ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานที่ทำงานในเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
หัวข้อ (ENG): Saving Behavior of Municipal office Savings Cooperative Limited Member working at Municipal and Subdistrict Administrative Organization in Dok Kham Tai District, Phayao Province
ผู้แต่ง : พิชามญชุ์ มูลรัตน์
ประเภท : Articles
Issue Date: 26-Jul-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน และศึกษาพฤติกรรมการออม รวมทั้งศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยสิทธิประโยชน์ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานที่ทำงานในเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งข้อมูลปฐมภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานที่ทำงานในเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จำนวน 204 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ความถี่ และร้อยละ ใช้วิธีวัดของ Likert Scale ในการวัดระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการออม และในส่วนการหาความสัมพันธ์ของข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย อายุ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน อายุงาน รายได้หลักต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนผู้พึ่งพิง และรายจ่ายของครอบครัว กับจำนวนเงินออมใช้การทดสอบไคสแควร์ (X2-test) จากการศึกษาโครงสร้างสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาลจำกัด พบว่าโครงสร้างประกอบไปด้วย คณะกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการ ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการการเงินกู้ คณะอนุกรรมการข้อบังคับ ระเบียบและกลั่นกรองงาน คณะอนุกรรมการพิจารณาให้ทุนการศึกษาบุตรและให้การสงเคราะห์ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายการเงินและการบัญชี และหัวหน้าฝ่ายอำนวยการ โดยมีการให้บริการด้านเงินฝากออมทรัพย์พิเศษเพียงอย่างเดียว และการให้บริการด้านเงินกู้ ซึ่งแบ่งตามวัตถุประสงค์การกู้ ได้แก่ เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน และเงินกู้สามัญ นอกจากนี้ สหกรณ์ฯ ยังมีสวัสดิการต่างๆ ให้แก่สมาชิก ได้แก่ เงินสงเคราะห์สมาชิกผู้ประสบภัย/ถึงแก่กรรม ทั้งในกรณีประสบสาธารณภัยและประสบภัยได้รับบาดเจ็บ (อุบัติเหตุ) และการให้เงินทุนส่งเสริมการศึกษาบุตรสมาชิก ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับปริญญาตรี ผลการศึกษาในส่วนของข้อมูลทั่วไป พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ พนักงานฯ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 35 – 45 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ มีอายุงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีรายได้หลักน้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ไม่มีรายได้เสริมและไม่มีภาระหนี้สิน มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3 - 4 คน โดยส่วนใหญ่จะมีผู้พึ่งพิง 1 คน และมีรายจ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 10,000 – 15,000 บาท เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับอาหารและสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์ระหว่าง 11 – 15 ปี มีการออมผ่านสหกรณ์ 6 – 10 ปี มีวัตถุประสงค์การออมเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ส่วนใหญ่จะออมเป็นรายเดือน เฉลี่ย 500 บาทต่อเดือน โดยไม่มีการซื้อหุ้นของสหกรณ์ในแต่ละเดือน ทั้งนี้ ในการนำส่งเงินออมจะเป็นการหักรายได้รายเดือนจากต้นสังกัด และส่วนใหญ่ไม่มีการใช้บริการด้านสินเชื่อ แต่มีการออมในรูปแบบอื่น ได้แก่ สลากออมสิน และสลาก ธกส. ถ้าหากมีการใช้บริการสินเชื่อจะเป็นการใช้สินเชื่อประเภทเงินกู้สามัญเป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษาในส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยสิทธิประโยชน์มีส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานฯ พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความผันผวนของเศรษฐกิจ มีความสำคัญเป็นลำดับแรกโดยให้ระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ปัจจัยด้านสังคม กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในเรื่องสวัสดิการต่างๆ ที่ได้รับ มีความสำคัญเป็นแรก โดยให้ระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ในด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในเรื่องการมีสวัสดิการหลากหลายให้แก่สมาชิก มีความสำคัญเป็นลำดับแรก โดยให้ระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ปัจจัยสิทธิประโยชน์จากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในเรื่องการได้รับเงินสงเคราะห์จากการประสบสาธารณภัย การได้รับการช่วยเหลือครอบครัวเมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม และการมีทุนการศึกษาบุตร มีความสำคัญเป็นลำดับแรก โดยให้ระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปกับจำนวนเงินออมพบว่ามีความสัมพันธ์กัน คือ ปัจจัยด้าน อายุ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน อายุงาน รายได้หลักต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนผู้พึ่งพิง และรายจ่ายของครอบครัว ที่แตกต่างกัน จำนวนเงินออมก็แตกต่างกันด้วย
