ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนกองทุนหุ้นจีน
หัวข้อ (ENG): Volatility Analysis of Rate of Return on Chinese Stock Fund
ผู้แต่ง : สุนันท์ใจ เนตรงาม
ประเภท : Articles
Issue Date: 28-Feb-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนกองทุนหุ้นจีน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาแบบจำลองความผันผวนที่เหมาะสมกับอัตราผลตอบแทนของกองทุนหุ้นจีน และ 2. เพื่อทำการพยากรณ์ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนของกองทุนหุ้นจีน โดยศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ฮ่องกงต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ส่งผลกระทบต่อความผันผวนของอัตราผลตอบแทนของกองทุนหุ้นจีน ใช้ข้อมูลตัวเลขแบบรายวัน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม ปี พ.ศ. 2555 จนถึงเดือน มีนาคม ปี พ.ศ. 2559 เป็นระยะเวลา 966 วัน ซึ่งผู้วิจัยใช้ แบบจำลอง GARCH ในการประมาณค่าแบบจำลองความผันผวน ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลอัตราผลตอบแทนของกองทุนหุ้นจีนฮั่งเซ้ง,กองทุนหุ้นจีนเซิ้นเจิ้น,อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ฮ่องกงต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ และ อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนต่อเงินดอลลาร์สหรัฐ มีลักษณะนิ่ง (stationary) ที่ระดับ level หรือมี order of integration เท่ากับ ศูนย์ I(0) และ เมื่อทำการประมาณค่าแบบจำลองความผันผวนของกองทุนหุ้นจีนทั้งสอง เมื่อทำการเปรียบเทียบค่า Akaike info criterion (AIC) และ Schwarz criterion (SC) ของแต่ละแบบจำลอง พบว่าแบบจำลอง GARCH (1,1) มีความเหมาะสม สำหรับกองทุนหุ้นจีนฮั่งเซ้ง มากที่สุด และเมื่อนำไปพยากรณ์ โดยจะทำการพยากรณ์ความผันผวนผลตอบแทนล่วงหน้าทีละหนึ่งวัน เป็นจำนวน 5 วัน พบว่า ความผันผวนอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลง ส่วนผลของกองทุนหุ้นจีนเซิ้นเจิ้น พบว่าแบบจำลอง EGARCH (1,1) มีความเหมาะสมที่สุด และ จากแบบจำลองที่ได้จะนำไปพยากรณ์ โดยจะทำการพยากรณ์ความผันผวนผลตอบแทนล่วงหน้าทีละหนึ่งวัน เป็นจำนวน 5 วัน พบว่า ความผันผวนอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลง คำสำคัญ: ความผันผวน กองทุนหุ้นจีน
Abstract: This study on analyzing the volatility of Chinese stock returns has the specific objectives to 1) determine the appropriate econometric model for explaining Chinese stock returns volatility, and 2) predict the volatility of Chinese stock returns. It dealt with the macroeconomic environmental factors that can contribute to the volatility of Chinese stock returns namely Hong Kong dollar to US dollar exchange rate and Chinese yuan to US dollar exchange rate. The investigation was based on daily data during 2012 – 2016, covering 966 observations. GARCH model was employed for predicting Chinese stock returns volatility. The study found that all data series namely Hangsen stock return, Shenzhen stock return, HKD-USD exchange rate, and CNY-USD exchange rate are stationary for level data or with I(0) order of integration. Among various GARCH models estimated for predicting the return volatility of both Chinese stocks, based on the values of Akaike Information Criterion (AIC) and Schwarz Criterion (SC) for comparison, GARCH (1,1) was found to be the most appropriate model for the case of Hangsen stock. The results of one day ahead prediction for five days indicated the decline in volatility of Hangsen stock returns. Similarly, GARCH (1,1) model appeared to be optimal for predicting the volatility of Shenzhen stock returns with the results of one day ahead prediction for five days demonstrating the decreasing trend of stock returns volatility Key word: Volatility, Chinese Stock Fund
บทความ :