ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโครงข่ายประสาทเทียมกับแบบจำลองการถดถอยเชิงเส้น ในการพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินบาท
หัวข้อ (ENG): Comparative Study of Artificial Neural Networks (ANN) and Linear Regression Model in Forecasting Thai Baht Real Effective Exchange Rate (REER)
ผู้แต่ง : รัชรถ ปิ่นมณี
ประเภท : Articles
Issue Date: 02-Jun-2016
บทคัดย่อ (THAI): งานวิจัยนี้มุ่งที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ 6 ตัวที่ได้มาจากกลุ่มของทฤษฎีพื้นฐาน 3 กลุ่มกับตัวแปรตามอันได้แก่อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินบาท โดยเปรียบเทียบความสามารถในการพยากรณ์ค่าอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินบาทนี้ระหว่างวิธีการทางเศรษฐมิติดั้งเดิมกับเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยในการศึกษานี้ข้อมูลรายเดือนที่ได้รับจากแหล่งข้อมูลภายนอกจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม ข้อมูลกลุ่มแรกถูกใช้เพื่อทำให้โมเดลที่จะใช้พยากรณ์ทำการ “เรียนรู้” หรือระบุโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ข้อมูลกลุ่มที่สองถูกใช้เป็นค่ามาตรฐานในการเปรียบเทียบความแม่นยำในการพยากรณ์ระหว่างทั้งสองวิธีการ ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าโมเดลทางเศรษฐมิติมีความเหนือกว่าโครงข่ายประสาทเทียมในด้านความแม่นยำของการพยากรณ์ ผลที่ได้นี้ตรงกันข้ามกับผลที่ได้รับจากส่วนใหญ่ของงานวิจัยอื่นๆที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสองโมเดลนี้ สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าโครงข่ายประสาทเทียมเป็น “โมเดลที่ทำการเรียนรู้” ยิ่งมีข้อมูลป้อนให้มากเท่าไร ผลการทำนายของมันก็จะยิ่งแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น ในงานวิจัยอื่นหลายๆชิ้น จำนวนของข้อมูลที่ป้อนให้โครงข่ายประสาทเทียมมีเป็นพันๆหรือกระทั่งหมื่นๆช่วงเวลา ในขณะที่งานวิจัยนี้มีเพียง 198 ช่วงเวลาเท่านั้นเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านพัฒนาการของภาคการเงินในประเทศไทย ดังนั้นจำนวนข้อมูลที่น้อยนี้จึงจำกัดโครงข่ายประสาทเทียมไม่ให้แสดงศักยภาพของมันได้อย่างเต็มที่
Abstract: This study aims to examine the relationship between six independent variables obtained from three groups of background theories and the dependent variable, namely Thai Baht Real Effective Exchange Rate (REER), by comparing the predictive performance for this Thai Baht REER between traditional econometric approach and recently innovated ANN technique. Monthly data obtained from outside sources is divided into two groups. The first group is used to make the predicting models “learn” or construct the relationship between variables. The second group is employed as a touchstone to compare the forecasting accuracy between the two contesting models. The result indicates that Linear Regression Model (econometrics) transcends ANN in forecasting performance. This is contrary to the results of many comparative studies concerning these two predictive methods. One reason could be that ANN was a “learning” model. The higher number of training samples, the better forecasting results. In many cases of other researches, the amount of training samples is thousands, or even ten thousands, while the number of training samples in this study is only 198 due to the limitation in historical financial data in Thailand. Thus, the small size of input data restricts ANN from performing at its highest potential. Key words: Real Effective Exchange Rate (REER), Linear Regression Model, Artificial Neural Networks (ANN), training samples, testing samples.
บทความ :