ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนราคาน้ำมัน และราคาทองคำตลาดซื้อขายล่วงหน้าในประเทศไทย
หัวข้อ (ENG): Analysis of Relationship in Volatility Among Exchange Rate Oil Prices and Gold Prices Future in Thailand
ผู้แต่ง : อาษา ใจแก้ว
ประเภท : Articles
Issue Date: 14-Oct-2015
บทคัดย่อ (THAI):

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนประเทศไทยต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันและราคาทองคำของตลาดซื้อขายล่วงหน้าในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายวัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 รวมระยะเวลา 5 ปี จำนวน 1, 220 ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์ความผันผวนแบบมีเงื่อนไขกรณีหลายสมการ ซึ่งแบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ แบบจำลองวาร์ม่า การ์ช, แบบจำลองวาร์ม่า เอการ์ช และแบบจำลองซีซีซี สำหรับผลการทดสอบความนิ่งของข้อมูลพบว่าอัตราแลกเปลี่ยนประเทศไทยต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันและราคาทองคำตลาดซื้อขายล่วงหน้าในประเทศไทยมีความนิ่งที่ระดับ Level เท่ากับ 0 หรือมี Order of integration ระดับ I(0) แสดงว่าข้อมูลดังกล่าว สามารถนำไปใช้เพื่อทดสอบในแบบจำลองต่อไปได้

          ผลการวิเคราะห์ความผันผวนแบบมีเงื่อนไขกรณีหลายสมการพบว่าข้อมูลของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนฯ แบบจำลองที่เหมาะสมได้แก่ แบบจำลอง CCC (Conditional Correlation Coefficients)เนื่องจากตลาดทองคำและตลาดน้ำมันดิบ ไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนฯ แสดงให้เห็นว่าตลาดอัตราแลกเปลี่ยนฯ เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Markets Hypothesis) สำหรับกรณีของตลาดทองคำซื้อขายล่วงหน้าประเทศไทย แบบจำลองที่เหมาะสม ได้แก่ แบบจำลอง VARMA-GARCH ผลของแบบจำลองชี้ให้เห็นว่าความผันผวนของตลาดน้ำมันดิบซื้อขายล่วงหน้า ประเทศไทย มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนของตลาดทองคำซื้อขายล่วงหน้าประเทศไทยในทิศทางตรงกันข้ามกัน และผลของการศึกษากรณีตลาดน้ำมันดิบซื้อขายล่วงหน้าประเทศไทย พบว่าแบบจำลองที่เหมาะสม ได้แก่ แบบจำลอง VARMA-GARCH โดยผลของแบบจำลองชี้ให้เห็นว่า ความผันผวนของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนฯ มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบซื้อขายล่วงหน้าประเทศไทยในทิศทางตรงกันข้ามกัน

Abstract:

          The purposes of this study were to analyze the relationship in volatility among Thailand exchange rate to the US dollar, oil prices and gold prices future in Thailand by using daily secondary data from January 1, 2010 to December 31, 2014. The total duration was five years with 1,220 data. The study used the analysis of fluctuation in many conditional equations which were VARMA-GARCH, VARMA-AGARCH and CCC models. The unit roots Tests yielded the results that Thailand exchange rate to the US dollar, oil prices and gold prices future in Thailand were stationary at 0 Order of Integration or I(0). It showed that the information could be used to test the model.

          The analysis of fluctuation in many conditional equations found that the effective model for exchange rate was CCC model (Conditional Correlation Coefficient). The gold market and the crude oil market had no effect on exchange rate. It indicated that it was efficient market hypothesis. It the case of gold market in Thailand in the future, the effective model was VARMA-GARCH. It revealed that return volatility in crude oil market affected the return volatility in gold market in Thailand in the opposite direction From, the results of studying the case study of crude oil market in the future of Thailand ; it found that the effective model was VARMA-GARCH. It revealed the return volatility in exchange rate affected oil price in Thailand in the opposite direction.

บทความ :