ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพแรงงานของประเทศไทย
หัวข้อ (ENG): Factors Affecting Labor Productivity of Thailand
ผู้แต่ง : ปวีณา ศิริตัน
ประเภท : Articles
Issue Date: 11-Sep-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพแรงงานของประเทศไทย ปัจจัยที่นำมาศึกษาได้แก่ จำนวนผู้มีงานทำที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนผู้มีงานทำที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวนประชากรต่อบุคลากรทางการแพทย์ 1 คน ค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายด้านพัฒนาการศึกษาของรัฐบาล และค่าใช้จ่ายด้านพัฒนาสาธารณสุขของรัฐบาล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลช่วงยาว (Panel data) ในระดับภาคแบ่งออกเป็น 5 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 – 2558 รวมทั้งสิ้น 12 ปี วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบพาแนลยูนิทรูท การทดสอบโคอินทิเกรชัน และการประมาณค่าแบบจำลองปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพแรงงานของประเทศไทย ด้วยวิธี OLS DOLS และGMM ผลศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลิตภาพแรงงานมากที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาของรัฐบาล รองลงมาคือ จำนวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยเมื่อค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาของรัฐบาล และจำนวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน เปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 จะส่งผลต่อผลิตภาพแรงงานของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 0.028 และ 0.015 ตามลำดับ ในทิศทางเดียวกัน คำสำคัญ: ปัจจัย / ผลิตภาพแรงงาน / แรงงาน / ผลิตภาพ / ประเทศไทย
Abstract: This research aims at examining the factors involved with the productivity of the workforce in Thailand. The factors in this study include the number of employed high-school graduates, the number of employed undergraduates, the number of employees who receive skill development training, the number of people per medical officer, the government expense regarding research and development, the government expense regarding education development, and the government expense regarding public health development. The data used in this study is the panel data from 5 regions including the Central, the North, the South, the Southeast, and Bangkok, from 2004 to 2015 for a total of 12 years. Data analysis involves Panel Unit Root Tests, Cointegration method, and the estimation from the model of the factors involved with the productivity of the workforce in Thailand using OLS, DOLS, and GMM. The findings indicate that the most influential factors are the government expense regarding research and development, followed by the number of employees who receive skill development training. It is found that when the percentage of the government expense regarding research and development and the number of employees who receives skill development training changes by 1 percent, the productivity of the workforce in Thailand will be affected by 0.028 and 0.015 percent respectively. Key word: Factors / Labor Productivity / Labor / Productivity / Thailand
บทความ :