ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมของลูกหนี้ในการชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของบมจ.ธนาคารกรุงไทย สังกัด สำนักงานเขตเชียงใหม่ 3 จังหวัดเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Customers' Behavior of Loan Repayment to the Student Loan Fund of Krung Thai Bank Public Company Limited Chiang Mai 3 Region, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง : กิตธนา พวงไม้มิ่ง
ประเภท : Articles
Issue Date: 14-Mar-2017
บทคัดย่อ (THAI):

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการของภาครัฐในการเร่งรัดการชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของบมจ.ธนาคารกรุงไทย พฤติกรรมของลูกหนี้ในการกู้ยืมเงินและการชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ศึกษาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมของลูกหนี้ในการชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของบมจ.ธนาคารกรุงไทย สังกัดสำนักงานเขตเชียงใหม่ 3 รวมถึงศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของลูกหนี้บมจ.ธนาคารกรุงไทย สังกัดสำนักงานเขตเชียงใหม่ 3 โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งข้อมูลปฐมภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้กู้ยืมเงินในกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่มาใช้บริการกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สังกัดสำนักงานเขตเชียงใหม่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ลูกค้าที่เป็นลูกหนี้ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของบมจ.ธนาคารกรุงไทย สังกัดสำนักงานเขตเชียงใหม่ 3 จำนวน 400 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ใช้วิธีวัดตามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ในการวัดระดับความสำคัญ และในส่วนของการศึกษาพฤติกรรมของลูกหนี้กองทุนฯที่มีผลต่อการผิดนัดชำระหนี้คืนใช้การทดสอบไค-สแควร์ (Chi-Square Test) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ที่มีผลต่อข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมของลูกหนี้ในการชำระหนี้คืนกองทุนฯ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินกับกองทุนฯ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 25 – 30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ประกอบอาชีพข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทำงานในภาคเหนือ ผู้ปกครองของลูกหนี้ประกอบอาชีพข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีรายได้หลักในช่วง 15,000 – 25,000 บาท มีรายได้เสริมน้อยกว่า 15,000 บาท มีค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในครอบครัวระหว่าง 5,001 – 10,000 บาท ไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆน้อยกว่า 5,000 บาท โดยส่วนใหญ่มีจำนวนบุคคลที่ต้องรับภาระดูแลในครอบครัว 1 – 2 คน มีสาเหตุหลักของการกู้ยืมเงินจากกองทุนฯเนื่องจากเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว มีวงเงินกู้ตามสัญญามากกว่า 200,001 บาท โดยทำสัญญากู้ยืมในช่วงปี พ.ศ. 2540 – 2550 และเริ่มชำระหนี้คืนกองทุนฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีการเลือกชำระหนี้คืนกองทุนฯ ผ่านที่ทำการสาขาของธนาคารกรุงไทย และเคยผิดนัดชำระหนี้จำนวน 218 ราย โดยจำแนกเป็นการผิดนัดชำระหนี้ 1 – 3 ครั้งจำนวน 107 ราย ผิดนัดชำระหนี้ 4 – 7 ครั้งจำนวน 105 ราย และผิดนัดชำระหนี้มากกว่า 8 ครั้งจำนวน 6 ราย มีรูปแบบการชำระหนี้แบบแบ่งชำระเฉลี่ยเป็นรายครั้งจนครบตามจำนวนที่เรียกเก็บในแต่ละปีและมีการชำระเงินกู้ต่อครั้งอยู่ที่ 1,001 -5,000 บาท สำหรับด้านความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปกับพฤติกรรมการชำระหนี้มีความสัมพันธ์กัน ด้านผลการศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยด้านนโยบายและมาตรการของรัฐในปัจจุบันที่มีผลต่อพฤติกรรมของลูกหนี้ในการชำระหนี้คืนกองทุนฯ พบว่ามาตรการของภาครัฐบาลในการควบคุมการชำระหนี้โดยการดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้กู้ที่ผิดนัดชำระหนี้ และนโยบายและมาตรการของรัฐในอนาคต ได้แก่ มาตรการของภาครัฐบาลในการควบคุมการชำระหนี้โดยการบรรจุภาระหนี้ที่มีกับกองทุนฯไว้ในฐานข้อมูลเครดิตแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมาเป็นลำดับที่ 1 โดยมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ในขณะที่การศึกษาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจพบว่าปัจจัยด้านระดับรายได้ ค่าใช้จ่ายประจำในครอบครัว และระดับราคาของสินค้าและบริการในการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก การศึกษาปัจจัยทางด้านสังคมพบว่าปัจจัยด้านความมั่นคงของงานที่ทำในปัจจุบันและสถานภาพทางสังคมมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก และผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคด้านตัวผู้กู้พบว่า ปัจจัยการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องรายละเอียดในการกู้เงินกองทุนฯมาตั้งแต่ต้นมีความสำคัญเป็นลำดับ 1 และการมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย รวมถึงการมีภาระหนี้สินสูงมีความสำคัญเป็นลำดับ 2 โดยให้ระดับความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัญหาและอุปสรรคด้านกองทุนฯพบว่าปัจจัยด้านช่องทางการติดต่อและการประชาสัมพันธ์มีความสำคัญลำดับ 1 และมาตรการการให้ความช่วยเหลือผ่อนผันการชำระหนี้คืนกองทุนฯของภาครัฐ มีความสำคัญเป็นลำดับ 2 โดยให้ระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : พฤติกรรมของลูกหนี้, การชำระหนี้คืน, กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา,บมจ.ธนาคารกรุงไทย, จังหวัดเชียงใหม่

