ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมการออมเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตยามชราภาพของพนักงานในสถาบันการเงิน
หัวข้อ (ENG): Saving Behavior for Old Age Living of Employees in Financial Institutions
ผู้แต่ง : จุฑาพร ศรีวงศ์
ประเภท : Articles
Issue Date: 26-Oct-2020
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจรูปแบบการออมและปัจจัยที่มีผลที่ต่อการตัดสินใจออมเงิน และเพื่อวิเคราะห์หาความมั่นคงทางรายได้เพื่อใช้ดำรงชีวิตยามชราภาพของพนักงานที่ทำงานในสถาบันการเงินในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามพนักงานที่ทำงานในสถาบันการเงินของรัฐ จำนวน 200 คน และ กลุ่มพนักงานที่ทำงานธนาคารพาณิชย์ จำนวน 200คน รวม 400 คน ทำการศึกษาโดยใช้สถิติชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย จัดลำดับความสำคัญในแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมเงินโดยใช้มาตราวัดของ Likert’s Scale มีรูปแบบคำถามให้เลือกระดับความสำคัญ 5 ระดับ กลุ่มพนักงานที่ทำงานในสถาบันการเงินของรัฐส่วนใหญ่ อายุเฉลี่ย 34ปี สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ย 55,429 บาทต่อเดือน มีพนักงานร้อยละ84 เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพร้อยละ12.63ของเงินเดือน มีพฤติกรรมและรูปแบบการออมภาคสมัครใจ คือ นิยมออมในออมเงินรูปแบบออมเงินไว้กับธนาคารมากที่สุด โดยออมในเงินฝากออมทรัพย์ (ร้อยละ38.00) เนื่องจากมีความเชื่อมั่นกับธนาคารว่าเงินออมจะไม่สูญหาย สามารถเช็คดูข้อมูลเงินฝากของตนเองได้ รองลงมาเป็นการออมเงินในรูปแบบซื้อประกันชีวิต โดยซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ (ร้อยละ18.00) เนื่องจากใช้เป็นการออมทรัพย์และใช้คุ้มครองชีวิต นอกจากนี้สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ ลำดับที่สามเป็นการออมเงินในรูปแบบการซื้อสินทรัพย์ คือ การซื้อทองรูปพรรณ (ร้อยละ12.00) เพราะ มีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย และยังสร้างภาพพจน์ที่ดีในสังคม การประมาณการจำนวนเงินสำหรับใช้จ่ายในยามเกษียณอายุจากเงินที่สะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงอายุ 60ปี จะมีเงินสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณจนถึงอายุ 80ปี เฉลี่ยเป็นเงินประมาณ 13,000บาทต่อเดือน กลุ่มพนักงานที่ทำงานในธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ อายุเฉลี่ย 34 ปี สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ย 66,537.75บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ทำงานธนาคารพาณิชย์ทุกคนเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพร้อยละ18.07ของเงินเดือน มีพฤติกรรมและรูปแบบการออมภาคสมัครใจ ดังนี้ มีการออมเงินในรูปแบบการฝากเงินไว้กับธนาคารประเภทเงินฝากออมทรัพย์มากที่สุด (ร้อยละ84.50) เนื่องจากมีความเชื่อมั่นกับธนาคารว่าเงินออมจะไม่สูญหาย สามารถเช็คดูข้อมูลเงินฝากของตนเองได้ รองลงมาเป็นการออมเงินโดยการทำประกัน โดยซื้อประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (ร้อยละ32.50) เพื่อใช้คุ้มครองชีวิตป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ลำดับที่สาม เป็นการออมเงินในรูปแบบการซื้อสินทรัพย์ โดยการซื้อทองรูปพรรณ (ร้อยละ19.00) เนื่องจาก มีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย และสร้างภาพพจน์ที่ดีในสังคม การประมาณการจำนวนเงินสำหรับใช้จ่ายในยามเกษียณอายุจากเงินที่สะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงอายุ 60ปี จะมีเงินสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณจนถึงอายุ 80ปี เฉลี่ยเป็นเงินประมาณ 17,000บาทต่อเดือน คำสำคัญ : เงินออม เกษียณอายุ พฤติกรรม สถาบันการเงิน รายได้
Abstract: ABSTRACT This study in a sample of financial institutions’ employees aims to examine their socio-economic status, forms of saving, and influential factors of saving decisions, and assess their financial security for living at the old-age stage. The information was collected using the questionnaire from 400 samples distinguished into 200 samples of employees of state financial institutions and 200 samples of those of commercial banks operating in Chiang Mai Province. The analysis was performed upon the results of descriptive statistics including frequency, percentage, and arithmetic mean, and the Likert’s 5-scale rating of factors determining savings decision. In the group of state financial institutions, it was found that the sampled employees are typically 34 years old on average, single, bachelor’s degree graduate, and having averagely 55,429 baht monthly income. Eighty-four percent of them are members of the Provident Fund in which each member has to pay 12.63 % of his/her salary as a contribution toward this scheme. There prevails volunteering personal savings behavior in this group of samples and the forms of savings are many in isolation and a portfolio. The most popular form of savings was found to be money deposit at a commercial bank in a personal savings account (38 % of the samples) because of the bank customer trusts that there is no risk of losing the savings and the possibility for him/her to check his/her account information. The second most common form is buying a life insurance policy particularly the life savings insurance type (18.00 % of the samples) because it provides both saving and life protection and the premium payment can be used for a tax deduction. The third most popular form of savings is buying assets particularly gold jewelry (12.% of the samples) because it is a highly liquid asset and easily changed into cash as well as helps build a good social image of the wearer. From the Provident Fund alone, it is estimated that after the retirement at 60 years old until the later life at 80 years old, each salaryman in this group will have 13,000 baht of money to use each month. In the group of commercial banks, the sampled employees were found to be characterized as 34 years old on average, single, bachelor’s degree graduate, and earning averagely 66,537.75 baht income per month. All of them are members of the Provident Fund and each contributes 18.07 % of his/her monthly salary to the Fund. They have also made voluntary savings in various forms singly or in combination. The most popular form of savings is money deposit in a savings account with a commercial bank (84.50 % of the samples) due to the depositor’s confidence that he/she will not lose his/her savings as well as can check his/her account information anytime. The second most common savings form is buying an insurance policy particularly the whole life insurance type (32.50 % of the samples) to protect against any risks that might occur in the entire life of the insured person and to use the premium payment for a tax deduction. The third most prevalent form of savings is buying assets especially gold jewelry (19.00 % of the samples) because it is a highly liquid asset, easily turned into cash, and helps build a good social image for the wearer. From the Provident Fund alone, it is estimated that after the retirement at 60 years old until the old age at 80 years old, each person in this group will have money to spend at 17,000 baht per month. Keyword : Saving Retire Behavior Financial Institutions Income
บทความ :