ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): มาตรวัดความสุขบนพื้นฐานของเซตวิภัชนัย
หัวข้อ (ENG): Fuzzy Set Base Happiness Measures
ผู้แต่ง : ภูษิต กิตติชัยยะ
ประเภท : Articles
Issue Date: 05-Jul-2016
บทคัดย่อ (THAI): การค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างมาตรวัดความสุขซึ่งเป๊นความรู้สึกส่วนบุคคลให้เป็นเชิงปริมาณโดยใช้เซตวิภัชนัย โดยศึกษาภายใต้ปัจจัย 7 ด้านคือ (1)ด้านรายได้ (2) ด้านการทํางาน (3) ด้านสุขภาพ (4) ด้านชีวิตครอบครัว (5) ด้านมิตรภาพและความสัมพันธ์ทางสังคม(6)ด้านอิสรภาพและความเสมอภาพ (7)ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นจะใช้แนวคิด เซตวิภัชนัย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจะมีขั้นตอน คือ สำหรับการหาฟังก์ชันภาวะสมาชิก (Membership Function) ของแต่ละบุคคลในกลุ่มตัวอย่างนั้นจะใช้วิธีการ Interval Estimation โดยแบ่งช่วงระดับความสุขเป็น 2 ช่วง คือ ไม่มีความสุข และมีความสุข แล้วจากนั้นก็จะใช้ Aggregating Fuzzy Opinions in the Group Decision-Making Environment (Hsu and Chen, 1996) เพื่อการหาฟังก์ชันภาวะสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลแบบปฐมภูมิซึ่งเก็บร่วมรวมมาจากแบบสอบประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างวัน30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 จากการวิเคราะห์พบว่าจากการศึกษาพบว่า สำหรับระดับรายได้ขั้นต่ำที่จะทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่มีความสุขเลยคือ การมีระดับรายได้ที่น้อยกว่า 9,885.8 บาท/เดือน และระดับรายได้ที่จะทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความสุขสูงสุดคือการมีรายได้ตั้งแต่ 148,412 บาท/เดือนขึ้นไป ด้านเวลาในการทำงานที่จะทำให้ไม่มีความสุขเลย คือ การมีเวลาในการทำงานที่มากกว่า 10.98 ชั่วโมง/วัน และเวลาในการทำงานที่จะทำให้มีความสุขมากที่สุด คือ การมีเวลาในการทำงานน้อยกว่า 4.06 ชั่วโมง/วัน ด้านจำนวนครั้งการเจ็บป่วยที่ต้องพบแพทย์ที่จะทำให้กลุ่มประชากรตัวอย่างไม่มีความสุขเลย คือ การมีจำนวนครั้งการเจ็บป่วยที่ต้องพบแพทย์ที่มากกว่า 7.4 ครั้ง/ปี และจำนวนครั้งการเจ็บป่วยที่ต้องพบแพทย์ที่จะทำให้มีความสุขมากที่สุด คือ จำนวนครั้งการเจ็บป่วยที่ต้องพบแพทย์น้อยกว่า 2.88 ครั้ง/ปี ด้านเวลาที่ได้อยู่ร่วมกับครอบครัวที่จะทำให้ไม่มีความสุขเลย คือ การมีเวลาที่ได้อยู่ร่วมกับครอบครัวที่น้อยกว่า 6.63 ชั่วโมง/วัน และเวลาที่ได้อยู่ร่วมกับครอบครัวที่จะทำให้มีความสุขมากที่สุด คือ เวลาที่ได้อยู่ร่วมกับครอบครัวมากกว่า 10.28 ชั่วโมง/วัน ด้านจำนวนครั้งที่ได้สังสรรค์กับเพื่อนหรือสังคมที่จะทำให้กลุ่มประชากรตัวอย่างไม่มีความสุขเลย คือ การมีจำนวนครั้งที่ได้สังสรรค์กับเพื่อนหรือสังคมที่น้อยกว่า 3.16 ครั้ง/เดือน และจำนวนครั้งที่ได้สังสรรค์กับเพื่อนหรือสังคมที่จะทำให้มีความสุขมากที่สุด คือ มากกว่า 7.93 ครั้ง/เดือน ด้านจำนวนครั้งที่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้กลุ่มประชากรตัวอย่าง ไม่มีความสุขเลย คือ การมีจำนวนครั้งที่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มากกว่า 4.5 ครั้ง/วัน และจำนวนครั้งที่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ยังคงมีความสุขปกติ คือ น้อยกว่า 2.18 ครั้ง/วัน ส่วนด้านจำนวนครั้งการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จะทำให้กลุ่มประชากรตัวอย่างไม่มีความสุขเลย คือ การมีจำนวนครั้งการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มากกว่า 2.7 ครั้ง/วัน และจำนวนครั้งการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จะทำให้กลุ่มประชากรตัวอย่างยังมีความสุขปกติ คือ จำนวนครั้งการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนน้อยกว่า 1.12 ครั้ง/วัน คำสำคัญ: มาตรวัดความสุข, เซตวิภัชนัย, ฟังก์ชั่นภาวะสมาชิก, ความสุขทางเศรษฐศาสตร์ และFuzzy Logic
Abstract: This independent Study is aimed to research on the construction of Happiness Measures which is a measurement of personal feeling in the quantitative form by using Fuzzy Set. It studies seven relavant aspects which are income, work, health, family life, relationship and social interaction, freedom and equality, and environment. For data analysis, concept of Fuzzy Set is employed. Interval Estimation technique is used for the search of Membership Function for each person in the sample group by categorizing Level of Happiness into two parts, which are happy and unhappy. Then Aggregating Fuzzy Opinions in the Group Decision-Making Environment (Hsu and Chen, 1996) is applied to search for Membership Function of the sample group members. Data analyzed in this study is primary data which is collected from the qustionaires of 400 people in Muang District, Chaing Mai Province during November 30, 2015 to February 31, 2016. The study finds out that income level that makes the sample group members totally unhappy is under 9,885.8 Baht/month and income level that makes the sample group members totally happy is over 148,412 Baht/month. Besides, the number of working hours that makes the sample group members totally unhappy is over 10.98 hours/day and working hours that makes the sample group members totally happy is under 4.06 hours/day. For the number of doctor visiting, over 7.4 times/year causes total unhappiness and under 2.88 times/year causes total happiness for the sample group. For time to join families, under 6.63 hours/day causes total unhappiness and over 10.28 hours/day causes total happiness. As time for friends and society, the sample group members are totaly unhappy if they socialize less than 3.16 times/month and totaly happy when they socialize more than 7.93 times/month. For the emvironmental aspects, the group members are totally unhappy if they experience environmental problems more than 4.5 times a day and are totally happy when they experience environmental problems less than 2.18 times a day. Finally, for experiences of being human-right abused, over 2.7 times/day makes the group members totaly unhappy and under 1.12 times/day makes the group members totally happy. Key word: Happiness Measures, Fuzzy Set, Membership Function, Happiness Economics and Fuzzy Logic
บทความ :