ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): ต้นทุนการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรภายใต้พันธะสัญญาอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Tomato Production Cost of Contract Farmer in Hod, District Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : จตุรฉัตร สินสกลวัฒน์
ประเภท : Articles
Issue Date: 28-Feb-2017
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาต้นทุนการผลิตมะเขือเทศภายใต้พันธะสัญญา กรณีศึกษาอำเภอฮอด จังหวัด เชียงใหม่ ปีการเพาะปลูก 2559 (เม.ย.-พ.ย.) แบ่งเป็น 2 ช่วงการผลิต มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ วัตถุประสงค์แรกคือ เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการปลูกมะเขือเทศ ของเกษตรกรภายนอกพันธะสัญญากับเกษตรกรภายใต้พันธะสัญญา และวัตถุประสงค์ที่สองคือ เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรภายนอกพันธะสัญญากับเกษตรกรภายใต้พันธะสัญญา โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ เลือกสุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนเกษตรกรตำบลที่มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ตำบลนาคอเรือ ตำบลบ่อหลวง และตำบลบ่อสลี รวมทั้งหมด 380 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะเชิงปริมาณ เพื่อสอดคล้องต่อการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะเขือเทศ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ จากผลการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของการทำเกษตรภายนอกพันธะสัญญาและเกษตรกรภายใต้พันธะสัญญาในการผลิตมะเขือเทศ (ปีการผลิต 2559) พบว่า เกษตรกรผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนมากจะผลิตมะเขือเทศภายนอกพันธะสัญญา จำนวน 304 คน คิดเป็นร้อยละ 72.85 และส่วนน้อยมักจะปลูกภายใต้พันธะสัญญา จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 27.15 โดยสาเหตุที่เกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศนั้น ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า การปลูกมะเขือเทศถือว่าเป็นอาชีพหลักและมีความชำนาญในการผลิตมะเขือเทศมากที่สุด จากการศึกษาต้นทุนการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกรภายนอกพันธะสัญญาและเกษตรกรภายใต้พันธะสัญญา พบว่าต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่เกิดจากต้นทุนผันแปรซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80 ส่วนที่เหลือเป็นต้นทุนคงที่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของต้นทุนทั้งหมดโดยเฉพาะต้นทุนการผลิตมะเขือเทศสีดาจะสูงกว่าต้นทุนการผลิตมะเขือเทศท้อ ผลการศึกษาด้านผลตอบแทนจากการผลิตมะเขือเทศสีดาสูงกว่ามะเขือเทศท้อ เนื่องจากปีนี้ผลผลิตช่วงกลางปีมีปริมาณน้อยกว่ากว่าปกติ เนื่องจากภัยแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตลดลง ไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ราคาสินค้าเพิ่ม จึงส่งผลทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อไร่สูง ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีปัญหาและอุปสรรคเรียงลำดับดังนี้ ปัญหาและอุปสรรคมากที่สุดอันดับหนึ่ง คือ ปัญหาด้านต้นทุนการผลิตสูง ปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาสินค้าตกต่ำ ตามลำดับ คำสำคัญ: ต้นทุนการผลิต,มะเขือเทศ,พันธะสัญญา
Abstract: The study of tomatoes producing cost under the commitment according to the case study in Hod district, Chiang Mai in 2016 is divided into 2 producing periods. The study has 2 objectives as follows: 1. To study patterns and methods to grow tomatoes of the uncommitted farmers and the committed farmers and 2. To compare costs and benefits from producing tomatoes of the uncommitted and committed farmers. The population (380 samples) in the study is randomly selected from the farmer households in the sub-districts which are known for growing highest numbers of tomatoes grown sub-districts, among them are Na Khoruea, Bor Luang, and Bor Salee sub-districts. This study adopts the method of descriptive and quantitative analysis in order to conform to cost analysis and benefits from growing tomatoes. The analysis has factors consisted of frequency, percentage, and average which can be summarized below. The study on the pattern of uncommitted and committed farming in tomato production (production year 2016) found most of the respondents produce tomato without commitment. The result found that 304 of the respondents (72.85%) are in the uncommitted farmers, while there are 76 farmers (27.15%) who are growing tomatoes under the commitment. The main reason why they grow tomatoes is because it is the main profession and these people are specialized in growing them. According to the study on the cost of producing tomatoes of the uncommitted farmers and the committed farmers, it was found that the main cost was from the variable cost at the percentage of 80, the other 20 was from the fixed cost from growing cherry tomatoes, which was higher than the peach tomatoes. The result from the study found that the benefits from cherry tomato showed to be higher than the peach one since the mid year of 2016 could produce less than general. The main cause was from the drought that resulted in lower productivity; thus, it was not enough to meet the demand. Consequently, the average yield per acre came up high. After studying problems and barriers to the operation, it implied some problem samples in the following orders: 1. High cost of operation, 2. Overproduction, and 3. Fall in price respectively. Keyword: Production Cost, Tomato, Contract Farmer
บทความ :