ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกถือบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินของพนักงาน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลำพูน
หัวข้อ (ENG): Credit Card Holding Behavior of Northern Region Lamphun Industrial Estate’s Officers
ผู้แต่ง : อังคณา เขื่อนเพชร
ประเภท : Articles
Issue Date: 17-Jan-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและพฤติกรรมในการถือบัตรเครดิตรวมถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลำพูน โดยทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ถือบัตรเครดิตจากธนาคารพาณิชย์ 180 ราย และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์180 ราย รวมทั้งสิ้น 360 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การให้น้ำหนักแบบลิเคิร์ทสเกลและสถิติ t ในการทดสอบความแตกต่างของความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มข้างต้น ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ถือบัตรเครดิตจากธนาคารพาณิชย์เป็นชายและหญิงใกล้เคียงกัน อายุเฉลี่ย 32 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นโสด รายได้อยู่ระหว่าง 15,001-25,000 บาท/เดือน โดยทำงานกับบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในตำแหน่งฝ่ายผลิตและบัญชีการเงิน มีระยะเวลาทำงานเฉลี่ยกับบริษัทคนละ 8 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกถือบัตรเครดิตอันดับ 1 คือ ด้านสถาบันการเงินที่ออกบัตรมีความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดี รองลงมาคือด้านบุคลากรของสถาบันการเงินที่ออกบัตร ซึ่งประกอบด้วยผู้ใช้สามารถติดต่อพนักงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และพนักงานสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตได้ถูกต้อง ผลการศึกษาต่อมาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการถือบัตรธนาคารกรุงเทพและกสิกรไทย ได้รับวงเงินเฉลี่ยคนละ 32,500 บาท จำนวนเงินที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเฉลี่ยคนละ 6,500 บาท/เดือน ใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 5 ครั้ง/เดือน โดยนำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและเติมน้ำมันเชื้อเพลิง กลุ่มตัวอย่างชำระหนี้บัตรเครดิตเต็มจำนวนผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร เคาน์เตอร์เซอร์วิส กลุ่มตัวอย่างถือบัตรเครดิตเฉลี่ยคนละ 3 ใบ ใบ จากการศึกษายังพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรเครดิตอันดับ 1 คือการติดต่อพนักงานคอลเซ็นเตอร์ยาก ไม่สะดวก รองลงมาคืออัตราดอกเบี้ยการผิดนัดชำระ/การชำระล่าช้าสูง กลุ่มตัวอย่างที่ถือบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เป็นชายมากกว่าหญิง อายุเฉลี่ย 35 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่งงานแล้ว รายได้อยู่ระหว่าง 15,001-25,000 บาท/เดือน โดยทำงานกับบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในตำแหน่งฝ่ายผลิตและบัญชีการเงิน มีระยะเวลาทำงานเฉลี่ยกับบริษัทคนละ 8 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกถือบัตรเครดิตอันดับ 1 คือ ด้านสถาบันการเงินที่ออกบัตรมีความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดี รองลงมาคือด้านกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วยช่องทางการชำระเงินที่มีความหลากหลาย มีขั้นตอนการสมัครที่สะดวกและไม่ยุ่งยากและ ความรวดเร็วในการอนุมัติบัตรเครดิต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเลือกถือบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์และอิออนธนสินทรัพย์ ได้รับวงเงินเฉลี่ยคนละ 43,100 บาท จำนวนเงินที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเฉลี่ยคนละ 4,900 บาท/เดือน ใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 4 ครั้ง/เดือน โดยนำไปใช้เติมน้ำมันเชื้อเพลิงและเพื่อการอุปโภคบริโภค กลุ่มตัวอย่างชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ 10 % ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารและเคาน์เตอร์เซอร์วิส กลุ่มตัวอย่างถือบัตรเครดิตเฉลี่ยคนละ 5 ใบ จากการศึกษายังพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรเครดิตอันดับ 1 คืออัตราดอกเบี้ยการผิดนัดชำระ/การชำระล่าช้าสูง รองลงมาคือการติดต่อพนักงานคอลเซ็นเตอร์ยาก ไม่สะดวก กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกถือบัตรเครดิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5 ด้านคือด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ถือบัตรเครดิตจากธนาคารพาณิชย์ให้คะแนนมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ถือบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ส่วนด้านส่งเสริมการตลาดและด้านสถาบันการเงินของผู้ออกบัตรนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ถือบัตรจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ให้คะแนนมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ถือบัตรเครดิตจากธนาคารพาณิชย์ คำสำคัญ : ปัจจัย ส่วนประสมการตลาด บัตรเครดิต พฤติกรรม ทดสอบความแตกต่าง
