ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมการออมและรูปแบบการออมของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Saving Behavior and Saving Patterns of the Elders in Mueang District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : พรพนา สุทธิบุตร
ประเภท : Articles
Issue Date: 06-Nov-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการออมและรูปแบบการออมที่มีผลต่อปริมาณการออมของผู้สูงอายุในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาถึงความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมและการออมลักษณะต่าง ๆ ของผู้สูงอายุ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสอบถามข้อมูลลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการออม ความพึงพอใจในการออม แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรัฐบาลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินนโยบายในด้านการออม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการออมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีจำนวนเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในยามชราภาพและเจ็บป่วย ในส่วนสถานบันการเงินหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับความต้องการเกี่ยวกับการออมของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาลักษณะข้อมูลทั่วไป พบว่า ผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายมีอายุอยู่ระหว่าง 60 - 65 ปี ระดับการศึกษาที่ระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่จะเกษียณอายุราชการ มีสถานภาพสมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 10,000 - 20,000 บาท และมีวัตถุประสงค์ของการออมเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินหรือยามเจ็บป่วย รูปแบบการออมที่ผู้สูงอายุเลือกมากที่สุดคือรูปแบบการออมแบบฝากธนาคารหรือสถาบันการเงิน มีระยะเวลาในการเก็บออมนานมากกว่า 1 ปี โดยผู้สูงอายุมีระดับความพึงพอใจด้านการออมในระดับมาก ด้านสุขภาพร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง ด้านจิตใจอยู่ในระดับมาก และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับน้อย จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุกับรูปแบบการออม พบว่า เพศหญิงจะให้ความสำคัญกับรูปแบบการออมมากกว่าเพศชาย ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 - 65 ปี ให้ความสำคัญกับรูปแบบการออมมากกว่าผู้ที่มีอายุ 66 - 70 ปี และผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยเกษียณอายุราชการจะให้ความสำคัญกับรูปแบบการออมมากกว่าสถานภาพการทำงานอื่นๆ โดยให้ความสำคัญกับรูปแบบการออมในรูปของการฝากธนาคาร อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุกับปริมาณการออม พบว่า ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีให้ความสำคัญกับปริมาณเงินออมมากกว่าระดับการศึกษาอื่น โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะให้ความสำคัญกับปริมาณเงินออมระหว่าง 1,000 - 5,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ : การออม ผู้สูงอายุ พฤติกรรม รูปแบบการออม ความพึงพอใจการออม
Abstract: The objectives of this study was to find out saving behavior of the elders as well as to explore factor of economy social and saving patterns affecting to saving volume of any patterns and to study was satisfaction quality of elders in Mueang District, Chiang Mai Province and to know behavior and many saving patterns of elders. The data used in this study was taken primary data and used questionnaires for data collection form 400 elders in Mueang District, Chiang Mai Province include general information, saving behavior, satisfaction on saving to analysis used descriptive statistics. State agency or government can use data from research to plan saving patterns policy and to plan saving policy for elders understand to saving patterns increasing with government and they are have money when old and to be sick. Moreover, State agency or company can use data for development product patterns was conform demand to saving of lifestyle elders and recreation activity was suitably difference. The finding was as follow the most elders to answer questionnaires were female over male have between 60 to 65 years old at bachelor’s degree and retire and average income per month was 10,000 to 20,000 baht as well. Meanwhile, The objective of saving for spends in emergency and to be sick. The most saving patterns of elders were selected from bank and or financial institution and saving duration more than 1 year. Elder have satisfaction on saving was highest, health was moderate and a lowest of social and environment. The results of general information of elder with saving patterns show that female more importance on saving patterns than male. Elder ranging from 60 to 65 year old more importance on saving patterns than ranging from 66 to 70 year old and retire elder more importance on saving patterns than others status working and importance on saving patterns was bank saving at a significance level at 0.05. The results of general information of elder show that bachelor’s degree more importance on saving quantity than others education. The most of elder more importance on saving quantity than ranging from 1,000 to 5,000 baht at a significance level at 0.05. Keyword: Saving, Elders, Behavior, Saving Pattern, Satisfaction on Saving
บทความ :