ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การใช้สินเชื่อสวัสดิการจากธนาคารกรุงไทย ของพนักงานธนาคารกรุงไทย ในจังหวัดเชียงราย
หัวข้อ (ENG): The Use of Krung Thai Bank’s Employees Welfare Loans in Chiang Rai Province
ผู้แต่ง : พลอยนภัส นิธิกุลเศรษฐ์
ประเภท : Articles
Issue Date: 17-Oct-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย และพฤติกรรมของพนักงานธนาคารกรุงไทยในจังหวัดเชียงราย ที่เลือกใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการพนักงานของธนาคารกรุงไทย โดยทำการสอบถามพนักงานธนาคารกรุงไทย ในจังหวัดเชียงราย ทั้งหมดจำนวน 241 คน พบว่ากลุ่มที่ใช้สินเชื่อสวัสดิการพนักงานมีจำนวน 197 คน และกลุ่มที่ไม่ใช้สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน มีจำนวน 44 คนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา ส่วนการวัดปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน ใช้มาตรวัดแบบลิเคิร์ทสเกล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ใช้สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โสด อายุเฉลี่ย 36 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานกับธนาคารกรุงไทยเฉลี่ยคนละ 12 ปี ตำแหน่งปัจจุบัน คือเป็นเจ้าหน้าที่ และหัวหน้าส่วนจนถึงผู้บริหารปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการ อันดับหนึ่ง คือด้านราคา ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ และการได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการกู้ อันดับสอง คือด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รูปแบบสินเชื่อสอดคล้องกับความต้องการ และสินเชื่อมีความหลากหลาย อันดับสาม คือด้านกระบวนการให้สินเชื่อ ได้แก่ ความรวดเร็วในการอนุมัติสินเชื่อ และความเหมาะสมของเอกสารที่ใช้ประกอบการให้สินเชื่อ สินเชื่อสวัสดิการพนักงานธนาคารกรุงไทย มี 3 ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง สินเชื่อสวัสดิสงเคราะห์ เป็นสินเชื่อที่ไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ พนักงานธนาคารกรุงไทย ในจังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่ใช้สินเชื่อประเภทนี้ เพื่อซื้อสมาร์ทโฟน และเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท สินเชื่อประเภทที่สอง คือสินเชื่อเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ พนักงานธนาคารกรุงไทย ในจังหวัดเชียงราย ใช้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากที่สุดถึงร้อยละ 68 วงเงินกู้เฉลี่ยคนละ1.63 ล้านบาท รองลงมาคือเพื่อซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 18 วงเงินกู้เฉลี่ยคนละ 413,937 บาท สินเชื่อประเภทที่สาม คือสินเชื่อสวัสดิการพิเศษ เช่นสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ โดยมีพนักงานกู้ถึงร้อยละ 54.70 ของผู้ที่ใช้สินเชื่อสวัสดิการพิเศษ วงเงินกู้เฉลี่ยคนละ 404,130 บาท พนักงานกลุ่มที่ไม่ใช้สินเชื่อสวัสดิการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โสด อายุเฉลี่ย 30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานกับธนาคารกรุงไทยเฉลี่ยคนละ 6 ปี ตำแหน่งปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารการที่พนักงานไม่ใช้สินเชื่อสวัสดิการ ให้เหตุผลว่า ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้ ร้อยละ 90.91 และวงเงินกู้ที่จะได้รับไม่เพียงพอกับความต้องการ ร้อยละ 9.09 แต่ในอนาคตอีก 2 ปี ข้างหน้า ส่วนใหญ่คิดว่าจะใช้สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน คำสำคัญ: สินเชื่อสวัสดิการ/ธนาคารกรุงไทย/พนักงานธนาคารกรุงไทย/จังหวัดเชียงราย
Abstract: This study aims to examine factors and behavior related to the decision of Krungthai Bank’s employees to use welfare loans provided by the Bank for its employees. The relevant information was collected from totally 241 KTB’s employees working in Chiang Rai Province that can be distinguished into 197 individuals that used the welfare loans and 44 individuals that did not use. The analysis was undertaken based on descriptive statistics and the results of Likert’s scale rating to prioritize factors affecting the decision of KTB’s employees to use the welfare loans offered to them. From general background information, the study found that the majority of welfare loan users were characterized as female, single, 36 years old on the average, with bachelor’s degree education, having been working with KTB for 12 years on the average, and holding the present position ranging from officer, division head, to administrator. The most important factor for them to take the welfare loans was price for the attributes of low interest rate and exemption from paying loan application fee. The second most important factor was products for the reasons of loan types being compatible with the need and diversity of loan types. The third most important was the factor of process in terms of speedy loan approval procedure and the suitable requirement for documents to be used in loan application. Three types of welfare loan have been made available for KTB’s employees to use. The first is welfare assistance loan which can be borrowed without paying interest.Most KTB’s employees in Chiang Rai Province utilized this type of loan for buying smart phones and financing their master’s degree education. The second type is low interest loan that 68 % of KTB’s employees in Chiang Rai borrowed for buying housing at the average loan limit of 1.63 million baht per person, followed by 18 % who borrowed for buying car/motorcycle at the average loan size of 413,937 baht per person. The third type is special welfare loan like Krungthai Tanapat loan which was borrowed by 54.70 % of the loan users and the average borrowing was 404,130 baht per person. Among those KTB’s employees in Chiang Rai Province who did not use the welfare loans, they can be generally described as female, single, averagely 30 years old, with bachelor’s degree education, having been working with KTB for 6 years on the average, and holding the present position as bank officer. Their reasons were that they had no need to use the loans (90.91 %), and that the loan limit was not adequate to meet their need (9.09 %). However, most of them indicated that in the next two years, they would probably apply for welfare loans that KTB provides for them. Keyword: Welfare Loans, Krung Thai Bank, Krung Thai Bank’s Employees, Chiang Rai Province
บทความ :