Abstract: The present study has the objectives to understand the organizational structure of Municipal Officer Savings Cooperative Ltd. and particularly to examine saving behavior and the factors influencing Saving Behavior of Municipal office Savings Cooperative Limited Member working at Municipal and Subdistrict Administrative Organization in Dok Kham Tai District, Phayao Province. The determinants of saving behavior in this study include the economic factor, the social factor, the marketing mix factor, and the benefits from cooperative organization. The information for the study is of both primary and secondary types. The primary information was collected by means of questionnaire from 204 samples of members of Municipal Officer Savings Cooperative who worked in various Tambon Municipality Offices and Tambon Administrative Organizations In Dok Khamtai District of Phayao Province. The analysis was performed based on the results of descriptive statistics including frequency and percentage, Likert scale rating of the importance of factors influencing saving behavior, and chi-square test (X2-test) of the relationship between personal factors and saving behavior. The personal factors for investigation are age, marital status, work position, year(s) of service, monthly income from primary occupation, number of household members, number of dependents, household expenditure, and the amount of savings. On the organizational structure, the study found that the Municipal Officer Savings Cooperative, Limited, is operating with an Executive Committee, an internal auditor, advisors, a sub-committee on lending affairs, a sub-committee on rules, regulations, and procedural screening, a sub-committee on scholarship program for member’s offspring and welfare provision, a manager, an assistant manager, head of finance and accounting section, and head of implementation section. The cooperative provides its members saving service only in the form of special savings account and lending services in two forms namely emergency loan and general loan. Furthermore, it provides other welfare benefits for its members including accident /death benefits from both public disaster and from injury (by accident), and scholarship for member’s offspring for education from the first grade to bachelor’s degree level. From the general background information, the cooperative members can be typically described as female, 35 – 45 years old, married, with bachelor’s degree education, working as officer at practitioner level, with more than 10 years of service, earning less than 20,000 baht monthly income from the main occupation and in most cases having no supplementary income nor debt burden, having 3 – 4 household members, mostly with one dependent, and spending 10,000 – 15,000 baht per month for household expenditure on such items as food, electricity, and public water supply. Most samples under study have been cooperative member for 11 -15 years and made their savings through the cooperative for 6 – 10 years for the purpose of securing finance for spending in time of emergency. Generally, they saved about 500 baht per month by direct deduction from payroll at the employing office and transfer the money for saving deposit at the cooperative, and each month they did not buy any cooperative’s share capital. Furthermore, they reported not using any lending services but having savings in other forms such as purchase of lotteries issued by the Government Savings Bank and the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. In case of the need for borrowing, they mostly applied for loan in general loan category. On the determinants of saving behavior of members of Municipal Officer Savings Cooperative, the findings revealed that the most important economic factor rated as highly important was the economic fluctuation. The most important social factor also rated as highly important was the welfare benefits that the members can get from the cooperative. The most influential marketing mix factor considered as highly important was the diversity of welfares given to the cooperative members. In terms of welfare benefits from the cooperative, the samples under study pointed out three elements that were equally important and rated as being at the highest important level, including public disaster benefit, death benefit, and scholarship for members’ offspring. On the relationship between personal background and savings, the study found that the amount of savings varies with the factors of age, marital status, work position, years of service, monthly income from primary occupation, number of household members, number of dependents, and household expenditure.
บทความ :