ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ใช้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
หัวข้อ (ENG): Performance of Villages and Urban Community Fund in Using Village Development Loan from Agriculture Bank, Li Distric, Lamphun Province
ผู้แต่ง : อานันทพงษ์ ปานเพ็ชร
ประเภท : Articles
Issue Date: 28-Feb-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างการจัดการองค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สินเชื่อและพฤติกรรมการใช้สินเชื่อ รวมถึงการดำเนินงานก่อนและหลังการใช้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยทำการสอบถามประธานหรือคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านระดับ A จำนวน 5 กองทุน ระดับ B จำนวน 8 กองทุนๆ ละ 1 คน และสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ๆ ละ 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัย กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ใช้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีจำนวนทั้งสิ้น 13 กองทุน มีระยะเวลาการก่อตั้งกองทุนนาน 15 ปี มีโครงสร้างการบริหารการจัดการคล้ายคลึงกัน คณะกรรมการมาจากการเลือกตั้งจากสมาชิก มีวาระ 2 ปี กองทุนหมู่บ้านจะมีการประชุมปีละ 2 ครั้ง ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้สินเชื่อของกองทุนหมู่บ้านระดับ A อันดับหนึ่งคือ ความรวดเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ รองลงมาคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธกส. ต่ำกว่าสถาบันอื่น ส่วนกองทุนระดับ B อันดับหนึ่ง คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธกส. ต่ำกว่าสถาบันอื่น รองลงมาคือวงเงินกู้สอดคล้องกับความต้องการของกองทุนสมาชิกกลุ่มกองทุนระดับ A มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนโดยได้รับวงเงินกู้เฉลี่ยอยู่ที่ 22,800 บาท/คน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ ส่วนใหญ่สมาชิกของกองทุนจะนำเงินทุนไปปรับปรุงหรือขยายอาชีพเดิม รองลงมาคือลงทุนประกอบอาชีพใหม่ การผิดนัดชำระหนี้กับกองทุนหมู่บ้าน พบว่าสมาชิก ไม่มีประวัติการผิดนัดชำระหนี้ สมาชิกกลุ่มตัวอย่างกองทุนระดับ B มีการกู้ยืมเงินจากกองทุน โดยได้รับวงเงินกู้เฉลี่ยอยู่ที่ 18,700 บาท/คน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เฉลี่ยอยู่ที่อัตราร้อยละ 5.72 ต่อปี วัตถุประสงค์ของการนำเงินกู้ ส่วนใหญ่สมาชิกของกองทุนจะประกอบอาชีพเกษตรจึงนำเงินทุนไปปรับปรุงหรือขยายอาชีพ รองลงมาคือลงทุนประกอบอาชีพใหม่ การผิดนัดชำระหนี้กับกองทุนหมู่บ้าน พบว่าสมาชิกมีประวัติการผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ ร้อยละ 2.5 ผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านฯ พบว่า กองทุนระดับ A และกองทุนระดับ B มีเงินสมทบจากผลกำไรของกองทุน เงินออมสัจจะ เงินค่าหุ้นสมาชิก รายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ ผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานของกองทุนฯ เพิ่มขึ้น จำนวนหนี้ค้างชำระที่สมาชิกที่ชำระให้กับกองทุนลดลง ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า สินเชื่อที่ทำการกู้ยืมมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกองทุนหมู่บ้านฯ และตัวของสมาชิกกองทุนฯเอง ส่งผลให้สมาชิกกองทุนมีเงินทุนในการปรับปรุงขยายอาชีพทำให้ได้กำไรและสามารถยกฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ส่วนทางด้านของกองทุนหมู่บ้านฯ ได้กำไรจากผลการดำเนินงานนำกำไรที่ได้มาพัฒนากองทุน เกิดการสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรและชุมชน ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของชุมชนมีความเจริญก้าวหน้าทั้งองค์กรและตัวบุคคล คำสำคัญ : กองทุนหมู่บ้าน , กองทุนหมู่บ้านระดับA , กองทุนหมู่บ้านระดับ B
Abstract: The present study aims to examine the organization structure, the factors affecting loan use and loan use behavior, and the performance of the village funds in Li District of Lamphun Province before and after their implementation of borrowing from the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) for relending to village fund members under the policy of the National Village and Urban Community Fund. The needed information for the study was collected from the chairman or committee member of each village fund of the selected five grade A village funds and eight grade B village funds, and from 10 representative members of each village fund. The analysis was based on the results of descriptive statistics and ranking of importance of factors under investigation. The study found that grade A and grade B village funds have similar organization structure for having a chairman, a vice chairman, a secretary, and other committee members responsible for different tasks and functions of the village fund. Village funds in both categories have been established for 15 years. The village fund committee is determined by the fund members through election process to serve the two years’ term of office. Most village funds keep their financial accounts and make the report to members once a year. Factors that influence the selection of the fund's grade A village found first is quick loan approval and secound is lending rates of BAAC. Institution lower another. The fund's grade B village found first is lending rates of BAAC. Institution lower another and secoud is Loan in accordance with the requirements of the Fund. A member of the fund's grade A has to borrow from the fund by obtaining loans at an average of 22,800 baht / person. Interest rate of 4 percent per year.The purpose of the loan Most members of the Fund the first is improve or expand existing career secound is investment new career. The default fund to which members found no history of default. A member of the fund's grade B has to borrow from the fund by obtaining loans at an average of 18,700 baht / person.Interest rate of 5.72 percent per year.The purpose of the loan Most members of the Fund the first is improve or expand existing career secound is investment new career. The default fund. Members found to have a history of defaulting on loan repayments of 2.5 percent. Performance of the Fund's grade A and B fund with contributions from the profits of the fund savings paid for the shares scrupulous members. Income from loan interest Net profits from the operation of the fund increases.The amount of debt owed to the fund members pay reduced. All shows Mortgage lending for the benefit of the fund. And a member of the fund.The fund provides funding to improve and expand the career of profit can be cited as being better. Part of the funds. Profit from the performance gains that have led to the development fund. The stability of the organization and the community. Key word : The village funds , The village funds of grade A , The village funds of grade B
บทความ :