ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีต่อชุมชนแม่เมาะของโครงการชุมชน พัฒนาอาชีพภายใต้กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
หัวข้อ (ENG): Social and Economic Impact of Mae Moh Power Plant’s Career Development Funds on Mae Moh Community, Lampang Province
ผู้แต่ง : ศราวุฒิ แอ่นดอน
ประเภท : Articles
Issue Date: 11-Oct-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงความพึงพอใจของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการชุมชนด้านพัฒนาอาชีพของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โดยทำการสอบถามผู้เข้าร่วมโครงการด้านพัฒนาอาชีพในปี 2558 ด้านเกษตรกรรม 260 คน และด้านการฝึกอบรม 110 คน รวมทั้งสิ้น 370 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการให้น้ำหนักของความพึงพอใจลิเคิร์ทสเกล กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการด้านการเกษตรกรรมเป็นเพศหญิงใกล้เคียงเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพหลักเป็น พนักงานบริษัท และพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยเข้าร่วมโครงการเลี้ยงหมูมากที่สุด ได้รับเงินทุนเฉลี่ย 226,582 บาท/คน รองลงมาคือการเลี้ยงโคและเลี้ยงปลา โดยได้รับเงินทุนเฉลี่ยคนละ 237,327 บาท และ 213,962 บาท ตามลำดับ ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงอาชีพหลักจากรับจ้างทั่วไป เป็นเกษตรกร รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 214,902 บาท/ปี เป็น 328,018 บาท/ปี เงินออมครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 19,473 บาท/ปี เป็น 94,625 บาท/ปี ทำให้สภาพความเป็นอยู่ดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 80.00 กลุ่มตัวอย่างมีโอกาสทางการศึกษาดูงานและการฝึกอบรมมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในโครงการด้านการเกษตรกรรมในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจลำดับที่ 1 ได้แก่ชุมชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการด้านพัฒนาอาชีพ ลำดับที่ 2 ได้แก่ การช่วยเหลือในการดำเนินการโครงการของเจ้าหน้าที่กองทุนฯ และการติดต่อประสานงานของเจ้าหน้าที่กองทุนฯ ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการด้านการฝึกอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 48 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพหลักคือ รับจ้างทั่วไป พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัท เป็นสมาชิกโครงการเฉลี่ยคนละ 2 ปี สมาชิกที่เข้าอบรมเฉลี่ยครั้งละ 27 คน ส่วนใหญ่เข้าร่วมฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์และการป้องกันโรค ระยะเวลาอบรมเฉลี่ยครั้งละ 2 วัน ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงอาชีพหลักจาก รับจ้างทั่วไป เป็นเกษตรกร รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 220,521 บาท/ปี เป็น 332,103 บาท/ปี เงินออมครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 30,994 บาท/ปี เป็น 104,103 บาท/ปี ทำให้สภาพความเป็นอยู่ดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 85.46 กลุ่มตัวอย่างมีโอกาสทางการศึกษาดูงานและการฝึกอบรมมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในโครงการด้านการฝึกอบรมในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจลำดับที่ 1 ได้แก่ ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ลำดับที่ 2 ได้แก่วิทยากรเต็มใจที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม และวิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คำสำคัญ: ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม, กองทุนพัฒนาไฟฟ้า, อำเภอแม่เมาะ, จังหวัดลำปาง
Abstract: The objectives of this study are to understand the social and economic impacts of Career Development Program implemented by Mae Moh Power Plant under the Power Development Fund, on community members in localities affected by the Power Plant operation, and to assess the satisfaction of the participating community members with the operation of the Community Projects under Career Development Program implemented by Mae Moh Power Plant and supported by the Power Development Fund. The needed information was collected from 370 individuals who participated in this Career Development Program in 2015, distinguishable into 260 participants in agricultural development project and 110 participants in training project. The analysis was performed upon the results of descriptive statistics and Likert’s scale rating. In agricultural development project, the male and female participants were about equal in number. Typically, they were 49 years old on the average, married, with educational attainment lower than bachelors’ degree level, and employed as business employee and state enterprise worker. Most of them participated in swine raising sub-project and each participant received funding support on the average 226,582 baht. The next most popular sub-projects were cattle raising and fish raising in which each participant received averagely 237,327 baht and 213,962 baht funding support, respectively. The economic impacts of the Career Development Program on the participants in the area of agricultural development appeared positive. The participants had changed their main occupation from waged worker to farmer resulting in an increase in average household income from 214,902 baht per year to 328,018 baht per year, an increase in average household saving from 19,473 baht per year to 94,625 baht per year, and about 80 % improvement in their quality of life. They also got greater opportunities to take part in study visit and training activities. In terms of satisfaction with agricultural development project in the Career Development Program, they expressed the highest satisfaction with the fact that their income had increased after joining the project, followed by the fact that the staff of Power Development Fund provided assistance and coordination service for the operation of agricultural development project. In training project, most participants were female. In general, the participants were averagely 48 years old, married, with educational attainment lower than bachelor’s