ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้านที่มีการปลูกกุหลาบ กรณีศึกษา บ้านบวกเต๋ย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Tourism Destination Investment at a Rose Farming Village Case study Baan Buak Toey Mae Rim, Chiang Mai
ผู้แต่ง : ชนิดา วังแวว
ประเภท : Articles
Issue Date: 08-Nov-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้การวิเคราะห์ทางการเงินเข้ามาพิจารณา เป็นการศึกษาที่นำหลักการของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น การศึกษาเส้นทางธรรมชาติที่ใช้ได้ผลกับการรักษาป่า ผ่านการปลูกจิตสำนึกของนักท่องเที่ยว และการปลูกจิตสำนึกของชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ต่อหลายๆฝ่าย ผู้วิจัยจึงนำแนวคิดข้างต้นมาปรับใช้และทำการศึกษาบนพื้นฐานสมมติฐานอย่างง่าย ที่ว่าการใช้การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ต้นทุน และผลตอบแทนทางการเงินใช้สถานการณ์จำลองรายได้ และต้นทุน ของการประกอบการการเกษตรของผู้ปลูกกุหลาบตัดดอกซึ่งมีความพยายามในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเพิ่มการลงทุนบำบัดเคมีเกษตรก่อนไหลลงสู่แหล่งน้ำ, การประกอบการการทำการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นการประมาณการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นเบื้องต้นสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว และใช้การประเมินขีดความสามารถในการรองรับทางกายภาพของพื้นที่ประมาณการอุปสงค์นักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการป้องกันการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ที่มากเกินไปจนสร้างผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และผู้อาศัยในพื้นที่ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์จากภาคเกษตร และภาคการท่องเที่ยวมารวมกัน โดยการศึกษานี้ทำการศึกษาในพื้นที่หมู่บ้านบวกเต๋ย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ระยะเวลาในการคาดการณ์ทั้งสิ้น 18 ปี เป็นไปตามรอบการปลูกกุหลาบใหม่ทุกๆ 6 ปี จำนวนทั้งสิ้น 3 รอบการปลูก และใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 5 ต่อปีเป็นอัตราคิดลดในการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า ภาคการเกษตรซึ่งถือเป็นการลงทุนหลักรายได้ของเกษตรกรขึ้นอยู่กับปริมาดอกกุหลาบที่ขายได้ และขึ้นอยู่กับคุณภาพของดอกกุหลาบ เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 17,213,190 บาท มูลค่าปัจจุบันสุทธิของภาคการเกษตร เท่ากับ 44,269,655.59 บาท รายได้รวมทั้งสิ้น 85,993,920 บาท ภาคการเกษตรมีอัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับ ร้อยละ 115 ระยะเวลาคืนทุนของภาคการเกษตรโดยประมาณอยู่ที่ 1 ปี และมีอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนที่มากกว่า 1 อยู่ที่ 4.93 เมื่อพิจารณาเฉพาะภาคการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้ที่สองในอนาคต เปิดให้บริการเฉพาะเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ เฉพาะวันเสาร์ และ วันอาทิตย์เท่านั้น รายได้จากการท่องเที่ยวเกิดจาก การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน และจากการให้บริการทางการท่องเที่ยว 2 รูปแบบ คือ แบบพักค้างคืน พร้อมทำกิจกรรมในพื้นที่ และแบบทำกิจกรรมแต่ไม่พักค้างคืน เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 4,184,279 บาท รายได้รวมทั้งสิ้น 7,940,352 บาท มูลค่าปัจจุบันสุทธิของภาคการท่องเที่ยว เท่ากับ 2,051,281.81 บาท มีอัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับ ร้อยละ 28 จากการคำนวณระยะเวลาคืนทุนเฉพาะภาคการท่องเที่ยวโดนประมาณอยู่ที่ 3 ปี 18 เดือน และมีอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนอยู่ที่ 1.70 หมายความว่า ผลตอบแทนของโครงการมีมากกว่าค่าใช้จ่ายที่เสียไป และเมื่อนำทั้งสองส่วนมารวมกันผ่านการรวมกลุ่ม และบริหารโดยเกษตรกรในพื้นที่ โครงการจะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 21,397,469 บาท รายได้รวมทั้งสิ้น 94,798,272 บาท มีอัตรามูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 46,857,050.55 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับ ร้อยละ 505 โครงการจะมีระยะเวลาคืนทุนโดยประมาณ 2 ปี และมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 4.29 เท่า จากภาพรวมตัวแปรต่าง ๆในการวิเคราะห์ทางการเงินบ่งชี้ว่า ในการวิเคราะห์ทางการเงิน โครงการนี้มีโอกาสและความเป็นไปได้ที่โครงการจะเกิดขึ้น ผู้ทำการศึกษาพบว่ายังมีประเด็นที่ต้องระมัดระวังและทำการศึกษาเพิ่มเติม เช่นศักยภาพของชาวบ้านในการเป็นผู้ให้บริการทางการท่องเที่ยว สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การควบคุมและจัดการทรัพยากรในพื้นที่ รวมไปถึงข้อระมัดระวังทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชนเผ่า เพื่อก่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และเป็นการพัฒนาที่นำไปสู่ความยั่งยืนทางสังคม และสิ่งแวดล้อม คำสำคัญ : ต้นทุนและผลตอบแทน การพัฒนา การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พื้นที่สูง ผู้ปลูกกุหลาบ
