ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน
หัวข้อ (ENG): Potential Analysis of Lamphun Brocade Thai Silk Production
ผู้แต่ง : กรรณิการ์ ไชยกันทา
ประเภท : Articles
Issue Date: 06-Oct-2016
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูนโดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จำนวน 11 ราย และกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จำนวน 3 ราย โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม 2558 ทำการวิเคราะห์ศักยภาพด้านการผลิต ศักยภาพด้านการตลาด ด้านผู้บริโภคและด้านผลประกอบการ การวัดศักยภาพได้ใช้ตัวชี้วัดตามเกณฑ์มาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ผ้าไหมยกดอกลำพูน การวัดความพึงพอใจของผู้บริโภคใช้การวัดแบบลิเคิร์ทสเกล ผลการศึกษาศักยภาพด้านการผลิตพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการผ้าไหมยกดอกลำพูนที่ได้รับการ ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีศักยภาพดีกว่ากลุ่มผู้ประกอบการผ้าไหมยกดอกลำพูนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เนื่องจากใช้วัตถุดิบเส้นไหมที่มีคุณภาพ มีการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐาน ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการผ้าไหมยกดอกลำพูนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีการใช้วัตถุดิบเส้นไหมที่มีราคาถูกและนำมาย้อมสีเอง ทำให้เกิดปัญหาสีตกและไม่มีความคงทน อีกทั้งไม่มีการตรวจสอบและตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เรียบร้อยสวยงามก่อนวางจำหน่าย ผลการศึกษาศักยภาพด้านการตลาดพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการผ้าไหมยกดอกลำพูนที่ได้รับการ ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีศักยภาพดีกว่ากลุ่มผู้ประกอบการผ้าไหมยกดอกลำพูนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เนื่องจากมีช่องทางการจำหน่ายหลายช่องทาง มีการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกลุ่ม ได้นำเทคโนโลยีระบบคิวอาร์โค้ดมาให้ผู้บริโภคสแกนดูข้อมูลแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น และผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการผ้าไหมยกดอกลำพูนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ไม่มีการ นำเทคโนโลยีมาช่วยในด้านการตลาด ซึ่งมีช่องทางการจำหน่ายเพียงช่องทางเดียว และมีการกำหนดราคาต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางกลุ่มกำหนด ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านราคา ผลการศึกษาด้านผลประกอบการของกลุ่มผู้ผลิต พบว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 2,996,977 บาทต่อปี ต้นทุนเฉลี่ย ประมาณ1,779,512 บาทต่อปี มีกำไรเฉลี่ยประมาณ 1,217,466 บาทต่อปี ซึ่งมากกว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 718,517 บาทต่อปี ต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 650,191 บาทต่อปี มีกำไรเฉลี่ยประมาณ 68,325 บาทต่อปี เนื่องจากมีช่องทางการจำหน่าย เพียงช่องทางเดียวและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กลุ่มกำหนด แต่เมื่อคำนวณอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนกลุ่มผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่มมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนอยู่ในระดับดี โดยกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 1.67 และกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 1.10 คำสำคัญ: ผ้าไหมยกดอกลำพูน, สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, ศักยภาพด้านการผลิต, ศักยภาพด้านการตลาด
Abstract: This independent study had studied Lamphun’s brocade thai silk production potential by comparing two group of Lamphun’s silk producers consisted of 11 Geographical Indication (GI) registered silk producers and 3 GI unregistered silk producers between January - December 2015 in production potential, marketing potential and producer’s turnover using Lamphun’s brocade thai silk GI’s indicators and Likert scale on consumers’s preference. The result on production potential shown that Geographical Indication registered silk producers has better production potential than the GI unregistered producers, mainly by using good quality raw silk materials with better quality dye and had better production control process. On contrary the GI unregistered producers used cheap own dye raw silk as main materials which lead to a color fading and less durable. Moreover, they has lack of production control process and used poorly packaging on products. Marketing potential studied shown that the GI registered silk producers has better marketing potential than the GI unregistered producers by using more selling channels either in local and abroad using standard price setting and had a Geographical Indicator QR code which assured product’s origin to all buyers. The studied also shown that consumers had a confident in silk products which provide durable vivid color with unique silk pattern and satistified with product’s qualitylstandard while GI unregistered silk producers still not use new technology in marketing and has only local selling channel result in limited revenue that leading to price decreased in order to attract customers which still satistified in reasonable price compared to product’s quality. The Producer’s turnover studied shown that GI registered silk producers had average annual revenue of 2,996,977 baht and had average annual cost of 1,779,512 baht which concluded in 1,217,466 baht average yearly profit. While the GI unregistered silk producers had average annual revenue of 718,517 baht and had average annual cost of 650,191 baht which concluded in 68,325 baht average yearly profit, mainly because lacking of selling channel and lower price tag than group’s standard price. When calculated Benefit/Cost ratio of this two producer groups the result shown that B/C ratio of GI registered silk producers was 1.67 while the GI unregistered silk producers had B/C ratio at 1.10. Keyword: Lamphun Brocade Thai Silk, Geographical Indication , Production potential, Marketing potential
บทความ :