ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีผลต่อธุรกิจร้านค้าในเขตชายแดน: กรณีศึกษาร้านค้าในประเทศไทย ณ เขตการค้าชายแดนด่านแม่สาย – ท่าขี้เหล็ก
หัวข้อ (ENG): An Analysis of Risk Affecting Store Business in Border Area: A Case Study of Thai Shops in Maesai – Tachileik Cross-Border Area
ผู้แต่ง : กาญจนา ซือมือ
ประเภท : Articles
Issue Date: 13-Jun-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการค้าขายในบริเวณชายแดนแม่สาย –ท่าขี้เหล็ก โดยใช้แบบจำลองโพรบิท (Probit) และโลจิต (Logit) ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปร ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้เป็นข้อมูลปฐมภูมิโดยทำการเก็บรวบรวมจากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตการค้าชายแดนด่านแม่สาย – ท่าขี้เหล็กจำนวน 400 ราย โดยได้ทำการวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ด้วยแบบจำลองสองทางเลือก เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต้น (ทัศนคติของผู้ประกอบการต่อกลุ่มปัจจัยความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยความเสี่ยงด้านการเมืองการปกครอง ปัจจัยความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยความเสี่ยงด้านสังคม ปัจจัยความเสี่ยงด้านการตลาดและการแข่งขัน ปัจจัยความเสี่ยงด้านการดำเนินงานภายในธุรกิจ และปัจจัยความเสี่ยงด้านสารสนเทศ) และตัวแปรตาม (รายได้จากผลประกอบการของธุรกิจร้านค้าที่ตั้งในเขตชายแดนแม่สาย – ท่าขี้เหล็ก) ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ประกอบการเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีอายุอยู่ในช่วง 30 -39 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนมากกิจการจะอยู่ในช่วง 1 -10 ปี โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท ต่อเดือน โดยผลการศึกษาตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจำลองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยที่มีผลต่อธุรกิจร้านในเขตชายแดนแม่สาย -ท่าขี้เหล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ปัจจัยความเสี่ยงจากอุทกภัย ปัจจัยความเสี่ยงจากเหตุการณ์ความไม่สงบของบ้านเมือง ปัจจัยความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ ปัจจัยความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัยความเสี่ยงด้านการส่งมอบสินค้าที่ไม่ตรงเวลา ปัจจัยความเสี่ยงด้านความสามารถและการจัดการของพนักงาน และปัจจัยความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ
Abstract: The study entitled Analysis of Risk Affecting Store Business in Border Area: A Case Study of Thai Shops in Maesai – Tachileik Cross – Border Area aims to understand the risk among entrepreneurs. Both Probit and Logit regression models were applied for the analysis of the relationship for each variable. The independent variables consist of the attitude of entrepreneurs towards the factors related to environment, politics, economies, social, marketing and competition, implementation for business, and technologies, while the dependent variable is the income of entrepreneurs in Maesai –Tachileik border line. The data employed in this study is the primary data. The questionnaire had been used to collect the data from 400 respondents. Regarding the collected information, it was found that the most entrepreneurs were female; they were in 30 -39 years old of age, and had bachelor’s degree. Most business firms had been in the business for 1-10 years, and earn 10,000 -30,000 baht per month. By using the proposed methodology, the results showed that the risk factors effecting on the business performance consisted of flood, rules or criterions, delay in delivering, fluctuation of exchange rate, political crisis, ability for management of employees, and new technologies.
บทความ :