Abstract: The purpose of this independence study was to study and an analyze the feasibility of the eco-friendly agriculture tourism case study at Baan Buak Toey Mae Rim district Chiang Mai Thailand. This study was adopted the ecotourism principles. The study based on simple assumption that eco-friendly tourism is the tool that will bring the positive benefit to the externality. The research tools in this study were (1) Physical Carrying Capacity of the village to estimate the demand of tourists such as view point, parking garden learning center and lecture room. To prevent the use of resources in the area that would have negative impact on the natural resources, the environment and the community. And (2) The cost and benefit analysis studies in three feasibilities. In the first case study about invest in the commercial cultivation of rose in the village that the farmers try to protect the environment by add bio-charcoal in rose beds for decontamination chemical before residues to water. In the second case study about the invest in eco-friendly roses agriculture tourism in basic infrastructure and operate by community enterprise. And in the third case study the first case and second case include in one area. The analysis relied on the Net Present Value (NPV), Benefit-Cost ratio (B/C ration), Pay Back period (PB) and the Internal Rate of Return (IRR) of the three case on the condition that the study would function for eighteen years and Sensitive analysis on the third case. The finding was (1) The Physical Carrying Capacity of the village such as view point, parking garden learning center and lecture room. Most of the area maximize capacity around 20 people this study leads to planning travel pattern and travel program of the village to two travel programs, one day trip and Two day-one-night trip by appointment with the villagers before entering the area and most activities are held in one area except the view point. This study will help preserve natural resources, Easy to handle traffic in the village and reduce the disturbance to other villages in the nearby around the area. (2) The cost and benefit analysis in three feasibilities. In the first case, study about invest in rose agriculture in the village the result show the main source of income for growing roses every year is not the same depending on the amount roses harvested and quality of the roses, First year to Third year is the year of high quality roses most of the roses are in premium standard and grade A after third year the quality of roses is reduced in grade B to fall standard. The results in the NPV of 44,269,655.59 baht, a IRR of 115%, a B/C ratio of 4.93% and one year payback period. In the second case study about the invest in eco-friendly roses agriculture tourism operate by community enterprise in one area. It’s s profession of skill. The results in a NPV of 2,051,281.81 baht, a IRR of 28%, a B/C ratio of 1.70 and 3 years 18 months payback period. The third case study the first case and second case include in one area. The results in a NPV of 46,857,050.55 baht, a IRR of 505%, a B/C ratio of 4.29% and two year payback period. Although in financial term it is interesting but there are many issues need to be more study such as the potential of the villagers, Land use right, The water management of agriculture water supply, tourism water supply and waste water from tourism, The hazardous wastes management and the socio-culture impacts of tourism on Hmong hill tribe. Keywords: Cost and Benefit, Development, Eco-friendly Tourism, Upland, Rose Farming
บทความ :