ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์อัตราส่วนถัวความเสี่ยงของทองคำด้วยวิธีควอนไทล์รีเกรสชั่น
หัวข้อ (ENG): The Hedge Ratio Analysis of gold Using Quantile Regression
ผู้แต่ง : ภัทรวดี กิติกรรณ์
ประเภท : Articles
Issue Date: 15-Nov-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราถัวความเสี่ยงในแต่ละระดับควอนไทล์ที่แตกต่างกันของทองคำ โดยใช้การประมาณค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำในตลาดล่วงหน้าและตลาดปัจจุบัน เพื่อคำนวณหาจำนวนสัญญาล่วงหน้าที่เหมาะสมในการเปิดสถานะเพื่อประกันความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำ โดยใช้ข้อมูลราคาเฉลี่ยของราคาทองคำเป็นข้อมูลรายวัน ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 จำนวนทั้งสิ้น 1,653 ข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้เป็นข้อมูลอนุกรมเวลาจึงต้องใช้การทดสอบยูนิทรูท เพื่อพิจารณาความนิ่งของข้อมูลก่อน แล้วจึงนำมาประมาณค่าความสัมพันธ์ด้วยวิธีควอนไทล์รีเกรสชั่น ผลที่ได้จากการจำแนกในแต่ละระดับควอนไทล์ โดยนำผลที่ได้มาคำนวณหาจำนวนสัญญาที่เหมาะสมในแต่ละระดับควอนไทล์ ผลการทดสอบยูนิทรูทพบว่าข้อมูลการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำ ในตลาดล่วงหน้าและตลาดจริงมีลักษณะนิ่ง จากนั้นจึงทำการประมาณค่าด้วยวิธีควอนไทล์รีเกรสชั่นที่ระดับควอนไทล์ 0.1 ถึง 0.9 พบว่า ในระดับควอนไทล์ที่ 0.1 ถึง 0.3 ค่าสัมประสิทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ ณ ราคาตลาดซื้อขายล่วงหน้าจะเพิ่มขึ้น ซึ่งมีทิศทางเดียวกันกับแต่ละระดับควอนไทล์ที่เพิ่มขึ้นแล้วค่าสัมประสิทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ ณ ราคาตลาดซื้อขายล่วงหน้า และระดับควอนไทล์ที่ 0.4 ถึง 0.6 ค่าสัมประสิทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ ณ ราคาตลาดซื้อขายล่วงหน้า จะมีลักษณะคงที่ ค่าสัมประสิทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ ณ ราคาตลาดซื้อขายล่วงหน้า จึงลดลงตั้งแต่ ควอนไทล์ที่ 0.7 ถึง 0.9 แสดงว่าอัตราส่วนถัวความเสี่ยง (Hedge ratio) จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยแบ่งเป็นสามช่วงระดับ ควอนไทล์ โดยช่วงแรกที่ระดับควอนไทล์ 0.1 ถึง 0.3 อัตราถัวความส่วนเสี่ยงจะมีค่าเพิ่มขึ้น ช่วงที่สองที่ระดับควอนไทล์ 0.4 ถึง 0.6 อัตราส่วนถัวความเสี่ยงจะมีค่าคงที่ และช่วงที่สามที่ระดับควอนไทล์ 0.7 ถึง 0.9 อัตราส่วนถัวความเสี่ยงจะมีค่าลดลงการศึกษาครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาทองคำ ในแต่ละระดับควอนไทล์ โดยที่ระดับควอนไทล์ 0.4 ถึง 0.6 ควรเปิดสัญญาจำนวน 39 สัญญา ซึ่งควรใช้เมื่อมีความผันผวนของราคาในระดับสูง หากระดับความผันผวนไม่สูงมากนัก หรือผันผวนน้อย ก็สามารถใช้จำนวนสัญญาที่ควรเปิดสถานะในระดับ ควอนไทล์ที่ 0.1 ถึง 0.3 และ 0.7-0.8 ซึ่งมีจำนวนสัญญาที่ควรเปิดสถานะไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละระดับควอนไทล์ แต่ในระดับควอนไทล์ที่ 0.9 จะเห็นว่าจำนวนสัญญาที่ควรถือมีจำนวนน้อยซึ่งในการเลือกใช้จำนวนสัญญาที่ควรเปิดสถานะในทุกระดับควอนไทล์ต่างๆ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คําสําคัญ: ทองคำ,อัตราส่วนถัวความเสี่ยง, สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า, ราคาในตลาดจริง ,ราคาในตลาดล่วงหน้า
Abstract: The objective of this study is to evaluate the Hedge ratio in different quantile levels of gold. The evaluation will be conducted by integrating the estimation of related coefficient price of the gold in future market and current market. The evaluation result can be utilised as the basic formula to evaluate the appropriate number of forwarded contracts to be prepared in order to lower the risk of changes in the gold price. The total of 1,653 sources of data evaluated this way gathered from the average daily price of the gold from January 2010 to December 2015. Since the data gathered is the time series data, the evaluation method should be the Unit Root method. The rationale of utilising the Unit Root method in this study is to evaluate the stability of the data before estimating the relativity value by using Quantile Regression method. Therefore, the result will be categorised into different quantile level, and the appropriate volume of the forwarded contract will be estimated in each quantile level. The Unit Root calculation demonstrates that the stability of the gold price in current and future market is constant at Level. The evaluation then progressed to the Quantile Regression method. The evaluation at the quantile level 0.1 to 0.9 indicates that, at level 0.1 to 0.3, the coefficient value of the gold in future market tends to increase, along with the increasing quantile level. At the quantile level 0.4 to 0.6, the coefficient value of the gold in future market tends to be more stable, while coefficient value of the gold in future market starts to decrease at quantile level 0.7 to 0.9.The study reveals that the Hedge ratio changes in three stages. At the first stage of quantile level 0.1 to 0.3, the Hedge ratio is increasing. The Hedge ratio starts to be more stabilised at the second stage with quantile level of 0.4 to 0.6, while starts dropping in the stages three with quantile level of 0.7 to 0.9. This study demonstrates of how to prevent risk of gold price volatility at different quantile level. It is observed that, at the quantile level of 0.4 to 0.6, the recommended amount of contracts is equivalent to 46 which is suitable in the situation of high volatility in gold price. When the gold price volatility is lower at quantile level 0.1 to 0.3 and 0.7 to 0.8, the study illustrates that the status are not significantly different. However, at quantile level 0.9, the recommended volume of contract holding is low. It can be concluded that the contract volume at each quantile level should be considered in order to reduce the unpredictable expenses. Key word: Gold, Hedge ratio, Gold Futures, Spot Price, Futures Price.
บทความ :