ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุ
หัวข้อ (ENG): Factors Affecting Saving Behavior of Elder People
ผู้แต่ง : ประภัสสร คำเขื่อน
ประเภท : Articles
Issue Date: 31-Dec-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (convenience sampling) จากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง จำนวน 361 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิต (Logit Model) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 60 – 70 ปี และผู้ตอบส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับประถมศึกษา เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านสังคม พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีสมาชิกอาศัยอยู่ด้วยในครัวเรือน 1- 2 คน และผู้สูงอายุที่มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนใหญ่บุตรจะอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน สำหรับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 42.9 มีรายได้มาจากเบี้ยยังชีพจากภาครัฐ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 3,000 บาท ด้านรายจ่ายของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.7 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 3,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ด้านหนี้สินของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 ไม่มีหนี้สิน และด้านการออมของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 56.0 มีการออมเงิน และส่วนใหญ่มีรูปแบบการออมคือ ใช้จ่ายเงินก่อนที่เหลือค่อยเก็บออมทีหลัง โดยอายุที่เริ่มต้นเก็บออมเงินส่วนใหญ่ร้อยละ 48.0 เริ่มต้นเก็บออมเงินในช่วงอายุระหว่าง 41 – 50 ปี ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบจำลองโลจิต พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออม ประกอบด้วย 7 ปัจจัย คือ คือ ปัจจัยด้านการทำงาน รายได้ของผู้สูงอายุ รายจ่ายของผู้สูงอายุ หนี้สิน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมในเชิงบวก ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการทำงาน รายได้ของผู้สูงอายุ หนี้สิน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมในเชิงลบ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือปัจจัยด้านรายจ่ายของผู้สูงอายุ และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และเมื่อพิจารณาจากค่า Marginal Effect พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมเงินหรือไม่ออมเงินมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านหนี้สินของผู้สูงอายุ คำสำคัญ : พฤติกรรมการออม ผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (convenience sampling) จากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง จำนวน 361 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิต (Logit Model) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 60 – 70 ปี และผู้ตอบส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับประถมศึกษา เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านสังคม พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีสมาชิกอาศัยอยู่ด้วยในครัวเรือน 1- 2 คน และผู้สูงอายุที่มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนใหญ่บุตรจะอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน สำหรับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 42.9 มีรายได้มาจากเบี้ยยังชีพจากภาครัฐ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 3,000 บาท ด้านรายจ่ายของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.7 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 3,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ด้านหนี้สินของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 ไม่มีหนี้สิน และด้านการออมของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 56.0 มีการออมเงิน และส่วนใหญ่มีรูปแบบการออมคือ ใช้จ่ายเงินก่อนที่เหลือค่อยเก็บออมทีหลัง โดยอายุที่เริ่มต้นเก็บออมเงินส่วนใหญ่ร้อยละ 48.0 เริ่มต้นเก็บออมเงินในช่วงอายุระหว่าง 41 – 50 ปี ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบจำลองโลจิต พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออม ประกอบด้วย 7 ปัจจัย คือ คือ ปัจจัยด้านการทำงาน รายได้ของผู้สูงอายุ รายจ่ายของผู้สูงอายุ หนี้สิน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมในเชิงบวก ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการทำงาน รายได้ของผู้สูงอายุ หนี้สิน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมในเชิงลบ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือปัจจัยด้านรายจ่ายของผู้สูงอายุ และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และเมื่อพิจารณาจากค่า Marginal Effect พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมเงินหรือไม่ออมเงินมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านหนี้สินของผู้สูงอายุ คำสำคัญ : พฤติกรรมการออม ผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง
บทความ :