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการธนาคารออมสินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างการศึกษาจำนวน 300 คน ซึ่งเป็นลูกค้าที่ใช้บริการธนาคารออมสินในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ไคแสคว์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 30 – 39 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้อยู่ในช่วง 10,000 – 20,000 บาทต่อเดือน พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่เลือกใช้บริการเช็คยอดเงินและรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีเงินฝากและบัญชีสินเชื่อ รองลงมาคือบริการโอนเงินภายในบัญชีธนาคารและต่างธนาคาร ใช้งานแอพพลิเคชัน 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่จะใช้บริการทำธุรกรรมทางการเงินในช่วงเช้า เวลา 06.00 – 12.00 น. และใช้ในทุกช่วงเวลาของเดือน สำหรับปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ผู้ใช้บริการธนาคารออมสินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ พบว่า ปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมด้านการใช้งานผลิตภัณฑ์มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือด้านอุปกรณ์สื่อสาร และน้อยที่สุดคือด้านการรับรู้ความเสี่ยง ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมพบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวัตกรรมด้านการรับรู้คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับความรู้สึกได้รับประโยชน์จากการใช้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่าการใช้บริการหน้าเคาเตอร์ธนาคาร อายุมีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการประหยัดเวลาในการเดินทางมาทำธุรกรรม และอาชีพมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษาข้อมูลก่อนการเปิดใช้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ คำสำคัญ: พฤติกรรม, การยอมรับนวัตกรรม, ธนาคารออมสิน, โทรศัพท์เคลื่อนที่, แอพพลิเคชัน MyMo
Abstract: This research was aimed to study behavior and innovation acceptance of service user of Government Savings Bank through mobile phone in Mae Suai District, Chiang Rai Province. A questionnaire was used to collect data from 300 samples who were customers using services of Government Savings Bank in Mae Suai District, Chiang Rai Province. Statistics employed for data analysis included percentage, mean, standard deviation and Chi-square Analysis. The study result was found that 300 samples were mostly female with age range of 30-39 years and education of below bachelor degree. The majority ran their private business and had average monthly salary of 10,000- 20,000 Baht. Behavior of service use through mobile phone of participants were mostly about checking balance and movement of saving account and credit account followed by internal and external money transfer. They mostly used the application for 1-3 times/ week, did monetary transaction in the morning during 06.00-12.00 hrs. and used it in every period of a month. Innovation acceptance factors that affected behavior of service users of Government Savings Bank on mobile phone were found that innovation acceptance factor pertaining to product use was predominantly essential followed by communication device and risk perception as the least. The result of examining relation between personal factor and innovation acceptance factor indicated that gender was interrelated with innovation acceptance in term of product benefit perception as they felt that they gained more benefit from service use through mobile phone than bank counter service. Meanwhile, age was related to perception of product benefit in term of time saving in travelling to do transaction and occupation was related to information acknowledgement in term of doing study before using services through mobile phone. Key word: Customer Behavior, Innovation acceptance factors, Mobile Banking, Government Saving Bank, Application
บทความ :