Abstract:

The objectives of this study are to examine the government sector’s measures for Krung Thai Bank (Public Company Ltd.) to expedite loan collection in Student Loan Fund scheme, to explore the behavior of debtors in borrowing this loan and repaying to the fund, to identify discern the socio-economic factors affecting the loan repayment behavior of students in the Student Loan Fund scheme which is locally responsible and managed by Chiang Mai Region 3 Office of Krung Thai Bank, PCL., and to explore the problems and obstacles of loan repayment performance of the borrowers. Data and information for this investigation were obtained from both primary and secondary sources. Particularly, the primary information was collected by means of questionnaire from 400 samples of those individuals who made borrowing from Student Loan Fund through the services provided by Chiang Mai Region 3 Krung Thai Bank (PCL). The analysis was performed upon the results of descriptive statistics, Likert rating scale method for priority ranking of various factors, and Chi-square test to determine the relationship between personal background as well as loan repayment behavior of the borrowers under study and their loan repayment default. The findings reveal that the majority of debtors of the Student Loan Fund are characterized as female, 25- 30 years old, single, with bachelor’s degree education, having domicile in northern region, government agency or state enterprise employee, working in northern Thailand, and having parents or guardian working as government agency or state enterprise employee. Most of these debtors have income from main occupation in the range of 15,000 - 25,000 baht per month as well as earning from secondary occupation less than 5,000 baht per month, spend 5,001 – 10,000 baht per month for household consumption, incur no expense for housing, and spend less than 5,000 baht per month for other expenses. On the average, they also have 1 – 2 family dependents. The main reason for them to borrow from the Student Loan Fund was their desire to help reduce their family’s financial burden, by entering the loan agreement with the loan size greater than 200,001 baht. The samples under this investigation are those who signed the loan agreement during 1997 – 2007 and began making loan repayment in 2008 with some outstanding debt remaining up to present time. Their loan repayments have been made through Krung Thai Bank. Out of the total 400 samples, 218 used to fail to fulfill their repayment obligations which can be distinguished into 107 debtors with 1 – 3 times of default/arrear, 105 debtors with 4 – 7 times of default/arrear, and 6 debtors with more than 8 times of default/arrear. Annual loan repayment plan is generally arranged to be made in installments at about 1,001 – 5,000 baht per installment. This study found the relationship between personal characteristics and loan repayment behavior of the samples under investigation; as well as found the most important state’s present and future measures and policies that can affect loan repayment behavior of borrowers from Student Loan Fund. At present, the legal measure is considered the most effective for debt collection; while in the future, the most appropriate measure is suggested to be the keeping of debt burden record of the debtors in the database of the National Credit Bureau. On factors underlying loan repayment behavior and performance, the study found the most and highly important economic factors to include income level, routine household expenditure, and prices of consumption goods and services which are necessary for daily life. The highly important social factors are apparently the security of present employment and social status of the debtors. Problems and obstacles in the view of borrowers were found to be the lack of understanding in detail since the beginning about the terms and conditions in the loan agreement as the most and highly important, and inadequacy of income to pay off the debt as well as the heavy debt burden as the second most important factor with moderate level of importance. From the perspective of Student Loan Fund management, the first highly important problem was pointed out to be the factor concerning communication channels and public relations, followed by the issue related to the state’s measure to relax the terms and conditions for full repayment to Student Loan Fund which is also rated as highly important. Key word : behavior of debtors, loan repayment, The Student Loan Fund, Krung Thai Bank (Public Company Ltd.), Chiang Mai Province

บทความ :