degree level, and employed in the occupational category of general waged worker, state enterprise worker, and business employee. On the average, they had been members of the training project for two years. Each training session was attended by 27 participants on the average. The most popular training course was animal raising and animal disease prevention which took about two days. The economic impacts of this area of Career Development Program on the participants were also constructive as the participants changed their main occupation from general waged worker to farmer which enabled the increase in household income from 220,521 baht per year to 332,103 baht per year and the increase in household saving from 30,994 baht per year to 104,103 baht per year, and about 85.46 % improvement in their quality of life. They also had greater opportunities to take part in field study and training activities. Their satisfaction with the training project as a whole was rated as high. The most satisfactory aspect was the knowledge gained from training, followed by the resource persons who were willing to provide assistance to the participants and opened opportunity for the latter to raise questions and exchange opinions. Keyword: Economis and Social Impacts, Power Development Fund, Mae Moh District, Lampang Province
บทความ :
หัวข้อ (THAI): การปรับตัวของผู้ประกอบการการค้าชายแดน กรณีศึกษา ตลาดแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก
หัวข้อ (ENG): Economic Cost-Benefit Analysis of Using Solar PV Roof Tops in Housing
ผู้แต่ง : ฑิฆัมพร สว่างพัฒนกุล
ประเภท : Articles
Issue Date: 20-Oct-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการรูปแบบการค้ารวมถึงปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดน และการปรับตัวการประกอบการค้าชายแดนของผู้ประกอบการ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิโดยศึกษาจากการผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกในตลาดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ร่วมกับวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในลักษณะการซักถามและเล่าเรื่อง (Narrative) จำนวน 10 ราย โดยการสุ่มแบบเจาะจง ผลการศึกษารูปแบบการค้าของตลาดแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก พบว่า เดิมเป็นเพียงตลาดที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นเท่านั้น จนกระทั่งตลาดแม่สายมีชื่อเสียงมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบของการค้าโดยจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของสินค้าอุปโภคคือ ของป่า ไม้แกะสลัก เครื่องทองเหลือง เครื่องเงิน อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม แผ่นเพลง รวมถึงสินค้าลอกเลียนแบบทุกชนิด ส่วนการเปลี่ยนแปลงของสินค้าบริโภคคือ ขนมนำเข้าจากประเทศจีน ยาจีน สมุนไพรจีน ผลไม้ดอง ผลไม้อบแห้ง เมล็ดถั่วต่างๆ เห็ดหอม รังนก รวมถึง สินค้าปลอดภาษี ได้แก่ เหล้า เบียร์ บุหรี่ เป็นต้น ส่วนผลการศึกษาการปรับตัวของผู้ประกอบการพบว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการเริ่มต้นตั้งแต่ยังไม่มีการปรับตัวใดๆ จนกระทั่งปรับตัวตามสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดย 1)ทำการตัดหรือถอดสินค้าเดิมที่ทำยอดขายลดลง หรือมีอุปสรรคออกจากตลาด 2)การเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเปลี่ยนการจำหน่ายอัญมณี มาเป็นการเน้นจำหน่ายสินค้าลอกเลียนแบบ 3)การลดลงสาขาของร้านค้า 4)การเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่จากเดิมเน้นกลุ่มลูกค้าจากประเทศไทยเป็นหลัก มาเป็นกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนฝั่งท่าขี้เหล็ก 5)เลือกขายสินค้าให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มคือ เดิมจำหน่ายสินค้าหลากหลายตามคุณภาพ เป็นเน้นขายสินค้าคุณภาพเดียวเพื่อจับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม 6)ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายคือ เปิดขายออนไลน์ เปิดรับตัวแทนจำหน่าย 7)สร้างความแตกต่างของสินค้า เช่น เลือกจำหน่ายเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพสูง และเลือกสินค้าที่เป็นสินค้าที่ติดตลาดอยู่ในปัจจุบัน เป็นที่นิยมของลูกค้า คำสำคัญ : การค้าชายแดน, แม่สาย, ท่าขี้เหล็ก, การปรับตัว, ผู้ประกอบการ
Abstract: This independent study aim to studied development of border trading pattern including border trading problems and difficulty along with entrepreneur’s adaptation by using primary data collected from 10 Myanmar’s Tachilek Market entrepreneurs using in-depth interview method together with questionnaire narrative. The result showed that in the past most trading in Maesai-Tachilek Market was the basic consumption goods until the market to became popular which led to more goods trading such as forest products, carved wood, bronze wares, jewels, electric appliances, cloths, music media (CD, DVD) and all kind 1 of counterfeit goods. The consumption goods trading was changed too by trading more goods beyond basic goods such as Chinese imported dessert, Chinese herb, preserved fruits, dried fruits, nuts, shiitake mushroom, bird's nest along with duty free goods such as liqueur, beers and cigarettes. In case of entrepreneur’s adaptation the result showed various cases from not changed at all because the entrepreneur is in the market newly expansion part to started to made an adaptation by 1) Stop selling the product which has sales fall or has an selling obstacles. 2) Started new products line by changing from jewel trading to more counterfeit goods trading. 3) Reduced store branch. 4) Changing of consumers target such as changed from Thai tourists to Tachilek consumers. 5) Changing of products quality from the past which sold all quality products to selling only premium to intermediate quality goods. 6) Increased more selling channels such as online store and thru provincial distributors. 7) By made their products special such as selling only high quality products and choosing in-trend products. Key word : Border-Trade, Maesai, Tachilek, Adaptation, Entreprenuers
บทความ :