ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ความเต็มใจจ่ายสำหรับผักอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Willingness to Pay for Certificated Organic Vegetables of the Consumers in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : เบญจพร ไชยนาม
ประเภท : Articles
Issue Date: 03-Jul-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ทั่วไปของผักอินทรีย์ รวมถึงการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย และศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับผักอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ ทำการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 400 คน ที่ซื้อผักอินทรีย์จากซุปเปอร์มาร์เก็ตในจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นนำมาอธิบายผลในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ค่าความเต็มใจจ่ายด้วยแบบจำลองโทบิต ผลการศึกษาพบว่าในปัจจุบันสถานการณ์การผลิตเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทยปี 2559 พบว่าพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ในปี 2558 มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 21 โดยมีร้อยละการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า สำหรับสถานการณ์การตลาดของเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยพบว่า ตลาดการส่งออกมีมูลค่ามากกว่าตลาดภายในประเทศ และในส่วนของการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีการจัดทำขึ้นโดยภาครัฐและเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การรับรองสินค้าที่ผลิตและแปรรูปตามกระบวนการเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีความตระหนักในเรื่องคุณภาพมาตรฐานของสินค้ามากขึ้น และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ไปยังตลาดต่างประเทศนั้น ผู้ผลิตจำเป็นต้องได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ จากการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 31-40 ปี มีสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน มีระดับรายได้อยู่ในช่วง 10,001-20,000 บาท ต่อเดือน มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า และส่วนใหญ่เคยรับทราบเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มาก่อน จากการสำรวจพฤติกรรมการซื้อผักอินทรีย์ที่มีตรารับรองมาตรฐานของผู้บริโภค พบว่าส่วนใหญ่เลือกซื้อผักอินทรีย์จากซุปเปอร์มาร์เก็ต มีการพิจารณาเลือกซื้อจากตรารับรองมาตรฐานเป็นอันดับแรก ตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เคยเห็นและเคยซื้อ คือตราผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (Organic Thailand) ในด้านความเต็มใจจ่ายพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเต็มใจจ่ายส่วนเพิ่มสำหรับผักอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอยู่ในช่วง 11-20 บาท ปัจจัยที่มีผลต่อระดับราคาที่เต็มใจจ่าย ได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความเต็มใจจ่ายที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 การศึกษา มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความเต็มใจจ่ายที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และการรับทราบของผู้บริโภคเกี่ยวกับมาตรฐานผักอินทรีย์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความเต็มใจจ่ายที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคมีความเต็มใจจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุดสำหรับผักกรีนโอ๊คอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เท่ากับ 21.20 บาท ต่อแพ็ค (150 กรัม) มีความเต็มใจจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุดสำหรับผักเรดโอ๊คอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เท่ากับ 21.18 บาท ต่อแพ็ค (150 กรัม) มีความเต็มใจจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุดสำหรับผักคอส อินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเท่ากับ 19.02 บาท ต่อแพ็ค (150 กรัม) มีความเต็มใจจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุดสำหรับผักฟิลเล่อินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เท่ากับ 18.93 บาท ต่อแพ็ค (150 กรัม) และมีความเต็มใจจ่ายส่วนต่างราคาสูงสุดสำหรับผักบัตเตอร์เฮดอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เท่ากับ 24.77 บาท ต่อแพ็ค (150 กรัม) คำสำคัญ: ความเต็มใจจ่าย ผักอินทรีย์ การรับรองมาตรฐาน ผู้บริโภค เชียงใหม่
Abstract: This research aimed to study the general situations of organic vegetables including the certification of organic farming in Thailand and customers’ willingness to pay for certified organic vegetables in Chiang Mai. The primary data was collected by interviewing the sample of 400 customers who purchased organic vegetables from supermarkets in Chiang Mai province. Then, the data was analyzed by using descriptive statistics and Tobit Model for willingness to pay. The results showed that the current situation of organic farming production in Thailand has been continuously growing. Based on the situation of organic agriculture in Thailand in 2016, the area of organic production in 2015 has grown by 21 percent, with the percentage increase from the previous year. The marketing situation of organic farming in Thailand represented that total values of exports were greater than the total values of domestic markets. The certification of organic farming standards in Thailand is organized by public and private sectors. The objective is to certify the products produced and processed with organic farming process. Because the exporting of organic products need to be certificated by reliable organization. According to the survey of the sample, customers in Chiang Mai province it could be seen that the majority of the customers were in the age group of 31-40 years old, having 3-4 household members with the incomes in the range of 10,001-20,000 baht per month, educated bachelor's degrees or higher levels and have been aware of the certification of organic farming. The survey of purchasing behavior of the customers to certified organic vegetables from the supermarkets indicated that the products with organic certified badges are the first choices to be selected by the customers. Organic Thailand was the common organic certified badge that most of customers have seen and purchased. The study of willingness to pay showed that most customers were willing to pay extra for certified organic vegetables in the range of 11 - 20 baht. Factors affecting willingness to pay price levels were Age which correlated in the same direction as willingness to pay at the significant level of 0.01, Education correlated in the same direction to willingness to pay at the significant level of 0.05, and Customer Perception to organic vegetables standard correlated in the same direction as willingness to pay at the significant level of 0.01. It was found that the customers were willing to pay the highest extra as of 21.20 baht per pack (150 grams) for certified organic Green Oak Lettuce; 21.18 baht per pack (150 grams) for certified organic Red Oak Lettuce; 19.02 baht per pack (150 grams) for certified organic Cos Lettuce; 18.93 baht per pack (150 grams) for Fillie Iceburg Lettuce; and 24.77 baht per pack (150 grams)for certified organic Butterhead Lettuce. Keyword: Willingness to pay, Organic vegetable, Certified, Consumer, Chiang Mai
บทความ :