Abstract: This study aims to examine the credit card holding determinants and behavior of Northern Region Lamphun Industrial Estate’s officers as well as to understand their problems related to the use of credit card. The needed information was obtained by means of questionnaire administered to 180 samples of holders of credit card issued by commercial bank and 180 samples of non-bank credit card holders, covering totally 360 observations for the investigation. The analysis was performed upon the results of descriptive statistics, Likert scale rating, and t-test for determining the difference in opinion between the two groups of samples. The study found that, in the group of commercial bank credit card holders, male and female are about equal in number. Typically, they are 32 years old on the average, bachelor’s degree graduate, single, earning 15,001 – 25,000 baht income per month, employed in an electronic components manufacturing company in the position of either production or accountancy officer, and have been working with the present company for about 8 years on the average. The most important factor determining their choice of credit card was found to be the reliability and the good corporate image of the credit card issuing company, followed by the factor of personnel of the credit card issuing company particularly whether or not they can be reached for 24-hour service and able to provide accurate credit card information. Most samples in this group reported holding credit cards issued by Bangkok Bank and Kasikorn Bank with averagely 32,500 baht credit limit per person, spending 6,500 baht per month per person on the average through credit card, and generally using credit card 5 times per month for buying consumption goods and paying gasoline cost. They usually made credit card payment in full amount at the bank or various counter service facilities. On the average, each person holds three credit cards. The most common problem related to the use of credit card was found to be difficulty and inconvenience calling the call center and the next most common complaint was the high interest rate for the delayed or default credit card payment. In the group of non-bank credit card holders, males are more prevalent than females. Typically, the samples can be described as 35 years old on the average, bachelor’s degree graduate, married, earning average monthly income in the range of 15.001 – 25,000 baht per person, working in an electronic components manufacturing company in the position of either production or accountancy officer, and having been employed in the present company for 8 years on the average. The predominant factor affecting the choice of credit card was found to be the reliability and the good corporate image of the credit card issuing company, followed by the factor of process comprising the attributes of the diverse channels for making credit card payment, the convenient and simple application procedure for getting a credit card, and the speedy credit card approval process. Most samples in this group hold Krungsri First Choice and Aeon Thana Sinsap credit cards with averagely 43,100 baht credit limit per person, spending on the average 4,900 baht through credit card per month per person, and using credit card 4 times per month for paying gasoline and consumption expenses. They generally pay the minimum payment due, 10% of the outstanding amount, at the bank or various counter service facilities. Most of them hold 5 credit cards per person on the average. Meanwhile, their most common problem related to the use of credit card is the high late-payment and no-payment fees, followed by the difficulty and inconvenience in using services through the call center. Both groups appeared to differ in their opinions at statistically significant levels in five aspects that would affect their choice of credit cards. Those holders of credit card issued by commercial banks assigned higher scores than did the non-bank credit card holders for the factors of product, personnel, and process. The non-bank credit card holders, however, gave higher scores to the factors of market promotion and financial institutional type of the credit card issuers than did the holders of credit cards issued by commercial banks. Keyword : Factor, Marketing mix, Credit Card, Behavior, Difference in Opinion
บทความ :