ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): พฤติกรรมการออมเพื่อเตรียมตัวในการใช้ชีวิตหลังเกษียณ ของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
หัวข้อ (ENG): Savings Behaviors for Retirement Preparation of People in Chiang Mai Municipality
ผู้แต่ง : สกุณา หวังเอียด
ประเภท : Articles
Issue Date: 14-Oct-2015
บทคัดย่อ (THAI):

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเงิน เพื่อเตรียมตัวในการใช้ชีวิตหลังเกษียณ ของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยทำการศึกษากลุ่มของผู้ที่มีรายได้ประจำ และผู้ที่มีรายได้ไม่ประจำอายุระหว่าง 40 - 60 ปี ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนกลุ่มละ 200 คน ใช้การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ประจำและไม่ประจำ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 40-45ปี มีรายได้เฉลี่ย 30,961.92 และ26,435.05 บาทต่อเดือน ตามลำดับ มีภาระหนี้สินต่อรายได้ ร้อยละ 81.50 และ77.50 ตามลำดับ หนี้ส่วนใหญ่เป็น การเช่าซื้อรถยนต์ และบัตรเครดิต

          ผลการศึกษาพฤติกรรมการออม พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ประจำจะมีแหล่งที่มาของเงินออมจากเงินเดือน ในขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ไม่ประจำ จะมาจากการลงทุน สัดส่วนการออมส่วนใหญ่อยู่ที่ ร้อยละ 1-5 ต่อรายได้ และวิธีการออมจะออมแบบหักค่าใช้จ่ายก่อนแล้วออมทีหลัง ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม จะเลือกออมกับธนาคารมากที่สุด โดยปัจจัยการออมที่สำคัญกับธนาคารคือ เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเจ็บป่วย รองลงมา เป็นการออมกับบริษัทประกันชีวิต โดยมีปัจจัยที่มีสำคัญคือ ได้รับการชดเชยเมื่อเจ็บป่วย

Abstract:

          This research aims to study behaviors and factors which influenced money saving for Retirement Preparation of people in the Mueang Municipality of Chiang Mai. The study focused on the groups who earn regular income and non-regular income for 200 persons each, aged 40-60 years and resided in the Mueang Municipality of Chiang Mai. The data was collected from questionnaires. The study result found that the most in the two sample groups who gain regularly income and non-regular income are female, aged 40-45 years, earn THB 30,961.92 and THB 26,435.05 per month respectively. The debt was accounted for 81.50% and 77.50% of income respectively. Most debt came from car installment and credit card.

          The result from saving behavior study revealed that the sample group who gain regularly income saves money from their revenue while those who gain temporarily income save money from their investment. Most saving ration is at 1-5% of revenue. And savings method used was to reduce expenses first and save later. In addition, the two sample groups mostly selected to money deposit in and the primary reason is to save money for their illness in the future. Secondly, they purchase on life insurance companies become they will gain compensation when they become sick.

บทความ :