ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาลำพูน จังหวัดลำพูน
หัวข้อ (ENG): Consumer Behavior and Factors Effecting Non-Performing Assets of Government Housing Bank Lamphun Branch, Lamphun Province
ผู้แต่ง : สุรัชนา ถิ่นไทยงาม
ประเภท : Articles
Issue Date: 19-Sep-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อทรัพย์สินรอการขายประเภทต่างๆ และเพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมการซื้อทรัพย์รอการขาย ทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามและรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าที่ซื้อทรัพย์สินรอการขาย จำนวน 300 คน การวิเคราะห์ข้อมูลอาศัยเครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Chi-Square ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี มีสถานะภาพสมรส สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการและอาชีพธุรกิจส่วนตัวจำนวนเท่ากัน มีสถานที่ทำงานและสถานที่อยู่อาศัยในจังหวัดลำพูน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง15,000-30,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านพนักงาน ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านกระบวนการ ทุกปัจจัยมีผลต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขายในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านกระบวนการ ข้อมูลด้านพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการซื้อบ้านเดี่ยว ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การซื้อทรัพย์คือ ซื้อทรัพย์ธนาคารเพื่ออยู่อาศัยเอง มีระยะเวลาศึกษาข้อมูลก่อนซื้อประมาณ 1 - 3 เดือน ทราบแหล่งที่มาของข้อมูลทรัพย์สินรอการขาย จากเพื่อน/คนรู้จัก เลือกซื้อทรัพย์ในงานมหกรรมที่ธนาคารจัด โดยเลือกจากทำเลที่ตั้งเขตตัวเมืองลำพูน ที่ราคา 500,001- 1,000,000 บาท ทั้งนี้วิธีซื้อทรัพย์นั้น กลุ่มตัวอย่างเลือกผ่อนชำระเงินดาวน์เป็นงวดและราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือยื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร และส่วนใหญ่จะแนะนำให้บุคคลอื่นมาซื้อต่อ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square) โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% หรือ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางการตลาดพบว่า ด้านปัจจัยส่วนบุคล เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานที่ทำงาน สถานที่อยู่อาศัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อทรัพย์สินรอการขาย ด้านปัจจัยทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด พนักงาน ลักษณะทางกายภาพและกระบวนการ มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อทรัพย์สินรอการขาย คำสำคัญ: พฤติกรรม, ปัจจัย, การซื้อ, ทรัพย์สินรอการขาย, ธนาคารอาคารสงเคราะห์
Abstract: The objectives of this independent study were to investigate the personal and marketing factors affecting the purchase of various foreclosed properties and to explore the personal attributes and buying behavior of various foreclosed properties. The study was conducted by using 300 questionnaires and data collected from customers who purchased foreclosed properties. Data analysis was based on statistical tools such as frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and Chi-Square. From the results of the study on personal factors of the sample group, it was found that the majority was male, between 31-40 years old, married, held an undergraduate degree, was governmental employee and personal business owner, worked and lived in Lamphun province. The last part is the average monthly income was mostly between 15,000-30,000 baht. From the results of the marketing mix study on the purchase of foreclosed properties of the Government Housing Bank, Lamphun branch, Lamphun province, it was found that product, price, place, promotion, people, physical evidence, and process factors all influenced the decision to buy foreclosed properties at a high level. The most influential factor in decision making was the process. In the aspect of behavioral data of the sample, it was found that the majority was interested in buying single detached houses. This is in line with the purpose of buying property i.e. buying a property for residence. The majority conducted studies for 1-3 months before buying. The majority had received the information from friends / acquaintances. The majority bought the property at events organized by the bank. The majority bought the property in Lamphun city. The purchase price of the sample was mainly 500,001- 1,000,000 baht. The majority chose to make installments on the down payment and apply for a loan for the remaining price from bank. Additionally the majority would recommend other to buy the property from them. The chi-square test was conducted by setting the confidence level at 95% or at a statistical significance level of 0.05. The aspects of personal factors and in market factors, it was found that gender, age, marital status, education, occupation, workplace, place of residence, average income per month were related to buying behavior of foreclosed properties. The aspects of marketing factors: product, price, place, promotion, people, physical evidence and process were related to buying foreclosed properties. Key word: Behavior, Factor, Purchase, Non-Performing Assets, Government Housing Bank
บทความ :