ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ผลกระทบต่อชุมชนจากการสร้างอุโมงค์ผันน้ำตามโครงการเพิ่มปริมาณน้ำใน อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Community Impacts from the Construction of Water Diversion Tunnel in the Project to Increase the Water Volume of the Mae Kuang Udom Tara Dam, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : วิริญกานต์ อุดดีวงค์
ประเภท : Articles
Issue Date: 12-Mar-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชน และผลกระทบที่มีต่อชุมชน รวมไปถึงการศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างอุโมงค์ผันน้ำตามโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน และครัวเรือนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 3 ตำบล คือ ตำบลแม่หอพระ ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง และตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลละ 100 ครัวเรือน รวม 300 ครัวเรือน การวิเคราะห์ผลกระทบจะเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบต่อชุมชนโดยรวม และผลกระทบต่อครัวเรือนในชุมชน การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตเป็นการวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในด้านเศรษฐกิจและสังคม ผลการศึกษาพื้นที่ตำบลแม่หอพระ พบว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและเกษตรกร โดยทำนาและปลูกข้าวโพด มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 10,623 บาท เมื่อมีการก่อสร้างอุโมงค์พบว่าร้อยละ 13 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพมาทำงานในอุโมงค์ โดยทำหน้าที่ขนหินและเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย การเปลี่ยนมาทำงานในอุโมงค์ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะทางเศรษฐกิจ ส่วนผลกระทบต่อชุมชนโดยรวมพบว่า การสร้างอุโมงค์ส่งผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมโดยมีการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าในชุมชน ทำลายป่าซับน้ำที่เป็นแหล่งต้นน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตพบว่าคนในชุมชนคิดว่าการสร้างอุโมงค์จะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับคุณภาพชีวิต ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างอุโมงค์ของคนในชุมชนพบว่า คนในชุมชนรู้สึกเฉยๆ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการไม่ทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากการสร้างอุโมงค์แล้วเสร็จ ผลการศึกษาพื้นที่ตำบลลวงเหนือ พบว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและมีกิจการส่วนตัว มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 12,474 บาท เมื่อมีการก่อสร้างอุโมงค์พบว่าร้อยละ 38 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพมาทำงานในอุโมงค์ โดยทำหน้าที่หน้าที่ปั๊มปูน คนขับรถ แม่บ้าน วิศวกรเครื่องกล คนขับรถขนหิน ฝ่ายควบคุมคุณภาพ (QC) เจาะอุโมงค์ ช่าง นักธรณี พนักงานธุรการ เป็นต้นการเปลี่ยนมาทำงานในอุโมงค์ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะทางเศรษฐกิจ ส่วนผลกระทบต่อชุมชนโดยรวมพบว่า การสร้างอุโมงค์ส่งผลกระทบในด้าน มลภาวะทางอากาศ การก่อสร้างส่งผลให้เกิดปริมาณฝุ่นละอองสูง ปัญหาถนนในชุมชนเป็นหลุมเป็นบ่อจากรถบรรทุกที่บรรทุกของหนักผ่าน และผลกระทบด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่ชุมชนเป็นจำนวนมาก การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตพบว่าคนในชุมชนคิดว่าการสร้างอุโมงค์จะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับคุณภาพชีวิต ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างอุโมงค์ของคนในชุมชนพบว่า คนในชุมชนเห็นด้วยกับการสร้างอุโมงค์ เนื่องจากการสร้างอุโมงค์ก่อให้เกิดสร้างงานสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน อีกทั้งทำให้คนส่วนใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน มีน้ำใช้เพียงพอเพื่อการอุปโภคบริโภค ผลการศึกษาพื้นที่ตำบลบ้านเป้า พบว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและเกษตรกร โดยทำนาและปลูกข้าวโพด มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 9,029 บาท เมื่อมีการก่อสร้างอุโมงค์พบว่าร้อยละ 4 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพมาทำงานในอุโมงค์ โดยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย การเปลี่ยนมาทำงานในอุโมงค์ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะทางเศรษฐกิจ ส่วนผลกระทบต่อชุมชนโดยรวมพบว่า การสร้างอุโมงค์ส่งผลกระทบในการเคลื่อนย้ายแรงงานของคนในชุมชนบางส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพเข้าไปทำงานในอุโมงค์ อาจเกิดปัญหาภาวะว่างงานหลังโครงการสร้างอุโมงค์แล้วเสร็จ การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตพบว่าคนในชุมชนคิดว่าการสร้างอุโมงค์จะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับคุณภาพชีวิต ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างอุโมงค์ของคนในชุมชนพบว่า คนในชุมชนรู้สึกเฉย ๆ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการไม่ทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากการสร้างอุโมงค์แล้วเสร็จ คำสำคัญ : ผลกระทบ เศรษฐกิจและสังคม อุโมงค์ผันน้ำ เขื่อนแม่กวง คุณภาพชีวิต
Abstract: The purposes of this research are to study the living condition of communities, and the quality of life of people affected from water diversion tunnel in the Project to Increase the Water Volume of the Mae Kuang Udom Tara Dam, Chiang Mai Province under Royal Irrigation Department and Ministry of Agriculture and Cooperatives. The information that presented in this research are collected from the interviews with communities’ leaders and affected households in 3 Subdistricts; Mae Hor Phra and Baan Pao in Mae Taeng District and Doi Luang in Doisaket District, Chiang Mai province. There were 100 households each or 300 households in total. The impact analysis was focused on the overall effect on the communities and individual household. The living condition analysis was focused on social and economic aspects. The result of Mae Hor Pra Subdistrict found that most of the local people earn their living by working as employees or doing agriculture such as rice and corn growing. The average monthly income of each household is approximately about 10,623 Baht. When the tunnel had built, there was only 13 percentages of them that shift their careers to work as workers in the projects. Those small percentages of people work as workers, such as stone carriers and security guards which did not change the social economic condition. For the overall effect on the communities, it found that the tunnel had an environmental impacts on forest conditions in the communities. The forest which was the source of natural agriculture water was destroyed. The analysis of living condition showed that the local people did not expect the tunnel building would have any impact on their living. This was because they had not known the benefit of the tunnel after it was successfully built. The result of Luang Nua Subdistrict found that most of the local people were workers, or running their own businesses. Their monthly income is about 12,474 baht. There is only 38 percentages of the local people that change their careers to work with the projects such as, cement worker, driver, housekeeper, mechanical engineer, stone driver, quality control assistant, tunnel technician, geologist, and administrator. The career changing of the local did not have any impact on their economic condition. The general effect on the community was mainly about air pollution because the construction created more dust. The roads in community were damaged because of the heavy weight of transport trucks, and the excess influx of workers from outside areas. The analysis of living condition found that the tunnel building had not changed their living condition. The local people’s opinion toward the tunnel building was positive since they consider the project might bring up more job opportunity for their community members. They also think that there would be more water supplies for people living in both Chiang Mai and Lamphun provinces. The result of Tambon Baan Pao District found that most of the villagers live their lives on agriculture, rice and corn cultivation. The monthly income of each household was 9,029 Baht on average. There were only 4 percentages of the people changing their careers to work with the project, as security guards. The career changing of those villagers did not have any effect on the economic status. However, the effect on community was job mobility. Those who worked for the project would be unemployed after the project was finished. The study of living condition revealed that the local people agreed that there was no impact on this issue. This may be because they did not know the benefits of the project. Keywords: Impacts, Economic and Social, Tunnel, Mae Kuang Udom Tara Dam, Quality of life
บทความ :