ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การศึกษาผลกระทบของโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะ ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
หัวข้อ (ENG): The Study of Impacts of the Corporate Social Responsibility of EGAT Mae Moh on Sustainable Community Development
ผู้แต่ง : นริศา แบนอ้น
ประเภท : Articles
Issue Date: 27-Feb-2018
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาผลกระทบของโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะ ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะและเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะ ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนต่อผลกระทบของโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะ ที่ถูกเลือกเพื่อศึกษาในงานวิจัยนี้มี 5 โครงการ ประกอบด้วยโครงการธนาคารไข่ โครงการธนาคารจุลินทรีย์ของศูนย์ชีววิถี กฟผ. แม่เมาะ โครงการหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่ โครงการฝึกสอนฟุตบอลเยาวชน และโครงการสืบสานดนตรีพื้นเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้ประกอบด้วย ครัวเรือนที่มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 274 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 200 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 474 ครัวเรือน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้เทคนิคการวัดความคิดเห็นแบบมาตรวัดลิเคิร์ทสเกล ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะ ได้ให้ความสำคัญกับงานทางด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากการจัดสรรงบประมาณถึงร้อยละ 91 ของงบประมาณโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งหมดเพื่องานทั้งสองด้านนี้ ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชนของความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบลักษณะทางด้านเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่หลายประการ กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน อาศัยอยู่ในตำบลแม่เมาะเป็นเวลามากกว่า 40 ปี ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 51-60 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 10,001 – 20,000 บาทต่อเดือน อาศัยอยู่ในตำบลแม่เมาะเป็นเวลา 31-40 ปี ในส่วนของผลกระทบจากโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะ ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนนั้น จากการศึกษาพบว่าในด้านเศรษฐกิจ มีการจ้างงานเกิดขึ้นซึ่งสอดคล้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการจ้างงาน แต่มีการจ้างงานเพียงร้อยละ 11.68 ของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก และกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการแล้วมีรายได้เพิ่มขึ้นมีร้อยละ 30.26 และมีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดลงมีร้อยละ 25 นั่นแสดงว่าโครงการความรับผิดชอบของ กฟผ. แม่เมาะ ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ส่วนผลกระทบด้านสังคมนั้น กลุ่มตัวอย่างมีสิทธิที่จะเข้าร่วมได้ทุกโครงการซึ่งสอดคล้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิทธิมนุษยชนและด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม แต่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 23.71 ที่เลือกเข้าร่วมมากกว่า 1 โครงการ และมีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี เพียงร้อยละ 9.85 จึงทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสังคมอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย ในด้านผลกระทบทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมได้มีการให้ความรู้ความเข้าใจและจัดกิจกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับความรู้ความเข้าใจอยู่ในช่วงร้อยละ 13.50 - 57.30 และมีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ระหว่างร้อยละ 11 - 34 ทำให้การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลกระทบด้านการพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมได้มีการพัฒนาด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งสอดคล้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน แต่กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมได้มีการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพียงร้อยละ 4 - 16 เท่านั้น ทำให้การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในด้านนี้อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย คำสำคัญ : โครงการความรับผิดชอบต่อสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน การพัฒนาชุมชน ผลกระทบ
Abstract: The study of impacts of the corporate social responsibility of EGAT Mae Moh on sustainable community development aims to examine the operational performance of the corporate social responsibility (CSR) project implemented by Mae Moh Power Plant under the Electricity Generating Authority of Thailand, and also to analyze the impacts of the project on sustainable community development. The questionnaire was used as a tool for gathering households’ perceptions on impacts of the CSR project on sustainable community development in economic, social, natural resources and environment, and technological development and transfer aspects. Five programs under the Mae Moh Power Plant’s CSR project were selected in this study, covering the Egg Bank Program, the Micro-organism Bank of the Bio Way Center of Mae Moh Power Plant Program, the Mobile Health Service Unit Program, the Football Training for the Youth Program, and the Restoring and Preserving Folk Musical Heritage Program. The samples used in this study consist of 274 households with CSR member and 200 households without CSR member. The gathered data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, arithmetic mean, and Likert scale. The results showed that the operational performance of Mae Moh Power Plant’s corporate social responsibility project mainly focused on the community and environment aspects. The budget provided on the CSR project under the community and environment aspects was about 91 percent of the overall budget of CSR project. This evidence is consistent with the principle of social responsibility in terms of community participation and community development. Considering socio-economic characteristics of the household samples both with CSR member and without CSR member, the study found that there were many significantly different characteristics between them. The majority of CSR member were older than 60 years old and have worked as a worker. Their average household income were not more than 10,000 baht per month. Also, they have lived in Mae Moh District for over 40 years. On the other hand, the majority of non-CSR member were about 51 to 60 years old and have no main occupation. Their average household income were 10001 to 20000 baht per month. They have made a living in Mae Moh District for 31 to 40 years. According to impacts of the Mae Moh Power Plant’s CSR projects on sustainable community development, the study revealed that, in the economic aspect, the project created employment which was in relevant to the social responsibility principle in terms of employment generation. However, only 11.68 percent of the households with CSR member were employed. Moreover, 30.26 percent of the households with CSR member earned more income and 25 percent of them could reduce their household expenditure. This evidence represented that the CSR project could contribute to quite low economic impact to community development. Regarding the social impact, all households have the right to participate in all CSR programs, which is consistent with the social responsibility principles in terms of human rights and social and community development. However, only 23.71 percent of the CSR member households participated in more than one program and only 9.85 percent of them have participated in the CSR project for more than two years. Therefore, the CSR project could contribute very low social impact to community development. Considering the natural resources and environment impact, the CSR project has provided knowledge, understanding, and also organized the activities involved with natural resources and environment. The study found that 13.50 to 57.30 percent of the household samples received knowledge and understanding about the natural resources and environment. Moreover, there were 11 to 34 percent of them attended the activities organized by the CSR project. These evidences showed that the CSR project could contribute natural resources and environment impact to community development at moderate level. According to technological development and transfer aspect, the CSR project had implemented various activities in response to the social responsibility principles in terms of community participation and development. However, only 4 to 16 percent of the household samples developed and transferred technology. Therefore, the CSR project could contribute quite low level of technological development and transfer impact to community development. Keywords: corporate social responsibility, social responsibility, sustainable community development, community development, impacts
บทความ :