ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของลูกค้าธนาคารออมสินเขตลำพูน
หัวข้อ (ENG): Factors Causing Non-Performing Loans of Government Savings Bank’s Customers, Lamphun Zonal
ผู้แต่ง : ชไมพร เดชะกุล
ประเภท : Articles
Issue Date: 25-Jan-2018
บทคัดย่อ (THAI): บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการใช้สินเชื่อ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ NPL ธนาคารออมสินเขตลำพูน โดยทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างลูกหนี้ NPL ในจังหวัดลำพูน 314 ราย และกลุ่มตัวอย่างลูกหนี้ NPL ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 86 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การให้น้ำหนักความสำคัญของปัจจัยโดยใช้ลิเคิทสเกล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างในจังหวัดลำพูนส่วนใหญ่เป็นหญิงที่สมรสแล้ว อายุเฉลี่ย 43 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการ รายได้เฉลี่ยไม่เกิน 15,000 บาท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้สินเชื่อธนาคารประชาชนมากที่สุด รองลงมาเป็นสินเชื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ โดยได้รับวงเงินกู้เฉลี่ยรายละ 579,306 บาท ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้เฉลี่ย 11 ปี กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เฉลี่ยรายละ 484,284 บาท ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อันดับที่ 1 คือด้านลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้มีภาระหนี้สินจำนวนมากทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ อันดับที่ 2 คือ ด้านธนาคารได้แก่ การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทำให้เงินงวดปรับเพิ่มขึ้นและลูกหนี้ต้องรับภาระการผ่อนชำระหนี้เพิ่ม กลุ่มตัวอย่างลูกหนี้ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี(ก่อนฟ้องศาล) เลือกเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารออมสินโดยวิธีการขยายระยะเวลาชำระหนี้หรือการขยายระยะเวลาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากที่สุด โดยเงินงวดผ่อนชำระใหม่เฉลี่ยคนละ 3,412 บาทต่อเดือน ส่วนลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดีแล้ว(หลังคำพิพากษาของศาล) เลือกเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารออมสินโดยวิธีการผ่อนผันชำระหนี้มากที่สุด โดยเงินงวดผ่อนชำระใหม่เฉลี่ยคนละ 3,111 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่เป็นหญิงที่สมรสแล้ว อายุเฉลี่ย 45 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการ รายได้เฉลี่ยไม่เกิน 15,000 บาท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้สินเชื่อธนาคารประชาชนมากที่สุด รองลงมาเป็นสินเชื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ โดยได้รับวงเงินกู้เฉลี่ยรายละ 546,465 บาท ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้เฉลี่ย 10 ปี กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เฉลี่ยรายละ 435,943 บาท ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อันดับที่ 1 คือด้านลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้มีภาระหนี้สินจำนวนมากทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ อันดับที่ 2 คือ ด้านธนาคารได้แก่ การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทำให้เงินงวดปรับเพิ่มขึ้นและลูกหนี้ต้องรับภาระการผ่อนชำระหนี้เพิ่มสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างลูกหนี้ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี(ก่อนฟ้องศาล) เลือกเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารออมสินโดยวิธีการขยายระยะเวลาชำระหนี้หรือการขยายระยะเวลาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากที่สุด โดยเงินงวดผ่อนชำระใหม่เฉลี่ยคนละ 2,766 บาทต่อเดือน ส่วนลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดีแล้ว(หลังคำพิพากษาของศาล) เลือกเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารออมสินโดยวิธีการผ่อนผันชำระหนี้มากที่สุด โดยเงินงวดผ่อนชำระใหม่เฉลี่ยคนละ 2,820 บาท ต่อเดือน คำสำคัญ: หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ ลูกหนี้ NPL; ธนาคารออมสินเขตลำพูน
Abstract: ABSTRACT This study aims to examine loan use behavior and causes of non- performing loans of the Government Savings Bank’s customers, as well as the troubled debt restructuring process implemented by the Bank. It is confined to the operation of Lamphun Region Government Savings Bank. The needed information was collected by means of questionnaire from 400 samples of NPL customers of the Bank which can be distinguished into 314 NPL customers In Lamphun Province and 86 NPL customers in Mae Hong Son Province. The analysis was based on the results of descriptive statistics, Likert scale for weighting the importance of NPL causative factors. The study on the Lamphun sample group found that the typical NPL customers can be described as female, married, 43 years old on the average, with bachelor’s degree education, employed as civil servant, and having average monthly income less than 15,000 baht. The majority of samples in this group made borrowing from GSB’s People Bank Loan Project, followed by Career Group Development Loan Project. On the average, they received the loan limit at 579,306 baht per person with about 11 years’ loan repayment period and presently have an NPL debt burden of 484,284 baht per person. The most common factor causing their NPL was found to be on the part of customers themselves from the fact that most of them borrowed substantial amount of money from both formal and informal loan providers; while the next most common factor was on the part of the bank which had increased the interest rate and hence increased the size of loan repayment installment and the customers’ debt burden. Those NPL debtors who had not yet been filed for legal procedure sought to enter debt restructuring arrangement with the GSB in most cases by extending the term of loan maturity or extending the debt restructuring period and now they are paying the new level of repayment installment at 3,412 baht per month per person on the average. Meanwhile, those NPL debtors who had been ruled by the court for their defaults sought to enter debt restructuring arrangement with the GSB in most cases by debt settlement and now paying the new level of repayment installment at 3,111 baht per month per person on the average. The findings on Mae Hong Son sample group revealed that most NPL customers are characterized as female, married, 45 years old on the average, with bachelor’s degree education, employed as civil servant, and having average income no more than 15,000 baht per month. Most of them made borrowing from the GSB’s People Bank Loan Project, followed by the Career Group Development Loan Project. Each of them was granted a loan limit averagely at 546,465 baht with about 10 years’ loan repayment period and presently has an NPL outstanding balance of 435, 943 baht. The most common cause of NPL was found on the part of the borrowers from the fact that they had borrowed substantial amount of money from both formal and informal loan providers and the next most common cause was on the part of the bank which had increased the interest rate that consequently increased the size of loan repayment installment and the customers’ debt burden. Those NPL debtors who had not yet been filed for legal procedure sought to enter the debt restructuring arrangement with the GSB mostly by extending the term of loan maturity or by extending the debt restructuring period and now are paying a new level of loan repayment averagely at 2,766 baht per month per person. Meanwhile, those NPL debtors who had been ruled by the court for their defaults sought to enter the debt restructuring process of the GSB in most cases by debt settlement arrangement, and now they are paying a new level of loan repayment at 2,820 baht per month per person on the average. Keyword: Non Performing Loans (NPL), Government Savings Bank
บทความ :