ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนขยายระบบประปาหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่: การสำรวจในระดับหมู่บ้านและการขยายผล
หัวข้อ (ENG): Cost Benefit Analysis of Village Water Supply in Chiang Mai Province: Survey Result from a Village and its Scale Up
ผู้แต่ง : ปวีณา เงินถา
ประเภท : Articles
Issue Date: 25-Jul-2018
บทคัดย่อ (THAI): การค้นคว้าแบบอิสระเรื่องต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนขยายระบบประปาหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ การสำรวจในระดับหมู่บ้านและการขยายผล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของโครงการประปาหมู่บ้านบ้านป่าก้าง ตำบลสันป่าเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาการขยายผลของโครงการประปาหมู่บ้าน โดยใช้ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราส่วนผลตอบแทนภายใน (IRR) และสัดส่วนผลประโยชน์ต่อทุน (B/C Ratio) ของโครงการเป็นเกณฑ์ในการชี้วัด โดยกำหนดอายุโครงการ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของโครงการประปาหมู่บ้าน พบว่า รายได้ค่าขายน้ำประปา รายได้ค่าประกันมิเตอร์ ปรากฏว่าที่ระดับราคาค่าน้ำประปาหน่วยละ 5 บาท 8 บาท และ 10.20 บาท ให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มทุน แต่ระดับราคาค่าน้ำประปาหน่วยละ 10.75 บาท ให้ผลตอบแทนที่คุ้มทุน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 1,811.25 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ ร้อยละ 5 สัดส่วนผลประโยชน์ต่อทุน (B/C Ratio) เท่ากับ 1 ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 12.40 ปี ผลการศึกษาการขยายผลของโครงการประปาหมู่บ้าน (1) ความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงน้ำดื่มชุมชน พบว่า รายได้ค่าขายน้ำ โดยจำหน่ายลังละ 28 บาท ให้ผลตอบแทนที่คุ้มทุน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 581,616.72 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ ร้อยละ 16 สัดส่วนผลประโยชน์ต่อทุน (B/C Ratio) เท่ากับ 1.05 และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 3 ปี (2) ผลประโยชน์ของโครงการในด้านการทดแทนแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคเดิมของหมู่บ้าน พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 90.27 มีความต้องการใช้น้ำประปาหมู่บ้านบ้านป่าก้าง สำหรับน้ำเพื่อการบริโภค ครัวเรือนส่วนใหญ่ ยอมรับและเลือกที่จะบริโภคน้ำดื่มชุมชนของหมู่บ้านบ้านป่าก้าง คิดเป็นร้อยละ 86.63 จากผลการศึกษาสามารถนำอัตราค่าน้ำประปาที่คุ้มทุนไปใช้เป็นอัตราค่าน้ำประปาหมู่บ้านได้ เพื่อก่อให้เกิดเกิดความยั่งยืนของโครงการและลดการพึ่งพาจากภาครัฐ และในการตั้งราคาค่าน้ำประปาที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำบาดาล ก่อให้เกิดพฤติกรรมการประหยัดน้ำในการใช้อุปโภคบริโภค สามารถยืดอายุการใช้งานของแหล่งน้ำบาดาลที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เพียงพอต่อความต้องการในอนาคตและเกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติน้อยที่สุด คำสำคัญ: ต้นทุน ผลตอบแทน น้ำประปาหมู่บ้าน น้ำดื่ม เชียงใหม่
Abstract: The Independent Study aimed to study on the cost benefit analysis in the water supply project of Baan Pa Kang village, Sansai district, Chiang Mai province which the Net Present Value (NPV), Internal Rate of Return (IRR) and Benefit-Cost ratio (B/C ratio) were calculated for 20 years investment (A.D. 2018 - 2037). The result showed that water charge rate of 5 Bath, 8 Bath and 10.20 Bath /unit was not economically feasible but the analysis showed that water charge rate of 10.75 Bath /unit Net Present Value (NPV) is 1,811.25 Baht , Internal Rate of Return (IRR) is 5 % Benefit-Cost ratio (B/C ratio) is 1.00, and the payback period to 12.40 years. The result of its scale up (1) Drinking water manufacturing project showed that drinking water charge rate of 28 Bath /pack Net Present Value (NPV) is 581,616.72 Baht , Internal Rate of Return (IRR) is 16 % Benefit-Cost ratio (B/C ratio) is 1.05, and the payback period to 3 years. (2) The benefits of the project in replacing the existing water supply of the village result is that most of the 90.27% had water supply demand at Baan Pa Kang Village. For Drinking water most households Recognize and choose to consume Drinking water manufacturing project of the wilderness village is 86.63% The result of this study is that the rate of water supply used to breakeven can be used as the water tariff of the village. To achieve the sustainability of the project and reduce the dependence of the government. The proper pricing of water will help the public to recognize the groundwater situation. Promote water saving behavior in consumption. It can prolong the life of groundwater resources that are limited to the needs of the future and minimize the impact of natural resources. Keywords: Cost, Yield, Village water supply, Drinking Water, Chiang Mai
บทความ :